ข้อควรรู้ ประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 ต่างกันอย่างไร ดูที่นี่

30 พ.ย. 2565 | 12:37 น.
อัปเดตล่าสุด :30 พ.ย. 2565 | 19:43 น.
583

ข้อควรรู้ "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 และม.40 แต่ละมาตราต่างกันอย่างไร และแต่ละมาตราคุ้มครองกรณีไหนบ้าง ดูที่นี่

"ประกันสังคม"ไขข้อสงสัย แต่ละมาตราต่างกันอย่างไร ม.33 ม.39 และม.40 มาดูกัน

 

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, ตาย, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และว่างงาน 


ข้อควรรู้ ประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 ต่างกันอย่างไร ดูที่นี่


 

กองทุนประกันสังคม มีการคุ้มครองผู้ประกันตนโดยแบ่ง 3 มาตราหลักๆ ได้แก่

 

มาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี

 

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 

2. กรณีคลอดบุตร

3. กรณีทุพพลภาพ

4. กรณีตาย

5. กรณีสงเคราะห์บุตร

6. กรณีชราภาพ 

7. กรณีว่างงาน

มาตรา 39  คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม 
 

โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี 

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 

2. กรณีคลอดบุตร

3. กรณีทุพพลภาพ

4. กรณีตาย

5. กรณีสงเคราะห์บุตร

6. กรณีชราภาพ 

 

มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี
 

1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 

2. กรณีทุพพลภาพ

3. กรณีตาย

4. กรณีสงเคราะห์บุตร

5. กรณีชราภาพ 

 

ผู้ประกันตนม​าตรา 33 ม​าตรา 39 และม​าตรา 40 ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบสมาชิกของผู้ประกันตน หรือผู้ที่เคยเป็นสมาชิกเว็ปไซต์แล้วสามารถเข้าระบบ เพื่อตรวจสอบสิทธิของตนเองได้เลย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office