“รฟม.” ดิ้น เร่งแจงปมรับเงินทอน 3 หมื่นล้าน ส่อทุจริตประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

21 ก.พ. 2566 | 18:49 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.พ. 2566 | 19:25 น.
2.0 k

“รฟม.” โต้ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ปมส่อทุจริตประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ท้าชูวิทย์งัดหลักฐานรับเงินทอน 3 หมื่นล้าน ดึงปปง.สอบ ลุ้นศาลปกครองพิพากษาคดี ก่อนชงคมนาคม-ครม.ไฟเขียวเซ็นสัญญาร่วมเอกชนผู้ชนะประมูล

นายภคพงศ์  ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงในกรณีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ตั้งข้อสังเกตต่อการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า สำหรับการดำเนินการประกาศเชิญชวนฯ และคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ และ รฟม. ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในมาตรา 35 ถึงมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตรวจพิจารณาร่างสัญญาร่วมลงทุนตามาตรา 41 เรียบร้อยแล้ว

“รฟม.” ดิ้น เร่งแจงปมรับเงินทอน 3 หมื่นล้าน ส่อทุจริตประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
นายภคพงศ์  กล่าวต่อว่า  ปัจจุบันทางรฟม.ยังไม่ได้มีการรายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มต่อกระทรวงคมนาคม เนื่องจากรฟม.อยู่ระหว่างรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีที่รฟม.ถูกฟ้องร้อง ทั้งนี้ประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น ต่างเป็นประเด็นที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องในศาลปกครองทั้งสิ้น เบื้องต้นรฟม.ต้องรอคำพิพากษาศาลปกครองก่อน ซึ่งใกล้จะมีคำพิพากษาออกมาแล้ว เนื่องจากตุลาการศาลปกครองสูงสุดได้มีการนั่งพิจารณาคดีในครั้งแรก รวมทั้งตุลาการคดีได้มีการแถลงคดีทั้ง 2 คดีเรียบร้อยแล้ว 
 

ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไป รฟม. จะรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีที่ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ถูกฟ้องคดี มาประกอบเรื่องเพื่อเสนอนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัด และคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อไป 

“รฟม.” ดิ้น เร่งแจงปมรับเงินทอน 3 หมื่นล้าน ส่อทุจริตประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า กรณีที่มีแผนจะเสนอต่อครม.พิจารณาเห็นชอบการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนัดสุดท้ายภายในต้นเดือนมีนาคม 2566 นั้น ขณะนี้รฟม.ยังไม่ได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อกระทรวงคมนาคมเลย ซึ่งเป็นการคาดเดา โดยที่ไม่มีมูลความจริง  
 

“ส่วนกรณีที่มีการพูดถึงโครงการฯมีเงินทอน 30,000 ล้านบาท โดยผ่านการโอนเงินไปยังประเทศสิงคโปร์ผ่านธนาคารเอกชนระหว่างประเทศนั้น ยืนยันว่าไม่ทราบเรื่องนี้และไม่เคยมีการปรากฏในเรื่องดังกล่าว เราขอให้นำหลักฐานเอกสารการโอนเงินดังกล่าวเปิดเผยต่อสาธารณชน และสามารถส่งหลักฐานให้คณะกรรมการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบได้ ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นการกระทำผิดกำหมายเข้าข่ายการฟอกเงิน”

 

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ทางรฟม.จะเอาผิดกับนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ในกรณีที่ออกมากล่าวถึงโครงการฯมีเงินทอน 30,000 ล้านบาทหรือไม่นั้น ขณะนี้ทางฝ่ายกฎหมายของรฟม.อยู่ระหว่างดูรายละเอียดในเรื่องนี้ หากหลักฐานดังกล่าวมีการตรวจสอบพบข้อมูลเป็นเท็จ และในกรณีที่นายชูวิทย์ ไม่สามารถนำหลักฐานมาแสดงได้ก็ถือว่าเป็นการพูดเพื่อทำลายชื่อเสียงของรฟม. เชื่อว่าผู้ที่ถูกพาดพิงและถูกปรากฏในเอกสารคงจะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

“รฟม.” ดิ้น เร่งแจงปมรับเงินทอน 3 หมื่นล้าน ส่อทุจริตประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ขณะที่การยืนยันขั้นตอนการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มไม่มีมีการทุจริตนั้น ทางรฟม.ไม่ได้เป็นคนยืนยัน แต่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางเป็นผู้ยืนยันว่า ศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า ผู้ว่าการ รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้แก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563  ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอรายใด และกรณีที่มีการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ไม่มีการกลั่นแกล้งผู้ใดหรือกระทำนอกขอบเขตของกฎหมาย ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

 

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า กรณีการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินข้อเสนอในการคัดเลือกเอกชนครั้งที่ 1 นั้น ที่ผ่านมา รฟม. ได้ปรับปรุงเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) เฉพาะวิธีการประเมินข้อเสนอ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการเสนอผลตอบแทนให้แก่ภาครัฐตามที่นายชูวิทย์ฯ กล่าวอ้างแต่อย่างใด และได้ขยายระยะเวลาการยื่นซองข้อเสนอออกไปอีก 45 วัน

 

ขณะเดียวกันในเรื่องนี้มีคดีฟ้องร้องในศาลปกครอง โดยมีความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ศาลปกครองสูงสุดได้นั่งพิจารณาคดีครั้งแรก โดยตุลาการผู้แถลงคดีมีความเห็นว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) และ รฟม. ดำเนินการแก้ไขเอกสาร RFP เพิ่มเติมครั้งที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่ทำให้ผู้ยื่นข้อเสนอได้รับความเสียหาย และไม่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ใด ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างรอศาลปกครองสูงสุดพิพากษา 

“รฟม.” ดิ้น เร่งแจงปมรับเงินทอน 3 หมื่นล้าน ส่อทุจริตประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ส่วนประเด็นที่นายชูวิทย์ฯ ได้พูดพาดพิงถึงมติที่ประชุมศาลปกครองสูงสุดนั้น ถือเป็นกระบวนการภายในของศาลปกครองที่ไม่เปิดเผยแก่บุคคลภายนอก ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรต้องรอให้ปรากฏในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดต่อไป

 

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า กรณีที่มีการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนครั้งแรก ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ตุลาการผู้แถลงคดี ศาลปกครองสูงสุด ได้แถลงสรุปว่า การยกเลิกการคัดเลือกเอกชนฯ ครั้งแรก ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว และเป็นการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชน โดยเห็นควรให้ยกฟ้อง อย่างไรก็ตาม คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด 

 

นอกจากนี้การคัดเลือกเอกชนครั้งใหม่ที่มีการล็อกสเปค ที่ผ่านมาที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ศาลปกครองกลาง พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การดำเนินการคัดเลือกดำเนินการตามกฎหมาย มีการเปิดกว้างให้เอกชนเข้าร่วมในการคัดเลือกมากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น และไม่มีลักษณะเป็นการตัดสิทธิหรือกีดกันผู้ใดมิให้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอ จึงมีคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว