โอกาส“ข้าวไทย”ในตลาดเช็กเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

25 เม.ย. 2566 | 10:15 น.
อัปเดตล่าสุด :25 เม.ย. 2566 | 10:28 น.

ส่งตลาดข้าวไทยในเช็ก ความต้องการข้าวไทยเพิ่มอย่างต่อเนื่อง  เป็นโอกาสของ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวของไทยเน้นข้าวที่มีคุณลักษณะเฉพาะอย่างไรซ์แบรี่ ข้าวกล้องเจาะกลุ่มลูกค้ารักสุขภาพ

ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สาธารณรัฐเช็ก เปิดเผยว่าการบริโภคข้าวในสาธารณรัฐเช็กมีเพิ่มขึ้น จากเดิมเฉลี่ยต่อคนต่อปีบริโภคข้าวประมาณ 6 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นเป็น 8 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และในระยะยาวมีแนวโน้มว่าการบริโภคข้าวจะมีเพิ่มขึ้นอย่าง

โอกาส“ข้าวไทย”ในตลาดเช็กเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

ต่อเนื่อง กลุ่มผู้บริโภคหลักของสินค้าข้าวในตลาดสาธารณรัฐเช็กมีสองกลุ่ม คือ กลุ่มครัวเรือน และกลุ่มธุรกิจ HORECA (โรงแรม ร้านอาหาร สถานศึกษา โรงพยาบาล กลุ่มธุรกิจบริการจัดเลี้ยง)โดยกลุ่มครัวเรือนจะซื้อสินค้าผ่าน ช่องทางร้านค้าปลีกค้าส่ง ทั้งซูเปอร์มาเก็ตและไฮเปอร์มาเก็ต

ซึ่งผู้นำเข้ารายใหญ่ในสาธารณรัฐเช็ก จัดจำหน่าย สินค้าข้าวไปยังกลุ่มค้าปลีก/ค้าส่ง ประมาณ60% และสำหรับอีกกลุ่มหนึ่งประมาณ40% จัดจำหน่าย ไปยัง กลุ่มธุรกิจ HORECA (โรงแรม ร้านอาหาร สถานศึกษา โรงพยาบาล กลุ่มธุรกิจบริการจัดเลี้ยง) ในปัจจุบัน ความต้องการสินค้าข้าวในตลาดสาธารณรัฐเช็กมีประมาณ 100,000-120,000 ตันต่อปี

โอกาส“ข้าวไทย”ในตลาดเช็กเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

แม้ว่าภาพรวมของตลาด แม้สาธารณรัฐเช็กมีความต้องการบริโภคข้าวไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปที่มีขนาดของตลาดที่ ใหญ่กว่า แต่ความต้องการสินค้าข้าวในตลาดนี้มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับข้าวจากประเทศไทย ได้รับความนิยมในตลาดสาธารณรัฐเช็กในระดับสม่ำเสมอ โดยครองอันดับ 2 มาอย่าง ยาวนาน รองจากประเทศอิตาลีที่ครองอันดับหนึ่ง

โอกาส“ข้าวไทย”ในตลาดเช็กเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา การนำเข้าข้าวจาก ประเทศเอเชียอื่น ๆไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา พม่า และเวียนดนาม เริ่มขยายตัวมากขึ้น และทำให้ไทยเสียส่วนแบ่งตลาด ให้แก่ประเทศคู่แข่งในเอเชีย เนื่องจากราคาสินค้าข้าวจากทั้งกัมพูชา พม่า และเวียดนาม มีราคาถูกกว่าข้าวจากประเทศไทย หลังจากที่เวียดนามได้มีความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรป ในปี 2563

และในปี 2565 แม้ว่ามูลค่าการนำเข้าข้าวไทยจะเพิ่มขึ้นถึง 20.3% แต่เมื่อเทียบในกลุ่มคู่แข่งในตลาดพบว่า ไทย อยู่ในลำดับที่ 7 ในตลาดเช็ก โดยซัพพลายเอร์อันดับหนึ่งคือ อิตาลี ด้วยส่วนแบ่งตลาดถึง 30.5% (เพิ่มขึ้น12.8%) ตามด้วยกัมพูชา 13.8% (เพิ่มขึ้น 210.8%) เบลเยียม  10% (เพิ่มขึ้น 18.7%) เวียดนาม8.8%  เมียนมาร์ 8.4% โปแลนด์ 5.4%

