จับสัญญาณดอกเบี้ย"กนง." ลุ้นเป้าดัชนีหุ้นไทยทะลุ 1,800 จุด ?

25 ม.ค. 2566 | 14:29 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ม.ค. 2566 | 14:39 น.

โบรกฯมองโอกาส กนง.ขึ้นดอกเบี้ยปีนี้เริ่มลดลง เหตุเงินเฟ้อชะลอ หวั่นบาทแข็งซ้ำเติมผู้ส่งออก ด้านบล.เอเซียพลัส ยก 3 สมมุติฐาน ดอกเบี้ยลดหนุนหุ้นไทยแตะ 1,740 - 1,800 จุด

 

สัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย หลังรอบปี 2565 กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 3 ครั้ง ขณะที่การดำเนินนโยบายทางการเงินของไทยในปีนี้ ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซียพลัส หรือ ASPS  ยก 5 เหตุผล ที่สนับสนุนว่า กนง.มีแนวโน้มจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ดังนี้

 

  • 1. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไทยทยอยปรับตัวลง ซึ่ง CPI ล่าสุดอยู่ที่ 5.9%YoY (ธ.ค.65) ทยอยลดลงจากระดับสูงสุดที่ 7.9 YoY (ส.ค.65) ซึ่งฝ่ายวิจัยนำการเติบโตเงินเฟ้อเดือนล่าสุดของไทย ที่ระดับ -0.13% MoM มาคิดสมมุติฐานเงินเฟ้อในระยะถัดไป พบว่า CPI YoY จะทยอยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจากระดับ +5.59% YoY ในเดือน ธ.ค. 65 มุ่งสู่ระดับ +2.7% YoYเข้าสู่กรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของ ธปท. ที่ระดับ 1-3% ในเดือน มี.ค. 66
  • 2. ธนาคารกลางหลายประเทศเริ่มชะลอระดับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุด 3 ธนาคารกลางใหญ่ของโลกอย่าง FED(สหรัฐฯ) ECB(ยุโรป) BOE(อังกฤษ) เริ่มมีการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ในปีนี้ธนาคารกลางทั้ง 3 แห่ง คาดขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียด

 

จับสัญญาณดอกเบี้ย\"กนง.\" ลุ้นเป้าดัชนีหุ้นไทยทะลุ 1,800 จุด ?

  • 3. เงินบาทแข็งค่าเร็วและแรงเกินไป โดยค่าเงินบาทจากจุดสูงสุด 38.47 บาท/ดอลลาร์ (วันที่ 20 ต.ค. 65) และล่าสุดอยู่ที่ 32.73 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งแข็งค่ามาแล้วกว่า 15% ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 เดือน ซึ่งหาก กนง. ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% คาดทำให้ค่าเงินบาทยิ่งแข็งค่าขึ้นไปอีก และกระทบต่อภาคส่งออก ที่เป็นรายได้หลักของประเทศไทย
  • 4. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างสูง ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.82% โดยนับตั้งแต่ กนง.เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปี 2565 พบว่า ธนาคารพาณิชย์ ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นมาแล้วเฉลี่ย 0.42% และล่าสุดปรับเพิ่มขึ้นจากการที่ธนาคารฯ ต้องนำส่งเงินเข้า FIDF ในอัตราเดิมอีก 0.40% เมื่อต้นปี 2566 ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับสูงขึ้น ยิ่งเพิ่มภาระต้นทุนทางการเงินมากขึ้น
  • 5. การขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปอาจลดทอนศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยเศรษฐกิจไทย เพิ่งเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวหลัง ภาคการท่องเที่ยวเริ่มมีสัญญาณที่ดีจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ทยอยเข้าประเทศไทย ซึ่งหาก กนง.ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% อาจมีผลต่อการรัดเข็มขัดในการใช้จ่ายบริโภค และการลงทุนของประชาชน

จับสัญญาณกนง. ลุ้นเป้าดัชนีหุ้นไทย 

 

ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ ได้แบ่งการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตลอดทั้งปี เป็น 3 กรณีผนวกกับใช้ Market Earning Yield Gap ระดับ 4.2% และอิง Bond Yield 1 ปี และ EPS/66F ที่ระดับ 99.2 บาท/หุ้น จะได้ระดับ Target SET Index ณ สิ้นปี 2566 ที่ต่างกันออกไป ดังนี้

 

  • Worst Case หรือ ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.75% (ขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25%) ทำให้เป้าดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 1667 จุด
  •  Base Case หรือ ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.50% (ขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ครั้งละ0.25%) ทำให้Target SET Index อยู่ที่ระดับ 1740 จุด
  •  Best Case หรือ ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.25% (ไม่ขึ้นดอกเบี้ยเลยในปีนี้) ทำให้ Target SET Index อยู่ที่ระดับ 1820 จุด

 

จับสัญญาณดอกเบี้ย\"กนง.\" ลุ้นเป้าดัชนีหุ้นไทยทะลุ 1,800 จุด ?

ฝ่ายวิจัย ฯ ระบุอีกว่า สำหรับในมุมหุ้น แนวโน้มความเข้มข้นของการขึ้นดอกเบี้ยของกนง. ลดลง หลังจากปี 2565 ขึ้นดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้ง หรือ 0.75% มาอยู่ที่ 1.25% หนุนหุ้นกลุ่มลิสซิ่งเริ่มกลับมาน่าสนใจ หลังจากปี 2565 ดัชนีกลุ่มไฟแนนซ์ ย่อตัวลงมาลึกถึง 16.6% จน Valuation
ของหุ้นหลายๆ บริษัทเริ่มกลับมาน่าสะสม

แนะนำ THANI (คาดหวังปันผลสูงถึง 5%ต่อปี และจ่ายปีละครั้ง), SAWAD (มีโอกาสเข้าดัชนี SET50 รอบพิเศษ หลัง TRUE DTAC ควบรวม), MTC (ราคาหุ้นปี 2565 ย่อลึกถึง -35%)