“ซับเวย์” เปิดเกมชิง Top 3 ตลาด QSR รายได้9,000 ล้านบาท

19 ก.ค. 2565 | 09:01 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ค. 2565 | 16:53 น.
697

“ซับเวย์” เปิดเกมบุกตลาด QSR วางตำแหน่งทางเลือกสุขภาพ พร้อมชิงTop 3 ของตลาดควบคู่กับการขยายสาขาต่อเนื่องครบ 1000 สาขา หนุนเป้ารายได้ 9000 ล้านบาทภายใน 10ปี พร้อมดั๊มราคาต่ำกว่า 60 บาทขยายฐานลูกค้า ประเดิมอาหารเช้าเริ่มต้น 59 บาท เปิดช่องขยายไดรฟ์ทรู

อะเบาท์ แพสชั่น คว้าสิทธิ์Master Franchise “ซับเวย์” ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว พร้อมเปิดเกมบุกชิงตำแหน่ง TOP 3ตลาด QSR ภายใน 3 ปี ขยายสาขาแตะ1000 สาขาปักหลักยึดทำเลสถานีบริการน้ำมัน ควบคู่ปั้นรายได้  9,000 ล้านบาท ใน10 ปีข้างหน้า

นางสาวเพชรัตน์ อุทัยสาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด

นางสาวเพชรัตน์ อุทัยสาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า “ซับเวย์” อยู่ภายใต้การบริหารของอะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป ซึ่งได้สิทธิ์ Master Franchise ขยายสาขาแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยอะเบาท์ แพสชั่น ตั้งเป้าดัน“ซับเวย์” ให้เป็น Top3 ตลาด QSRทั้งในแง่ของจำนวนสาขาและvalue ภายใน 3 ปี จากปัจุบันแวรูลของแบรนด์ในประเทศไทย อยู่ที่อันดับ 4  

 

ขณะที่แบรนด์แวรูลทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ1.3หมื่นล้านบาทจาก 40,000 สาขาทั่วโลก ในส่วนธุรกิจQSR ในเมืองไทยมีมูลค่าประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาทในปี 2019 และเติบโตขึ้นไป 2% กว่าในปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะมีโควิดก็ตาม และในโพชิชั่นนิ่งของแบรนด์“ซับเวย์” ถือเป็นแบรนด์เดียวในตลาด QSR  ที่อยู่ใน segment ของ healthy ไม่ใช่Junk Food 

6 เมนูยอดฮิต ขายดีที่สุดของซับเวย์

“ตอนนี้เราทำได้ดีมากในช่วง 3 ปีหลัง“ซับเวย์”เติบโต 2-3 ดิจิดซึ่งวันนี้เรามีจำนวนร้านอยู่ 142 สาขา  และจะมีสาขาประมาณ 1000สาขา และมีรายได้  9,000 ล้านบาทในอีก 10 ปีข้างหน้า  โดยเราจะเปิดสาขาปีละประมาณ 70 - 80 สาขาต่อปี

 

สิ่งที่ทำให้เราโตคือเราไปถูกช่อง เราเข้าขยายในปั๊มน้ำมันทำให้ไม่โดนโควิดเล่นงาน และเป็นกระแสที่ทำให้หลายๆแบรนด์ตามเข้ามาอยู่ในปั๊มน้ำมัน จุดที่ 2 คือซีรี่ย์เกาหลีก็ช่วยเราโปรโมททำให้คนเห็นแบรนด์มากขึ้น นอกจากนี้เราขายเดลิเวอรี่ค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นเราจะมองว่าเราจะต้องมี mobile application ซึ่งเรากำลังพัฒนาอยู่เราคิดว่าเราสามารถที่จะล๊อนได้ในปีนี้”

Subway

นอกจากการขยายสาขาในปั้มน้ำมันแล้ว “ซับเวย์”เพิ่มช่องทางในกลุ่ม Discount Store และ Drive Thru ขยายสาขาจากเดิมในกรุงเทพและปริมณฑล ไปยังหัวเมืองใหญ่เพิ่มมากขึ้น เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น นครราชสีมา  โดยเน้นการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่าน Digital Platform Social Media ต่างๆ ที่นิยม เพื่อให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าของซับเวย์ รวมทั้งจัดทำ CRM Membership Program เพื่อขยายฐานและรักษากลุ่มลูกค้า

 

ควบคู่ไปกับการนำเสนอโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้บรโภคให้เกิดการทดลองสินค้า ให้เป็นที่น่าสนใจ พร้อมทั้งขยายฐานกลุ่มลูกค้าสำหรับผู้ที่ชื่นชอบเมนูอาหารเช้า โดยเมนูอาหารเช้า ผ่านยกลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้คอนเซปต์ “Eat Fresh” และ Brand Promise , Good Food Good For You Good For Your Wallet 

Subway

 

“เมื่อก่อนเราเน้นขายแบบ a la cart เป็นชิ้นเดียว แต่ เมื่อเร็วๆนี้เราได้ปรับรูปการขายเพิ่มเซ็ตเมนู แซนวิชซับเวย์ เครื่องดื่มและคุ้กกี้ ซึ่งราคาคุ้มค่ากว่าซื้อเดี่ยว และที่สำคัญช่วง breakfast เราลดราคาแซนวิชเริ่มต้น 59 บาททำให้เรามีสัดส่วนของอาหารเช้ามากกว่า 20% และในอนาคตเราตั้งเป้าที่จะเป็น first choice ของอาหารเช้า นอกจากนี้เรามีร้านที่เปิด 24 ชั่วโมงอีกหลายสาขา  

 

ในส่วนของการตลาดเราจะเน้นในช่องทางของออนไลน์และดิจิทัลเนื่องจากเรายังมีสาขาน้อยและอยู่เฉพาะกรุงเทพฯ ทำยังไงก็ได้ให้คนรู้จัก subway มากขึ้น

Subway

อย่างไรก็ตามแม้ว่าโควิดจะทำให้คนมองหาทางเลือกสุขภาพมากขึ้น แต่ปัจจัยแวดล้อมอื่นโดยเฉพาะ เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ค่าเงินอ่อนค่า ทำให้เราเจ็บหนักจาก ต้นทุนที่ขึ้นสูง เพราะวัตถุดิบหลายตัวของเรานำเข้าเช่นแป้งโดว์ สเต็ก ชีส แต่เรากัดฟันอยู่ และพยายามที่จะลดการนำเข้า โดยสเกลบิสิเนสขึ้นเพื่อให้มีจำนวนสาขามากพอที่จะขอใช้วัตถุดิบในประเทศไทยได้”