 

โอกาส“ข้าวไทย”ในตลาดเช็กเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

ส่วนข้าวจากไทย มีสัดส่วนตลาด 5.2% ขยายตัว20.3% ทั้งนี้ คู่แข่งสำคัญของไทย คือกัมพูชา เวียดนาม และพม่า โดยส่วนแบ่งตลาดของข้าว ไทยลดลงเมื่อเทียบกับคู่แข่งดังกล่าว เนื่องจากสินค้าข้าวของทั้งกัมพูชา เวียดนาม และพม่ามีราคาถูกกว่า

สำหรับ ในกรณีเบลเยียมที่เป็นซัพพลายเอร์อันดับ 3 ในปี 2565 และเป็นผู้ส่งออกใหญ่สุดอันดับที่ 2 ของโลก แม้จะไม่มี การปลูกข้าวในเบลเยียม แต่เป็นเพราะเบลเยียมมีท่าเรือ Antwerb ที่มีความพร้อมในเรื่องที่ตั้งสำหรับการ ดำเนินการผลิตของประเทศต่าง ๆ โดยบริษัทผู้ส่งออกข้าวสำคัญคือ Mars Food มีสินค้าภายใต้ยี่ห้อ Ben’s Original วางจำหน่ายในตลาดเช็ก ซึ่งเบลเยียมนำเข้าข้าวส่วนใหญ่จากกัมพูชา สเปน ปากีสถาน อิตาลี และไทย

ดังนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ปริมาณข้าวไทยในตลาดเช็กอาจจะมีมากกว่าตัวเลขที่ปรากฎอยู่ในสถิติการนำเข้าข้าว ไทยมายังสาธารณรัฐเช็ก แนวโน้มใหม่ของการนำเข้าข้าวในสาธารณรัฐเช็กปรากฎให้เห็นตั้งแต่ปี 2564 ต่อเนื่องมาถึงปี 2565 อันเนื่องมาจาก ค่าขนส่งจากเอเชียที่สูงขึ้น ทำให้ซัพพลายเออร์ข้าวจากยุโรเข้ามาแทนที่ซัพพลายเออร์จากเอเชีย อย่างไรก็ดี ข้าวจากยุโรปเองสามารถ ตอบสนองความต้องการของตลาดได้เพียง 60%  อีก 40% ยังคงต้องนำเข้าจากแหล่งอื่น ซึ่งรวมถึงการ นำเข้าทางอ้อมจากผู้ผลิตอีกต่อหนึ่ง

โอกาส“ข้าวไทย”ในตลาดเช็กเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

จากการสำรวจตลาดในร้านค้าปลีกเช็ก ข้าวหอมมะลิที่วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากพม่า เวียดนาม หรือกัมพูชา ซึ่งมีราคาถูกกว่าข้าวไทย (แต่เดิมสินค้าข้าวหอมมะลิในตลาดเช็กจะเป็นข้าวจากไทย)

การนำเข้าข้าวไทยมายังตลาดเช็กในปี2565 มีปริมาณ 4,925 ตัน ซึ่งสูงกว่าอิตาลี ที่รั้งตำแหน่ง ซัพพลายเออร์อันดับ 1 โดยการนำเข้าข้าวอิตาลี มีปริมาณ 33,353 ตัน เบลเยียม 20,000 ตัน กัมพูชา 15,522 ตัน เมียนมา 12,927 ตัน และจากเวียดนาม 9,393 ตัน ในภาพรวมปริมาณความต้องการสินค้าข้าวของสาธารณรัฐเช็ก มีประมาณ 100,000-120,000 ตันต่อปี โดยมีการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น19% การนำเข้าข้าวจากไทยในปี2565 มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 27.6% ซึ่งในจำนวนนี้มีการนำเข้าข้าวหอมมะลิ คุณภาพสูง ขณะที่ราคาสินค้าข้าวปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ประมาณ 8% กฎระเบียบการนำเข้า สาธารณรัฐเช็กเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2547 จึงใช้กฎระเบียบการนำเข้าเดียวกันกับ สมาชิกสหภาพยุโรป สำหรับการนำเข้าสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ซึ่งต้องมีมาตรฐานด้านความปลอดภัย และ กฎระเบียบอื่น ๆ

