“สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง

12 ส.ค. 2566 | 08:52 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ส.ค. 2566 | 10:05 น.
830

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ตั้ง “สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ทลายแหล่งปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง ย้ำหาร้าน “Q Shop “ การันตีปุ๋ย ยา คุณภาพ

“สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยว่า ได้สั่งการให้ สารวัตรเกษตรไซเบอร์ และ เจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร ผนึกกำลังกับ ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ทลายแหล่งผลิตสารกำจัดวัชพืชอินทรีย์ ที่มีการโฆษณาหลอกขายเกษตรกรทางสื่อออนไลน์ โดยมีการทำผลิตภัณฑ์สินค้า สารกำจัดวัชพืชอินทรีย์ ชื่อการค้า ดร. เกษตร ฉลากสินค้าระบุว่าสามารถกำจัดวัชพืชได้ทุกชนิด ทั้งใบกว้าง และ ใบแคบ ซึ่งจัดเป็นวัตถุอันตรายตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 บัญชีที่ 1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ จึงได้อายัดของกลางทั้งหมดไว้ในที่เกิดเหตุ

“สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ สารวัตรเกษตร เช้าร่วมตรวจสอบสินค้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่าสินค้าดังกล่าวเป็นวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ที่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 36 วรรค 2 ผู้ใดที่จะผลิต หรือนำเข้า จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และมาตรา 22 ผู้ผลิตนำเข้า หรือผู้ส่งออกต้องแจ้งการดำเนินการ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมีความผิดตามมาตรา 72 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

 

“สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง

ในขณะทำการตรวจค้น พบว่าชั้น 1 มีพนักงานกำลังบรรจุของจำนวนมาก ส่วนชั้น 2 ใช้ทำเป็นห้อง สำหรับรับออเดอร์สินค้า ที่สั่งจาก เพจ Facebook และ ติ๊กต๊อก พบสารเคมีที่เป็นอันตราย ได้แก่ โซดาไฟ เกลือแคลเซียม อะซิติกแอซิด ซึ่งเป็นของไวไฟ ถ้าถูกผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังไหม้ และ ทำลายดวงตา โดยสินค้าที่พบ ชื่อ สารกำจัดวัชพืชอินทรีย์ ชื่อการค้า ดร.เกษตร จำนวน 1,609 แกลลอน และ อุปกรณ์การผลิต จำนวน 10 รายการ มูลค่าประมาณ 300,000 บาท จึงได้ยึดอายัดวัตถุอันตรายไว้ในที่เกิดเหตุ เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ภายใต้ห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตร  เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิด และ ผู้ที่กระทำผิดอื่นที่สอบสวนถึง จนกว่าคดีถึงที่สุดตามกฎหมายต่อไป

                “สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง

นายธรรมรัตน์ ทองมี ผู้อำนวยการกลุ่มสารวัตรเกษตร กล่าวว่า อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ไม่ได้นิ่งนอนใจ ในการขายสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ย และ วัตถุอันตรายทางการเกษตร ผ่านระบบออนไลน์ ที่มีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะโฆษณาไปในทางที่ค่อนข้างเกินจริง มีทั้งการชายลดราคา มีของแจกของแถม เพื่อเป็นการจูงใจผู้ซื้อและเกษตรกร มีการใช้ข้อความสื่อไปในทางที่หลีกเลี่ยงกฎหมาย เมื่อเกษตรกรหรือผู้ซื้อนำไปใช้แล้วไม่ได้ผล

“สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง

สร้างความเสียหาย และ ไม่ปลอดภัยทั้งกับเกษตรกร และ ผู้บริโภค กลุ่มสารวัตรเกษตร จึงได้มีการเสนอทบทวนคำสั่งกรมวิชาการเกษตร เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานควบคุมกำกับ ดูแล บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ปุ๋ย และ พันธุ์พืช โดยเพิ่มหน้าที่ และ อำนาจ ตรวจสอบ เฝ้าระวัง รับแจ้งเบาะแส ปราบปราม รวบรวมเอกสาร เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย ปุ๋ย และ พันธุ์พืช ทางสื่อออนไลน์

“สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง

โดยใช้ชื่อว่า “สารวัตรเกษตรไซเบอร์” เพื่อควบคุมการโฆษณา การจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรทางสื่อออนไลน์ ให้ทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงดิจิตัลเศรษฐกิจและสังคม กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อรวบรวมหลักฐาน และ สืบขยายผล

                “สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง

สารวัตรเกษตรไซเบอร์ มีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ ตรวจสอบทางออนไลน์ ดูลักษณะผลิตภัณฑ์ทางกายภาพ การโฆษณา สรรพคุณ การขึ้นทะเบียน หากพบการกระทำผิด จะบันทึกหน้าจอไว้เป็นหลักฐาน ล่อซื้อตัวอย่าง เพื่อส่งวิเคราะห์ตามข้อสันนิษฐาน หากผลยืนยันว่าเป็นวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียน หรือ ขออนุญาต ตามที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ จะประสานไปยังตำรวจสายสืบ เพื่อสืบหาแหล่งผลิต ดำเนินการขออนุมัติหมายศาลเพื่อเข้าตรวจค้น จับกุม ยึดอายัดของกลาง รวบรวมพยานหลักฐานส่งนิติกรฟ้องศาลดำเนินคดี

“สารวัตรเกษตรไซเบอร์” ร่วม ตำรวจ ดีเอสไอ กวาดล้าง ปุ๋ย ยาปลอม ต่อเนื่อง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตร ตั้งสารวัตรเกษตรไซเบอร์ ตรวจเข้ม ปุ๋ย เคมีเกษตร โฆษณาออนไลน์ ผนึกกำลัง ตำรวจ และ DSI ต่อเนื่อง ทลายแหล่งผลิตปุ๋ย ยา ไม่ได้มาตรฐาน ขอให้เกษตรกรเลือกซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร จากร้านค้า ที่มีสัญลักษณ์ Q Shop ที่กรมวิชาการเกษตรรับรองเท่านั้น สามารถประสาน ทางสารวัตรเกษตรไซเบอร์ ของกรมวิชาการเกษตร ได้ที่เบอร์ 1174