ประกันสังคม สิทธิประโยชน์"เงินชราภาพ" ผู้ประกันตน ม.33 เช็คที่นี่

03 พ.ย. 2565 | 17:00 น.
อัปเดตล่าสุด :03 พ.ย. 2565 | 23:50 น.

ประกันสังคม สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33 รับเงินชราภาพอย่างไรบ้าง ใครได้รับบำเหน็จ ใครได้รับบำนาญ มีเงื่อนไขอย่างไร ดูคำตอบได้ที่นี่

"ประกันสังคม" สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน รับเงินชราภาพอย่างไร หลัง ครม..มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 65  ที่ผ่านมา

 

ดูรายละเอียด ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (คลิกที่นี่)

 

 

 

 

ต่อประเด็นนี้ นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และโฆษกสำนักงานประกันสังคม เคลียร์ชัดกับประเด็นปลดล็อค พ.ร.บ. ประกันสังคม 3 ขอ  ขอเลือก  ขอคืน ขอกู้ ทางรายการ "ครอบครัวประกันสังคม" เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 หลังครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 65 ว่า ประเด็น 3 ขอ "ขอเลือก-ขอคืน-ขอกู้"

 

ขอเลือก ผู้ประกันตนสามารถที่ะเลือกบำเหน็จ หรือบำนาญชราภาพได้ เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีทางเลือกเพิ่มขึ้น กฏหมายฉบับเดิมบอกว่า ใครส่งเงินครบ 180 เดือน อายุครบ 55 ปี ออกจากงาน รับบำนาญชราภาพ แต่ถ้าใครส่งไม่ครบ 180 เดือน อายุ 55 ปี แล้วออกจากงาน รับบำเหน็จเงินก้อน เรียกว่า บำเหน็จชราภาพ เพราะฉะนั้น ถ้าใครส่งครบ 180 เดือน ถ้ากฏหมายฉบับใหม่ออก สามารถเลือกได้เลยว่า จะรับบำเหน็จชราภาพ หรือบำนาญชราภาพ

 

 

"จริงๆแล้ว เรามีการรับประกันการรับบำนาญชราภาพ 60 เดือน ปกติถ้ารับบำนาญชราภาพ ถ้าเสียชีวิตในเดือนที่ 1 หรือเดือนที่ 2 ทายาทจะได้รับอีก 58 เดือน นั่นคือ การประกันบำนาญชราภาพ ซึ่งอาจจะเลือกรับช่องทางนี้ก็ได้ คือ เลือก 60 เดือนก่อน พอเดือนที่ 61 ก็มารับบำนาญ รับเงินก้อนก่อน 60 เดือน สมมติได้บำนาญเดือนละ 5,000 บาท 60 เดือน เท่ากับ 300,000 บาท พอเดือนที่ 61 ถ้าท่านยังไม่ได้เสียชีวิต ท่านก็มารับบำนาญต่อได้ อันนี้มีทางเลือกให้"

 

ขอคืน มีประเด็นปัญหาว่า ต้องเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ทำให้การดำรงชีวิตของผู้ประกันตนไม่ปกติ หรือเกิดอุทุกภัย วาตภัย เกิดโรคระบาด เราจะให้คืนบางส่วน แต่กฏหมายใหญ่เขียนว่า การขอคืน แต่รายละเอียดของกฏหมายรอง ต้องเขียนสนับสนุนกฏหมายใหญ่ว่า ให้คืนอย่างไร ให้คืนกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องส่งเงินสมทบมาแล้วกี่เดือน ซึ่งกฏหมายรองจะออกมาอีกครั้งหนึ่ง

 

ขอกู้ สำนักงานประกันสังคม ไม่มีภารกิจในการให้การกู้เงินกับผู้ประกันตน แต่จะทำ  MOU กับธนาคาร จะดูว่าธนาคารไหนคิดดอกเบี้ยน้อยที่สุด ก็จะมาทำ MOU เพื่อให้ผู้ประกันตนไปยื่นกู้ที่ธนาคารแห่งนั้น โดยที่ประกันสังคมจะออกหนังสือรับรองให้ว่า ผู้ประกันตนรายนี้มีสิทธิรับบำนาญชราภาพ เป็นการรับรองให้ ค้ำประกันให้ สำนักงานประกันสังคมไม่ได้เอาเงินไปให้ผู้ประกันตนกู้


สามาถยื่นเรื่องได้เลยหรือไม่

 

กฏหมายยังไม่มีผลบังคับใช้ ตอนนี้อยู่ที่กฤษฎีกา ถ้าเป็นไปตามขั้นตอนที่วางไว้ จะประมาณปีหน้า(2566) ถ้ามีประเด็นข้อขัดข้อง ก็อาจจะเลื่อนไปได้ ตอนนี้บอกได้แต่ว่า ขั้นตอนอยู่ที่กฤษฎีกา

 

 

อย่างไรก็ตาม ระหว่างรอการประกาศใช้ ผู้ประกันตน ม.33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ยื่นเรื่องขอรับเงินกรณีชราภาพ รับเงินผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน แยกเป็นดังนี้

 

  • ผู้ประกันตนชำระเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต 

 

  • ชำระเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ รับเป็นเงินก้อนครั้งเดียว 

 

ประกันสังคม สิทธิประโยชน์\"เงินชราภาพ\" ผู้ประกันตน ม.33 เช็คที่นี่

 

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่มีอายุเกิน 55 ปี ซึ่งยังคงมีนายจ้าง ที่ยังคงจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน 

 

ดาวน์โหลดแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) ได้ที่ www.sso.go.th หรือ คลิกที่นี่

 

ประกันสังคม สิทธิประโยชน์\"เงินชราภาพ\" ผู้ประกันตน ม.33 เช็คที่นี่

 

สำนักงานประกันสังคม เพิ่มช่องทางการรับเงินประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ ผ่านพร้อมเพย์ 

 

  • ลงทะเบียนพร้อมเพย์กับธนาคารที่เปิดบัญชีเงินฝาก ด้วย บัตรประจำตัวประชาชน + สมุดบัญชี เท่านั้น
  • ไม่ต้องยื่นสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากธนาคารกับสำนักงานประกันสังคมในการขอรับประโยชน์ทดแทน
  • ไม่เสียค่าธรรมเนียมการรับเงินผ่านธนาคาร
  • กรณีรับเงินบำนาญชราภาพครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท

 

หากต้องการยื่นเรื่องหรือแจ้งเปลี่ยนวิธีรับเงินผ่านพร้อมเพย์ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา

 

*ช่องทางกาารรับงินทดแทนผ่านพร้อมเพย์ ได้เฉพาะ ม.33 และ ม.39

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านสายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office