ชาวนาเช็คเลย “ประกันรายได้ข้าว” ปี 2565/66 ได้เงินงวดไหน

18 พ.ย. 2565 | 11:44 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ย. 2565 | 19:52 น.
16.5 k

เปิดไทม์ไลน์ “ประกันรายได้ข้าว” ปี 2565/66 ชาวนา สามารถตรวจสอบง่ายๆ ด้วยตัวเองได้แล้ววันนี้ ชดเชยราคาข้าว 5 ชนิด จะได้เงินรอบไหน 33 งวด เช็คได้เลย

ความคืบหน้า “โครงการประกันรายได้ข้าว"  เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ โครงการประกันรายได้ข้าว ปี 4 ฤดูกาล 2565/2566 และ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ละ 1,000 บาท หรือ เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่  วงเงินรวมประมาณ 81,200 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

 

1. เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน

 

2. เพื่อลดภาระค่ใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ

 

 

3. เพื่อให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันทางการค้าได้

 

 

 

ชนิดข้าวและพื้นที่ดำเนินการ

 

ประกันรายได้ข้าวเปลือกหอมมะลิข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกเหนียว ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ

 

 

 

5 ชนิดข้าว ในโครงการประกันรายได้ข้าว ปี 4

 

ยกเว้นพันธุ์ข้าวที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ จำนวน 18  พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์75  พันธุ์ซี –75 พันธุ์ราชินี พันธุ์พวงทอง พันธุ์พวงเงิน พันธุ์พวงเงินพวงทอง พันธุ์พวงแก้ว พันธุ์ขาวปทุม พันธุ์สามพราน 1 พันธุ์ 039 (อีกชื่อหนึ่งว่าพันธุ์เจ้าพระยา และพันธุ์ PSLC02001- 240) พันธุ์โพธิ์ทอง พันธุ์ขาวคลองหลวง พันธุ์มาเลเซีย พันธุ์เตี้ยมาเล พันธุ์ขาวมาเล พันธุ์มาเลแดง พันธุ์เบตง และพันธุ์อีเล็ป รวมทั้งสายพันธุ์อื่นซึ่งพบว่ามีคุณลักษณะเช่นเดียวกับข้าวอายุสั้นที่ระบุนี้

 

 

ระยะเวลาดำเนินการ

 

การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66  (รอบที่ 1) ต้องเป็นเกษตรกรที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1  เมษายน – 31  ตุลาคม 2565 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16  มิถุนายน  2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2565

 

 

การใช้สิทธิประกันรายได้ เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวซึ่งเกษตรกรระบุในคำร้องแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งนี้ ที่นาแต่ละแปลงสามารถรับสิทธิประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66  รอบที่ 1 ได้แปลงละ 1  ครั้ง เท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นการจ่ายเงินซ้ำซ้อน

 

 

ทั้งนี้ในการการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง โครงการประกันรายได้กษตรกรผู้ปลูกข้าวประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุก 7 วัน (ทุกวันศุกร์) สำหรับงวดที่ 1 สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2565  และประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงงวดสุดท้าย วันที่ 26  พฤษภาคม 2566  สำหรับเกษตรกรที่ระบุวันที่คาดว่าเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.-31 ก.ค. 2566 ธ.ก.ส.จ่ายเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงภายใน 3 วันทำการ

 

 

ชาวนา สามารถเช็คได้ว่าจะได้เงินงวดไหน ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2565/66 จำนวน 33 งวด 

 

 

 

เช็คด้วยตนเอง ชาวนาจะได้งวดไหน

 

ช่องทางเช็คเงินประกันรายได้ข้าว ปี 4 

แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง

กรณีสมัครใช้บริการ BAAC Connect จะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family

ผ่านเว็บไซต์ https://chongkho.inbaac.com เช็คสถานะคลิกที่นี่

 

เช็คเงินประกันรายได้ข้าว ปี 4

สำนักงานเกษตรจังหวัด/ธ.ก.ส. จังหวัด เริ่มให้ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหรือชาวนาให้เข้าถึงโครงการมากที่สุด

 

