เปิดค่าจ้างขั้นต่ำ ชาติอาเซียน ทำงาน 8 ชั่วโมงเท่ากัน แต่เงินไม่เท่ากัน

07 ธ.ค. 2565 | 15:36 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ธ.ค. 2565 | 22:53 น.
17.1 k

เปิดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน เทียบเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ละชาติได้ค่าจ้างเท่าไหร่กันบ้าง ประเทศไทยจ่ายสูงกว่า เวียดนาม,กัมพูชา,ลาว,เมียนมา

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก จากหลากมุมมอง หลัง อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยประกาศนโยบาย เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ต่อวัน ปริญญาตรี 25,000 บาท ภายในปี พ.ศ.2570 ทีมข่าวฐานเศรษฐกิจจะพาไปเปิดอัตราค่าแรงขั้นต่ำของ 10 ประเทศอาเซียน หากทำงาน 8 ชั่วโมง ต่อวัน ประเทศไหนได้ค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่

 

เว็บไซด์ Rocket Media Lab ได้เปิดเผย ผลการสำรวจ ค่าแรงขั้นต่ำทั่วโลก 199 ประเทศและดินแดนพบว่า เฉพาะปี 2022 มีประเทศที่ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจำนวน 16 แห่ง ประเทศที่ขึ้นเฉพาะในปี 2021 จำนวน 32 ประเทศ และประเทศที่มีการขึ้นค่าแรงทั้งในปี 2021 และในปี 2022 จำนวน 45 แห่ง ซึ่งอัตราค่าแรงขั้นต่ำของชาติอาเซียน มีดังนี้

 

เปิดค่าแรงขั้นต่ำ ชาติอาเซียน

  1. บรูไน            1,754 บาท/วัน      (ปรับเมื่อ ม.ค. 2015)
  2. สิงคโปร์        1,430บาท/วัน      (ไม่ปรากฏการกำหนดขั้นต่ำ)
  3. อินโดนีเซีย    540บาท/วัน         (ปรับเมื่อ 1 ม.ค. 2022)
  4. มาเลเซีย       455บาท/วัน         (ปรับเมื่อ 1พ.ค.2022)
  5. ฟิลิปปินส์      349บาท/วัน         (ปรับเมื่อ 22 พ.ย.2018)
  6. ไทย              331บาท/วัน         (ปรับเมื่อ 1 ม.ค.. 2020)
  7. เวียดนาม      323บาท/วัน         (ปรับเมื่อ 1 ม.ค.2020)
  8. กัมพูชา         268บาท/วัน         (ปรับเมื่อ 1ม.ค.2022)
  9. ลาว              135บาท/วัน         (ปรับเมื่อ 1พ.ค.2018)
  10. เมียนมา        90บาท/วัน           (ปรับเมื่อ 15 พ.ค.2018)

*อ้างอิง : Rocket Media Lab โดยคำนวณเวลาทำงาน 8ชม./วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541

 

เปิดค่าแรงขั้นต่ำ ชาติอาเซียน

สำหรับประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ” หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้าง ตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน และ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล 4 คน ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละ 5 คน