สนค.ชี้ผลสำรวจ “เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” คนไทยยังใช้จ่ายเท่าเดิม

29 ส.ค. 2566 | 11:00 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ส.ค. 2566 | 11:07 น.

สนค.เผยผลสำรวจการใช้จ่ายช่วงเงินเฟ้อลด-ดอกเบี้ยสูง ชี้คนไทยยังใช้จ่ายเท่าเดิมแต่มีความระมัดระวังมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเดือนกรกฎาคม 2566 ทุกอำเภอทั่วประเทศ ในประเด็นการใช้จ่ายของประชาชนที่เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ทั้งในเรื่องของ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

อัตราดอกเบี้ยที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยพบว่า การใช้จ่ายของประชาชนในช่วงที่เงินเฟ้อมากกว่าครึ่งยังคงใช้จ่ายเท่าเดิมและมีบางส่วนที่ใช่จ่ายลดลง

 

ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมีกระทบต่อการใช้จ่าย การออม และการลงทุน อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยลดการซื้อของฟุ่มเฟือย  อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของประชาชนในช่วงที่เงินเฟ้อลดลง พบว่า ในภาพรวม ยังใช้จ่ายเท่าเดิมถึง 44.31%  ของผู้ตอบทั้งหมด

สนค.ชี้ผลสำรวจ “เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” คนไทยยังใช้จ่ายเท่าเดิม

ในขณะที่การใช้จ่ายเพิ่มขึ้น มี 31.25% และใช้จ่ายลดลง 24.44%  สะท้อนให้เห็นว่า เงินเฟ้อที่ลดลงช่วยประคับประคองให้ประชาชนยังสามารถใช้จ่ายได้ในระดับเดิม และมีบางส่วนที่ภาระค่าใช้จ่ายลดลง

สนค.ชี้ผลสำรวจ “เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” คนไทยยังใช้จ่ายเท่าเดิม

ประเภทค่าใช้จ่ายที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ค่าอาหารและเครื่องดื่มทานที่บ้าน ค่าไฟฟ้า/ประปา และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ พบว่า เกือบทุกอาชีพและระดับรายได้มีความเห็นสอดคล้องกับภาพรวม มีเพียงนักศึกษา ที่ระบุว่าค่าใช้จ่ายที่จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหรือลดลง คือ ค่าอาหารและเครื่องดื่มทานที่บ้านและที่ร้าน และค่าโทรศัพท์/อินเตอร์เน็ต

ในขณะที่ผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ต่อการใช้จ่าย การออม และการลงทุน พบว่า ในภาพรวม ผู้ที่ได้รับผลกระทบระดับปานกลาง มีถึง32.71%  รองลงมาคือ กระทบมาก 26.29% และไม่มีผลกระทบ  24.07%  

สนค.ชี้ผลสำรวจ “เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” คนไทยยังใช้จ่ายเท่าเดิม

สำหรับแนวทางการปรับตัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ น้อย – ปานกลาง ได้แก่ การลดการซื้อของฟุ่มเฟือย การลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน  และการชะลอการลงทุน/การทำธุรกิจ ส่วนผู้ได้รับผลกระทบมาก ก็ใช้แนวทางข้างต้นเช่นกัน โดยเน้นการลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเป็นอันดับแรก เป็นที่น่าสังเกตว่า อาชีพและระดับรายได้ พบว่า ผู้ได้รับผลกระทบทุกระดับของกลุ่มเกษตรกรและผู้มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน จะลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเป็นอันดับแรก สะท้อนถึงความสามารถในการวางแผนทางการเงินที่ค่อนข้างจำกัด และอาจได้รับผลกระทบมากหากเผชิญภาวะค่าครองชีพและหนี้ที่สูงขึ้น

สนค.ชี้ผลสำรวจ “เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” คนไทยยังใช้จ่ายเท่าเดิม

ทั้งนี้ผลการสำรวจครั้งนี้ว่า การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่การลดลงของเงินเฟ้อมีส่วนช่วยให้ประชาชนยังคงใช้จ่ายได้ในระดับเดิมและลดลง ทั้งนี้ ยังคงมีบางกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งหากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง จะสามารถช่วยบรรเทาค่าครองชีพประชาชนกลุ่มนี้ได้

สนค.ชี้ผลสำรวจ “เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” คนไทยยังใช้จ่ายเท่าเดิม

สำหรับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ที่อยู่ในระดับปานกลาง – ดีมาก แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังคงพึงพอใจต่อการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม หากกระทรวงฯ ออกแบบนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และผู้ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ มากขึ้น จะส่งลให้นโยบายและการดำเนินงานของกระทรวงฯ สามารถตอบโจทย์ประชาชนทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น