เริ่มจาก สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี  การดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2565/66 เพื่อให้ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2565/66  มีความถูกต้อง พร้อมสนับสนุนโครงการภาครัฐต่างๆ ในอนาคต โดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตรวจสอบ แก้ไข หรือวาดแปลงเพื่อตรวจสอบรอบการเพาะปลูกเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จ สิ่งที่ต้องตรวจสอบมีดังนี้

 

ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข้าวนาปี ปีการผลิต 2565/66 ก่อนเข้าร่วมโครงการภาครัฐ โดยให้ดำเนินการดังนี้

 

1. มีแปลงอื่นที่ใช้เลขเอกสารสิทธิ์ น.ส. 4  ฉบับนี้ แต่เนื้อที่เต็มเอกสารสิทธิ์ไม่เท่ากัน ให้ตรวจสอบเนื้อที่เต็ม

 

2. ข้าวหอมมะลิทุกประเภท ต้องเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ 15  ตุลาคม 2565  เป็นต้นไป

 

 

3. ข้าวหอมมะลิในพื้นที่ ต้องเก็บเกี่ยว ภายในวันที่ 31  มกราคม 2566  อนุโลมให้วันปลูก ไม่เกิน 120 วัน

 

 

5. ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ต้องเก็บเกี่ยว ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 

 

6. อายุข้าวต้องไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน หรือมากกว่า ๒๔๐ วัน

 

7. เอกสารสิทธิ์ฉบับนี้ปลูกมากกว่า ๑ แปลง วันปลูก - เก็บเกี่ยวซ้อนกัน และรวมเนื้อที่ปลูกเกินเนื้อที่เอกสารสิทธิ์

 

8. พิกัดตกนอกตำบล เกิน 5  กิโลเมตร ให้แก้ไขพิกัด หรือวาดแปลงที่เว็บไซต์ ระบบวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล

 

9. พิกัดอยู่ใกล้กับแปลงข้าวอื่น ในระยะไม่เกิน 8  เมตร ให้วาดแปลงที่เว็บไซต์ ระบบวาดแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล

 

 

10 . พิกัดซ้ำกับแปลงอื่น ให้วาดแปลงที่เว็บไซต์ ระบบวาดแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล

 

11. บันทึกคำนำหน้าชื่อ ชื่อ-สกุล หรือที่อยู่เกษตรกรไม่ครบ

 

12. ตรวจสอบเนื้อที่ปลูกเกินเนื้อที่เอกสารสิทธิ์

 

 

13. แปลงที่มีเอกสารสิทธิ์ แต่ไม่ได้ใส่หมายเลขเอกสารสิทธิ์

 

14. หัวหน้าครัวเรือนไม่ใช่คนไทย

 

15. ตรวจสอบเลขบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ครบ 13 หลัก

 

16. เนื้อที่ o  ไร่

 

17. บันทึกกิจกรรมปี 2565  อยู่ในแปลงปี 2564 ให้แก้ไขโดยการบันทึกกิจกรรมปีให้ถูกต้อง หากบันทึกใหม่แล้ว ให้ลบกิจกรรมที่บันทึกผิดออก

 

18. ไม่ได้ระบุประเภทเอกสารสิทธิ์

 

อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลของตนเองผ่านแอปฟาร์มบุค (คลิกที่นี่) สมุดทะเบียนเกษตรกร เข้าการใช้งานโดยใช้รหัสทะเบียนเกษตรกร 12 หลัก ข้อมูลสถานะ ที่มีการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ครบถ้วนสมบูรณ์ ระบบจะแสดงสถานะว่า "ผ่าน" หรือหากสงสัยติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำภอ ที่ท่านเกษตรกร ได้ขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรไว้ 

 

ตรวจสอบสถานะเกษตรกร

 

 

สำนักงานเกษตรอำเภอท่าตะโก   แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการช่วยเหลือเกษตรกรในปี 2565 วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

 

1. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66

 

หัวข้อ รายละเอียด 

เป้าหมาย ประกันรายได้ข้าวเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือกข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกปทุมธานี ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน

 

ราคาและปริมาณประกันรายได้ กำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ณ ราคาความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 โดยชดเชยเป็นจำนวนตัน ในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้

 

- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันรายได้ 15,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน

 

- ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันรายได้ 14,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

 

- ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคาประกันรายได้ 11,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน

 

- ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันรายได้ 10,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน

 

- ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันรายได้ 12,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน 

 

เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย

 

-เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2565/66 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2565 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 โดยกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตามประกาศของ กษ.

