เทศกาลปีใหม่ คึกคัก คาดเงินสะพัดแสนล้านในรอบ17ปี

22 ธ.ค. 2565 | 12:54 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ธ.ค. 2565 | 20:00 น.

เทศกาลปีใหม่ปี66 คึกคักเงินสะพัดแสนล้านในรอบ17ปี   ชี้มาตรการพยุงเศรษฐกิจ “ช้อปดีมีคืน” “เราเที่ยวด้วยกัน” คาดมีเม็ดเงินสะพัดเฉลี่ยกว่า 60,000 บาท

นายธนวรรธน์ พลวิชัย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ  เปิดเผย “พฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2566 และทัศนะต่อประเด็นต่างๆ” พบว่า การใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 คาดว่ามีเงินสะพัดอยู่ที่ 103,039 ล้านบาท ขยายตัว 20.1% ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 17 ปีนับตั้งแต่ปี 2550 เป็นครั้งแรกที่มีเงินสะพัดทะลุแสนล้านบาท

นายธนวรรธน์ พลวิชัย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ

 

นอกจากนี้ จะพบว่าประชาชนจะมีการจับจ่ายในช่วงเทศกาลอย่างคึกคักและเป็นกลับมาจับจ่ายที่มีความสุขในรอบ 3 ปีและจะส่งผลให้เศรษฐกิจมีความทะยานขึ้นอย่างสดใส

 

และประกอบกับมาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 1 ที่รัฐบาลออกมาเป็นของขวัญปีใหม่ อย่างช้อปดีมีคืน พร้อมกับเราเที่ยวด้วยกัน คาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินสะพัดเฉลี่ยกว่า 60,000 บาท จะส่งผลให้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 1 ขยายตัวเพิ่ม 0.1 ถึง 1% จะทำให้เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ขยายตัว 3.5%

ประชาชนส่วนใหญ่มองปีใหม่นี้คึกคัก

ด้านนางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาประจำของสภามหาวิทยาลัย กล่าวว่า  ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่สำรวจระหว่างวันที่ 9 - 16 ธันวาคม 2565 จำนวน 1,345 ตัวอย่างทั่วประเทศ  ประชาชนจะใช้จ่ายให้กับตัวเองและผู้อื่น 69.8% โดยการใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการสังสรรค์ จัดเลี้ยงไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ ทำบุญทางศาสนา และพบว่าจะมีการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้นและของขวัญที่นิยมซื้อในช่วงเต็มปีใหม่ ยังเป็นการซื้อกระเช้าของขวัญเครื่องดื่มบำรุงร่างกาย

 

นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาประจำของสภามหาวิทยาลัย

 

ขณะที่ การวางแผนออกนอกพื้นที่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ส่วนใหญ่จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดและภูมิภาคที่ไปเที่ยวมากสุด คือ ภาคเหนือ รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเวลาที่วางแผนไปเดินทางท่องเที่ยว จะอยู่ในช่วงวันที่ 29 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2566

ขณะที่ ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลต่อการใช้จ่ายในช่วงปีใหม่ 54.4% มีผล ส่วนการแพร่ระบาดของโควิด 80.4% ไม่มีผล ภาระหนี้สิน 55.6% มีผล สำหรับแหล่งที่มาของการใช้จ่าย 63.6% ยังมาจากเงินเดือนรายได้ตามปกติ   บรรยากาศในช่วงเทศกาลปีใหม่ 48.3% มองว่าคึกคักกว่าปีที่แล้วและการใช้จ่ายโดยรวมของประชาชนอยู่ที่ประมาณ 103,039 ล้านบาท