โอกาส“ข้าวไทย”ในตลาดเช็กเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

อย่างไรกฌตามโอกาสและอุปสรรค ในตลาดเช็กเนื่องจากเช็กไม่สามารถ เพาะปลูกข้าวได้เอง ดังนั้นจึงมีความต้องการนำเข้าข้าวเพื่อบริโภคภายในประเทศ จึงเป็นโอกาสสำหรับ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวคุณภาพของไทยที่มีโอกาสในการขยายตลาด เพราะส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าข้าวไทยว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ แต่อุปสรรคสำคัญเป็นเรื่องของราคาที่สูงกว่าประเทศอื่นในเอเชีย เนื่องจากประเทศคู่แข่งในเอเชียมีสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่เช็ก กำลังเผชิญกับผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ค่าขนส่งที่สูงขึ้น และต่อเนื่องมาจนถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ผู้บริโภคต้องลดการใช้จ่าย และมองหาสินค้าทางเลือกที่ราคาถูกกว่า

โอกาส“ข้าวไทย”ในตลาดเช็กเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

นอกจากสินค้าข้าวหอมมะลิแล้ว ยังมีสินค้าข้าวชนิดใหม่ ๆ ที่น่าสนใจและมีโอกาสขยายตลาดในสาธารณรัฐเช็ก ได้แก่ สินค้าข้าวที่มีคุณลักษณะเฉพาะ อาทิ ข้าวไรซ์แบรี่ ข้าวกล้อง โดยกลุ่มลูกค้าเฉพาะ (Niche) ที่เป็นกลุ่ม ผู้บริโภคอาหารสุขภาพ อาหารออแกนิก จะให้ความสนใจสินค้ากลุ่มนี้ เนื่องจากเห็นความสำคัญในเรื่อง คุณประโยชน์และคุณภาพของสินค้ามากกว่าเรื่องราคา อีกทั้งยังมีกำลังซื้อ และในอนาคตแนวโน้มของผู้บริโภคที่ ให้ความสำคัญกับสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้น

โอกาส“ข้าวไทย”ในตลาดเช็กเน้นเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ

โดยในปีนี้ ได้มีผู้นำเข้าข้าวกลุ่มข้าวไรซ์แบรี่ ข้าวออแกนิก เข้ามายัง สาธารณรัฐเช็ก โดยสำนักงานทูตพาณิชย์ ณ กรุงปราก ได้ร่วมมือกับผู้นำเข้าในการประชาสัมพันธ์สินค้าข้าวไรซ์แบรี่ ข้าวออแกนิก ในงานFestival Evolution ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนเมษายน 2566 สำหรับแนวทางการเจาะตลาดสินค้าข้าวในสาธารณรัฐเช็ก ควรเน้นไปที่การให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสินค้าข้าวไทย ความแตกต่างโดดเด่นของข้าวไทยและคุณภาพของข้าวไทย เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดนี้ไม่คุ้นเคย หรือมีความรู้ เกี่ยวกับสินค้าข้าวน้อยมาก นอกจากนี้ หากผู้ผลิตสามารถพัฒนาการผลิต บริหารจัดการลดต้นทุนในส่วนอื่น ๆ และยังคงคุณภาพของข้าวไทย หรือมีนวัตกรรมใหม่ ๆ จะยิ่งช่วยขยายโอกาสสำหรับสินค้าข้าวไทยในสาธารณเช็กได้ในระยะยาว ดังนั้น เมื่อ มาตรฐานการครองชีพของประชากรสูงขึ้น รวมถึงการรับรู้และรู้จักข้าวไทยมากขึ้น สินค้าข้าวไทยจะมีศักยภาพ และโอกาสทางการตลาดในอนาคต