 

- ที่นาแปลงใดแปลงหนึ่งสามารถรับสิทธิประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 ได้แปลงละ 1 ครั้ง เท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นการจ่ายเงินซ้ำซ้อนการคำนวณปริมาณผลผลิต การคำนวณปริมาณผลผลิตของเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิในการชดเชย ให้ใช้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

 

การกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิ'กำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – พฤษภาคม 2566 โดยจะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกวันศุกร์ งวดแรกเริ่มวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565 และงวดสุดท้ายจะประกาศวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2566 สำหรับเกษตรกรที่ระบุวันที่คาดว่า จะเก็บเกี่ยวจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 การจ่ายเงิน ธ.ก.ส. จ่ายเงินชดเชยเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง

 

2. มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 จำนวนทั้งสิ้น 3 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 81,612.69 ล้านบาท จำแนกเป็นวงเงินสินเชื่อ 73,590 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 8,022.69 ล้านบาท ดังนี้

 

2.1 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 (โดย ธ.ก.ส.)

หัวข้อ รายละเอียด

 

วิธีการ ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อตามโครงการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตร 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก

 

จำนำยุ้งฉางก ปี 2565/66

 

ค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือก กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตันข้าวเปลือก โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองได้รับเต็มจำนวน สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการฯ ได้รับอัตรา 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก และเกษตรกรผู้ขายข้าวได้รับในอัตรา 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก

 

การระบายข้าวเปลือก กรณีที่มีการระบายข้าวเปลือกให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายค่าขนย้ายข้าวเปลือกที่ ธ.ก.ส. ตามวงเงินที่สำรองจ่ายและชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส.ระยะเวลาดำเนินการ - ระยะเวลาจัดทำสัญญา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 (ภายใต้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566)

 

- ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 5 เดือนนับถัดจากเดือนรับเงินกู้และเมื่อกำหนดชำระคืน หากราคาตลาดต่ำกว่าวงเงินสินเชื่อต่อตันสามารถขยายเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 คราว คราวละ 1 เดือน ภายในระยะเวลาโครงการฯ

 

- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 ธันวาคม 2566

 

โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66 (โดย ธ.ก.ส.)

 

หัวข้อ รายละเอียด

วิธีการ สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท คิดเป็นข้าวเปลือก 1 ล้านตันข้าวเปลือก และจำนวนสินเชื่อคงเหลือภายในระยะเวลาโครงการฯ ไม่เกินวงเงินสินเชื่อเป้าหมาย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR ร้อยละ 4.875 ต่อปี) โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 3 ต่อปี

 

ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 ธันวาคม 2566

 

2.3 โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 (โดยกรมการค้าภายใน)

 

หัวข้อ รายละเอียด

 

วิธีการ เพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการให้เก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมายดูดซับ 4 ล้านตันข้าวเปลือก เก็บสต็อกไว้อย่างน้อย 60 – 180 วัน (2 – 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3

 

ระยะเวลาดำเนินการ - ระยะเวลาการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 – 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2566)

 

- ระยะเวลาการเก็บสต็อกข้าว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 – 31 ธันวาคม 2566

 

- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 ตุลาคม 2567

 

3. โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66

 

หัวข้อ รายละเอียด

กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ

 

วิธีการ กรมส่งเสริมการเกษตร นำข้อมูลรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ปี 2565 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ส่งให้ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่เพื่อดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท

 

ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566

 

5. คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ได้รับทราบผลการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 และให้ พณ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในคราวนี้ด้วยแล้ว

 

 

 

 

ธ.ก.ส. สาขาตระการพืชผล

ชาวนาเช็คเลย “ประกันรายได้ข้าว” ปี 2565/66  ได้เงินงวดไหน

 

 

กรมการค้าภายใน  เปิดมาตรการช่วยชาวนา ปี 2565/66