การบินไทย ตีปีก Q1/66 พลิกทำกำไร 1.25 หมื่นล้าน

12 พ.ค. 2566 | 08:34 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ค. 2566 | 12:48 น.
1.6 k

การบินไทย ตีปีกผลประกอบการไตรมาส 1/66 พลิกมีกำไรสุทธิ 1.25 หมื่นล้านบาท จากรายได้ค่าโดยสารพุ่ง 681.5% รวมถึงกำไรปรับโครงสร้างหนี้-ขายสินทรัพย์

ไฮไลท์ :  บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)  หรือ THAI แจงบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ จำนวน 12,523 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 3,246,813 ล้านบาท  โดยสูงกว่าปีก่อนถึง 15,766 ล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่12,514 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 5.73 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 1.49 บาท

โดยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง(Power by the Hour) เป็นกำไรจำนวน 14,054 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15,431 ล้านบาท

ผลประกอบการการบินไทย Q1/2566

นางเฉิดโฉม เทอดสถีรศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ถึงผลการดำเนินงานการบินไทยไตรมาสแรก ปี 2566 โดยระบุว่า("บริษัทฯ") ขอนำส่งงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2566 มีสาระสำคัญ ดังนี้

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเครื่องบินที่ใช้ทำการบินทั้งสิ้น 65 ลำ

  • มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน 2.3 ชั่วโมง
  • มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 121.4%
  • ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้น 469.2%
  • อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 83.5% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 32.59
  • มีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 352 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน245.1%

ส่งผลให้ผลการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงิน 3,034 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 16,201 ล้านบาท (511.6%) โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 41,507 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 30,326 ล้านบาท (271.2%)

สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 30,502 ล้านบาท (681.5%) เนื่องจากในไตรมาสนี้
บริษัทฯ ให้บริการเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารในตารางการบินฤดูหนาว ปี 2565 - 2566 รองรับการเดินทางของผู้โดยสารสู่ 34 เส้นทางบินทั่วโลก ทั้งยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย

พร้อมเพิ่มความถี่เที่ยวบิน ในเส้นทางบินยอดนิยม โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 บริษัทฯเริ่มกลับมาเปิดเส้นทางบินสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบกับมีรายได้จากการบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้น 621ล้านบาท (46.4%) จากเที่ยวบินลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และมีคำใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 28,473 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 14,125 ล้านบาท (98.4 %)

สาเหตุหลักจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่แปรผันตามปริมาณการผลิตและหรือปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าน้ำมันเครื่องบินที่เพิ่มสูงขึ้น จากราคาน้ำมันที่สูงกว่าปีก่อน 9.7%

นอกจากนี้มีต้นทุนทางการเงิน (ซึ่งเป็นการรับรู้ต้นทุนทางการเงินตามมาตรฐานการราบงานทางการเงินฉบับที่ 9 : TFRS 9
จำนวน 3,549 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 1,357 ล้านบาท (61.9%)

บริษัทฯ และบริษัทบ่อย มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ส่วนใหญ่เกิดจากกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้กำไรจากการขายสินทรัพย์ และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว-สุทธิ เป็นรายได้รวม 2,987 ล้นบาท สูงกว่าปีก่อน 945 ล้านบาท

ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ จำนวน 12,523 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 15,766 ล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 12,514 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 5.73 บาท ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 1.49 บาท

การบินไทยตีปีก Q1/66 พลิกทำกำไร12.5 หมื่นล้าน

โดยมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้
เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง (Power by the Hour) เป็นกำไรจำนวน 14,054 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15,431 ล้านบาท

บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจการบินของบริษัทฯ เพื่อลดภาระการขาดทุนจากการดำเนินการและแก้การขาดทุนสะสมที่เกินทุนจดทะเบียนของบริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัดซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการและแผนการปฏิรูปธุรกิจเพื่อการดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างยั่งยืน

โดยผลที่ได้รับจากการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจการบินของบริษัทฯ ได้แก่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ฝูงบิน การขยายโอกาสการหารายได้จากเส้นทางและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากอัตราเฉลี่ยการใช้อากาศยานที่ดีขึ้น

รวมถึงการขยายโอกาสสร้างรายได้ในเส้นทางบินระหว่างประเทศที่ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยสูงและการแข่งขันไม่รุนแรงเท่าเส้นทางภายในประเทศ การบรรเทาปัญหาข้อจำกัดในการจัดหาอากาศยานในระยะสั้นซึงเป็นผลจากฟื้นตัวต่อเนื่องของความต้องการเดินทาง

ในขณะที่การขยายกำลังการผลิตของผู้ผลิตเครื่องบินเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขังมีข้อจำกัด ความเป็นเอกภาพในทางการตลาดและตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์ การผนวกจุดแข็งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ

อีกทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการต้นทุนด้านการจัดซื้อจัดจ้าง การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและบูรณาการทรัพยากร การลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนไม่จำเป็น รวมทั้งการสนับสนุนนโยบาขส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใน ประเทศของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 208,415 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 10,267 ล้านบาท (5.2% ) หนี้สินรวมมีจำนวน 266,948 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 2,254 ล้านบาท (0.8%) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อยติดลบจำนวน 58,503 ล้านบาท ติดลบลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 12,521 ล้านบาท