“คมนาคม” สั่งการบ้าน กทพ. ดันเทคโนโลยีใหม่ แก้รถติดบนทางด่วน

25 พ.ย. 2565 | 16:15 น.
อัปเดตล่าสุด :25 พ.ย. 2565 | 23:19 น.

“คมนาคม” ถก กทพ.ดึงเทคโนโลยี-นวัตกรรม แก้ปัญหารถติดบนทางด่วนย่านกรุงเทพฯ-ปริมณฑล หลังพบผู้ใช้บริการแตะ 1.8 ล้านคันต่อวัน เล็งเปิดระบบ M-Flow ขยายต่อทางด่วนเพิ่ม 3 สาย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีงานวันคล้ายวันก่อตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 50 ปี แห่งผู้นำนวัตกรรมทางพิเศษ ว่า กระทรวงคมนาคมได้รับนโยบายให้ขับเคลื่อนเพื่อนำพาประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน โดยได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แก้ไขปัญหาการจราจรในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน โดยปัจจุบันมีรถจำนวนกว่า 1.8 ล้านคันต่อวัน ใช้บริการผ่านโครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้บริการรวม 225 กิโลเมตร 

“คมนาคม” สั่งการบ้าน กทพ. ดันเทคโนโลยีใหม่ แก้รถติดบนทางด่วน

“ได้มอบนโยบายให้ กทพ.สร้างความท้าทายในการทำงานโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ,การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน โดยนำไปสู่การปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพโดยเร็ว รวมทั้งการดำเนินโครงการต่าง ๆ ต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย โดยทำความเข้าใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการให้ชัดเจน เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นและดำเนินงานต่าง ๆ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ภายใต้ข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด”
 

ขณะเดียวกันกทพ.จะเปิดให้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow โดยบูรณาการร่วมกับกรมทางหลวงให้เป็นไปในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน จำนวน 3 ด่านแรกก่อน คือ ด่านจตุโชติ ด่านสุขาภิบาล 5-1 และด่านสุขาภิบาล 5-2 รวมถึงการขยายโครงข่ายทางพิเศษสายใหม่ คือ ทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ทางพิเศษสายฉลองรัช - นครนายก - สระบุรี รวมถึงโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งถือเป็นโครงการทางพิเศษสายแรกในภูมิภาค นับเป็นการเปิดมิติใหม่ในการแก้ไขปัญหาจราจรที่ไม่ยึดติดเฉพาะในเมืองหลวงและปริมณฑล 

“คมนาคม” สั่งการบ้าน กทพ. ดันเทคโนโลยีใหม่ แก้รถติดบนทางด่วน

ที่ผ่านมา กทพ. ได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาให้บริการประชาชน ไม่ว่าจะเป็นระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติด้วยบัตร Easy Pass การพัฒนาศูนย์ควบคุมระบบจราจรอัจฉริยะ (ITS Center) การพัฒนาระบบ e-Service การจัดตั้งศูนย์บริหารการจราจรทางพิเศษ (Expressway Traffic Management Center) 
 

นอกจากนี้ กทพ. ยังได้ดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ การมอบพื้นที่ใต้ทางพิเศษเพื่อสาธารณประโยชน์ การมอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนที่อยู่ในชุมชนและโรงเรียนรอบเขตทางพิเศษ ตลอดจนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดต่าง ๆ อีกด้วย

“คมนาคม” สั่งการบ้าน กทพ. ดันเทคโนโลยีใหม่ แก้รถติดบนทางด่วน
 
อย่างไรก็ตาม กทพ.ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการจัดตั้งกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เพื่อบอกเล่าประวัติของ กทพ. จากอดีตสู่อนาคต รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์แก่บุคคลภายนอกเกี่ยวกับการก่อสร้างและบริหารจัดการทางพิเศษ บอกเล่าเรื่องราวของ กทพ. ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ส่งผ่านเรื่องราวบนพื้นที่จัดแสดงจำนวน 4 โซน ซึ่งมีความประทับใจที่ซ่อนอยู่มากมาย เช่น การจำลองบรรยากาศบนยอดสะพานขึงของสะพานพระราม 9 และการเรียนรู้เบื้องหลังการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บนทางพิเศษ เป็นต้น