ซาอุฯตั้งเป้าดึงลงทุนอาหารกว่า7 แสนล้านโอกาสทองของส่งออกไทย

27 มิ.ย. 2566 | 12:22 น.
อัปเดตล่าสุด :27 มิ.ย. 2566 | 12:26 น.

“พาณิชย์” เผย ซาอุฯตั้งเป้าดึงลงทุนด้านอาหาร กว่า 7 แสนล้านบาท  ชี้ไทยใช้จุดแข็งอาหารไทย อาหารโลกหาโอกาสสร้างเงิน

นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การค้าในต่างประเทศ ได้รับรายงานจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจดดาห์ ประเทศซาอุดีอาระเบียว่าว่า กระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรแร่ (Ministry of Industry and Mineral Resources) ของซาอุดีอาระเบียประกาศว่า

นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ซาอุดีอาระเบียตั้งเป้าดึงดูดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอาหารในปี 2035 ด้วยมูลค่า 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 703,000 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในซาอุดีอาระเบีย รวมถึงผลิตภัณฑ์นม เบเกอรี่ ขนม เครื่องดื่ม และเพิ่มมูลค่าสูงสุดของพืชผลทางการเกษตร รวมถึงการสร้างโอกาสในการทำงานมากกว่า 4,000 ตำแหน่ง

ซาอุฯตั้งเป้าดึงลงทุนอาหารกว่า7 แสนล้านโอกาสทองของส่งออกไทย

นอกจากนี้ยังตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการส่งออกเป็นสองเท่าจาก 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ประมาณ 130,000 ล้านบาท) ในปี 2022 เป็น 10.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ประมาณ 380,000 ล้านบาท) ในปี 2035 เป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งชาติ (National Industrial Strategy - NIS) ซึ่งพยายามที่จะเพิ่มการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหาร

ซาอุฯตั้งเป้าดึงลงทุนอาหารกว่า7 แสนล้านโอกาสทองของส่งออกไทย

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรแร่ ของซาอุดีอาระเบียได้ ดำเนินงานในหลาย ๆ โครงการ ได้แก่ โครงการเพิ่มกำลังการผลิตสัตว์ปีก มูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 42,000 ล้านบาท) โดยบริษัท Almarai โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกมูลค่า 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 4,200 ล้านบาท) โดยบริษัท Arab Seara Food Industries ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม GBS ของบราซิลในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และโครงการทูน่ากระป๋องมูลค่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 4,600 ล้านบาท)

ซาอุฯตั้งเป้าดึงลงทุนอาหารกว่า7 แสนล้านโอกาสทองของส่งออกไทย

สำหรับประเทศไทยมีอุตสาหกรรมอาหารที่แข็งแกร่ง มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญมากมาย นอกจากนี้ ยังมีความสามารถในการแปรรูป คิดค้นนวัตกรรมด้านอาหาร มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย คำนึงถึงความยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว มีศักยภาพในการส่งออก

ซาอุฯตั้งเป้าดึงลงทุนอาหารกว่า7 แสนล้านโอกาสทองของส่งออกไทย

จนได้ชื่อว่าเป็น ครัวของโลก (Kitchen of the World)  และด้วยการผลักดันนโยบาย อาหารไทย อาหารโลก ของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน จึงทำให้ปี 2565 ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 15 ของโลก มีมูลค่าการส่งออกถึง 1.36 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 22.7% จากปีก่อน อยากให้ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกไทย ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อหาช่องทางในการทำการตลาดต่อไป