“อัครเดช”แนะ สอน.เป็นกาวใจ ดึง รง.-ชาวไร่แบ่งปันผลประโยชน์ “กากอ้อย” win win

19 ต.ค. 2565 | 16:30 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ต.ค. 2565 | 00:01 น.
727

“อัครเดช” รองประธานพิจารณากฎหมายอ้อยฯ ฉบับใหม่ ชี้เป้าหมายตอบโจทย์บราซิลฟ้องไทยอุดหนุนน้ำตาล พร้อมแก้ไขคำนิยม นำกากอ้อยบวกเพิ่มเงินให้ชาวไร่ ตามสภาพเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีการผลิตที่เปลี่ยนไป แนะ สอน.เป็นกาวใจ ดึง รง.-ชาวไร่หารือรายละเอียดแบ่งผลประโยชน์ หวัง win win

ในการสัมมนาออนไลน์ THE BIG ISSUE 2022 น้ำตาลขม มรสุม WTO กฎหมายใหม่ จัดโดยฐานเศรษฐกิจ (19 ต.ค. 2565)

นายอัครเอช  วงษ์พิทักษ์โรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.)พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)อ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ .. พ.ศ. .... กล่าวในการบรรยายพิเศษ เรื่อง "อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลหลัง พ.ร.บ.ใหม่" ว่า ร่างพ.ร.บ.อ้อยฯฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เวลานี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการนำทูลเกล้าฯเพื่อลงพระปรมาภิไธย ก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ต่อไป

 

สำหรับพ.ร.บ.ฉบับนี้ ทางคณะรัฐมนตรี(ครม.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยฯ ได้ร่วมกันเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527  ที่เป็นกฎหมายฉบับเดิมที่ใช้มานานเกือบ 40 ปีแล้ว มีเป้าหมายเพื่อตอบโจทย์บราซิลที่ฟ้องไทยต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ให้รัฐบาลเลิกแซงแทรกหรืออุดหนุนน้ำตาลในการส่งออก และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัย และให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในการผลิตอ้อยในปัจจุบัน

“อัครเดช”แนะ สอน.เป็นกาวใจ ดึง รง.-ชาวไร่แบ่งปันผลประโยชน์ “กากอ้อย” win win

 

“ถามว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสียและมีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาครบถ้วนหรือไม่ ในการตรากฎหมายฉบับนี้ในส่วนของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ที่เสนอร่างกฎหมายก็เข้ามานั่งในส่วนของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายฉบับนี้ รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งในส่วนของรัฐบาล และในส่วนของฝ่ายค้าน ตัวแทนจากสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยที่เข้ามานั่งในส่วนนี้ด้วย ซึ่งชาวไร่อ้อยได้เข้ามานั่งในสัดส่วนของกรรมาธิการในส่วนของเจ้าของ หรือผู้ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติอ้อยฯในฉบับแก้ไขนี้”

 

ขณะในส่วนของโรงงานน้ำตาลทางประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.อ้อยฯ (นายสรวุฒิ  เนื่องจำนงค์) ได้เชิญทางโรงงานเข้ามานั่งในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ. รวมถึงได้แต่งตั้งเข้าไปนั่งในชุดของอนุกรรมาธิการในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายฉบับนี้ด้วย ถือว่าการที่ได้ออกกฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ชาวไร่อ้อย และส่วนที่ 3 คือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรากฎหมายฉบับนี้ และ 3 ส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่สำคัญในองค์ประกอบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หรือ กอน.อยู่แล้ว

 

“อัครเดช”แนะ สอน.เป็นกาวใจ ดึง รง.-ชาวไร่แบ่งปันผลประโยชน์ “กากอ้อย” win win

 

