“เทคโนโลยี Blockchain”สำคัญอย่างไร?กับการค้าโลกยุคใหม่หาคำตอบได้ที่นี่

10 ก.ค. 2566 | 12:54 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ก.ค. 2566 | 13:20 น.

นวัตกรรม Blockchain ระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทย ที่สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สนค.เร่งขยายเครือข่ายเกษตรกร ผู้ประกอบธุรกิจหนุนตลาดในประเทศ พร้อมบุกตลาดต่างประเทศ

 เทคโนโลยี Blockchain หรือระบบ TRACETHAI.com เกิดขึ้นเมื่อ2563 โดยมีสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ และพัฒนาระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วยการใช้เทคโนโลยีสำหรับติดตามหรือตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่การผลิต รวบรวม บรรจุ และจัดจำหน่ายไปยังผู้บริโภค โดยนำร่องที่สินค้าข้าวอินทรีย์ซึ่งมีศักยภาพ  การส่งออกสูง

“เทคโนโลยี Blockchain”สำคัญอย่างไร?กับการค้าโลกยุคใหม่หาคำตอบได้ที่นี่

​นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค.ผู้ประกอบการให้ความสนใจและเข้าร่วมระบบ TRACETHAI.com เพราะมั่นใจว่าเป็นเครื่องมือควบคุมการผลิตและส่งมอบสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้

​นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

อย่างมีคุณภาพ ส่งผ่านข้อมูลใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อย่างปลอดภัย สะดวก เป็นการยกระดับการค้าเกษตรอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูกพืชจนถึงผู้บริโภค ตอบโจทย์การค้ายุคใหม่ในโลกดิจิทัล

“เทคโนโลยี Blockchain”สำคัญอย่างไร?กับการค้าโลกยุคใหม่หาคำตอบได้ที่นี่

ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบฯ อย่างต่อเนื่อง รองรับพืชอินทรีย์อื่นนอกเหนือจากข้าว อาทิ ผัก ผลไม้ เห็ด โกโก้ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากวัตถุดิบอินทรีย์ และรองรับมาตรฐานโดยหน่วยตรวจรับรองหรือ CB    ตามมาตรฐานอินทรีย์สากล และมาตรฐาน Organic Thailand ตลอดจนสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับตราสัญลักษณ์ GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ ชาเชียงราย ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้สระบุรี และหอมแดงศรีสะเกษ และปีนี้ สนค. ขยายไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม หรือ PGS ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์กลุ่มใหญ่ภายในประเทศด้วย

ในปี 2566 สนค. และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขยายฐานกลุ่มเป้าหมายโครงการฯ ไปยังเครือข่ายพันธมิตรในภูมิภาค โดยร่วมมือกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิต แปรรูป จัดจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ใน 3 จังหวัด และฝึกอบรมใช้งานระบบรวม 10 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร ฯลฯ

“เทคโนโลยี Blockchain”สำคัญอย่างไร?กับการค้าโลกยุคใหม่หาคำตอบได้ที่นี่

ด้านรศ.ดร.ดนุพันธ์ วิสุวรรณ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า โครงการพัฒนาระบบต้นแบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี Blockchain มีความสำคัญมากภายใต้บริบทโลกยุคใหม่และทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวทางสำคัญที่ สนค. ได้ริเริ่มและให้โอกาสทาง สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เป็นผู้ดำเนินการพัฒนา TRACETHAI.com จนเกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมนำไปสู่การส่งเสริมศักยภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ สอดคล้องกับแนวทาง สร้างเกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย รักและห่วงใยสิ่งแวดล้อม

ศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

​ขณะที่ศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในระบบตรวจสอบย้อนกลับเกษตรอินทรีย์ ช่วยสร้างกลไกความน่าเชื่อถือ โปร่งใส ในการบันทึกข้อมูลสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ลดปัญหาการปลอมแปลงเอกสารหรืออ้างมาตรฐานใบรับรองเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนผู้ซื้อที่จ่ายราคาสูงขึ้นให้ได้รับสินค้าปลอดภัยต่อสุขภาพอย่างแท้จริง

​“TRACETHAI.com ออกแบบนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี Blockchain ทำให้ผู้ซื้อตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกจุด ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มโอกาสการค้าให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่กำหนดกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมเข้มงวดขึ้น”