อย่างไรก็ดีจากร่าง พ.ร.บ.นี้ได้นำสู่ความขัดแย้ง จากที่โรงงานน้ำตาล ไม่ยอมรับการกำหนดคำว่า "กากอ้อย"ในนิยาม "ผลพลอยได้" ต้องนำมาแบ่งปันผลประโยชน์ในระบบด้วย(จาก พ.ร.บ.ฉบับเดิมกากอ้อยรวมอยู่ในน้ำหนักอ้อยที่โรงงานรับซื้อและนำมาคำนวณในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานแล้ว) โดยโรงงานน้ำตาลระบุไม่ได้มีส่วนร่วมในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ตั้งแต่แรก นำมาซึ่งความไม่พอใจและทยอยลาออกจากคณะกรรมการ 5 คณะตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ส่งผลให้ระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยสะดุดเวลานี้

 

ในเรื่องนี้จะมีทางออกย่างไร นายอัครราชเดช กล่าวว่า จากที่เวลานี้ พ.ร.บ.อ้อยฉบับนี้ได้ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติไปแล้ว และอยู่ในช่วงการเตรียมประกาศบังคับใช้ ดังนั้นในส่วนนี้  มองว่าภาครัฐต้องไปทำความเข้าใจกับทางโรงงาน และชาวไร่อ้อยโดยต้องประชุมหารือกันว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายนี้อย่างไร เพื่อให้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ หรือโรงงานสามารถที่จะขับเคลื่อนและร่วมมือกันต่อไปได้

 

“การลาออกของฝ่ายโรงงานจากกรรมการทั้ง 5 คณะ ไม่ว่าจะเป็นของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) คณะกรรมการกองทุน คณะกรรมการอ้อย คณะกรรมการน้ำตาลทราย ตรงนี้ถือว่ามีผลกระทบ แต่ผมคิดว่าทุกภาคส่วนโดยเฉพาะในส่วนของ สอน.(สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) ที่เป็นตัวแทนของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นตัวแทนของของรัฐบาลต้องไปแก้ปัญหาตรงนี้ และไปทำความเข้าใจในรายละเอียด เพราะกฎหมายที่เรามีการแก้ไขก็คือการแก้ไขคำนิยามขอคำว่า “ผลพลอยได้” ซึ่งมีผลกระทบและคิดว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทางโรงงานอุตสาหกรรมอาจจะเกิดความไม่เข้าใจ และเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่จะต้องนำมาแบ่งปันกัน”

 

“อัครเดช”แนะ สอน.เป็นกาวใจ ดึง รง.-ชาวไร่แบ่งปันผลประโยชน์ “กากอ้อย” win win

 

โดยในส่วนนี้ภาครัฐ ชาวไร่ และโรงงานจะต้องมาหารือกันว่าจะต้องแบ่งปันกันอย่างไร ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพราะในกฎหมายไม่ได้ระบุรายละเอียดไว้ แต่ระบุไว้ว่าการแก้ไขคำนิยามของ “ผลพลอยได้” ให้รวมถึงไม่ใช่เฉพาะกากน้ำตาลอย่างเดียว แต่ให้รวมถึงกากอ้อย รวมถึงส่วนที่ตกตะกอนจากหม้อกรองด้วยที่ต้องนำเอามาคำนวณแบ่งปันผลประโยชน์ด้วย

 

ส่วนในเรื่องบราซิลร้องเรียน WTO  เรื่องการอุดหนุนน้ำตาลของไทย จากที่ได้มีโอกาสคุยกับทางสมาพันธ์ชาวไร่อ้อย ผู้ที่มีความรู้ทางด้านนี้ รวมถึงในส่วนของภาครัฐในระหว่างที่มีการตรากฎหมาย ซึ่งจริง ๆ แล้วประเด็นที่บราซิลร้อง ปัจจุบันนี้ก็ผ่อนคลายไประดับหนึ่งแล้ว เพราะทางส่วนที่เกี่ยวข้องอย่าง สอน.เอง หรือ กอน.เองก็มีการแก้ไขกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่บราซิลได้ร้องไปมากแล้ว