CPF ยก Future Food โมเดลกรุยทางสู่ Food Tech Company แถวหน้าของโลก

18 ก.ค. 2565 | 19:12 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ค. 2565 | 02:35 น.

ซีพีเอฟ เกาะเทรนด์อาหารแห่งอนาคต ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนานวัตกรรมอาหารรูปใหม่ ในราคาเข้าถึงได้ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ใช้สารเคมี เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อก้าวสู่การเป็น Food Tech Company แถวหน้าของโลก

เทรนด์อาหารแห่งอนาคต (Future Food) กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อระบบการผลิตและการบริโภคอาหารที่ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก ที่คาดว่าจะแตะ 10,000 ล้านคนในอีก 30 ปีข้างหน้า

 

อย่างไรก็ตามการผลิตอาหารให้เพียงพอ มีข้อจำกัดด้านความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติลดลง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงสถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ยังต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภค ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว อาหารมีคุณค่าโภชนาการสูง ดีต่อสุขภาพ และขั้นตอนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ดร.ลลานา ธีระนุสรณ์กิจ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านนวัตกรรมอาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ กล่าวว่า ซีพีเอฟ มีวิสัยทัศน์ก้าวเป็น “ครัวของโลก”  CPF ชูศักยภาพของศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร CPF RD Center ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงในการพัฒนา Future Food

ดร.ลลานา ธีระนุสรณ์กิจ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านนวัตกรรมอาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

เพื่อผลิตจากวัตถุดิบหรือส่วนผสมรูปแบบใหม่ ที่มีรสชาติอร่อย คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น ให้ผู้บริโภคมีสุขภาพดีขึ้น ในราคาเข้าถึงได้ คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ใช้สารเคมี เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

“เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ (ออร์แกนิค) และมีคุณค่าทางอาหาร เช่น ไฟเบอร์สูง ไขมันต่ำ ลดการใช้น้ำตาล รวมถึงนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสุขภาพ และการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังต้องลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพของคนทั่วโลก สอดคล้องกับแนวทางขององค์การสหประชาชาติ” 

 

ทั้งนี้ ซีพีเอฟได้วิจัยและใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ดีและยั่งยืน อาทิ เนื้อไก่เบญจา (Benja Chicken) และหมูชีวา ที่เลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ด้วย Superfood และวัตถุดิบที่เป็นแหล่งของโอเมก้า-3 เช่น เมล็ดแฟลกซ์ (flaxseed) ในฟาร์มระบบปิด ทำให้เนื้อสัตว์มีคุณภาพที่ดี อีกทั้งยังมีปริมาณโอเมก้า-3 สะสมมากกว่าเนื้อสัตว์ทั่วๆไป ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ 100% ตลอดการเลี้ยงดู

 

บริษัทฯ ยังตอบรับเทรนด์การบริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น โดยพัฒนานวัตกรรม ‘PLANT-TEC’ ทำให้ได้เนื้อทางเลือกที่มีความเหมือนเนื้อสัตว์จริง ทั้งลักษณะชิ้นเนื้อ รสชาติ กลิ่นและเนื้อสัมผัส ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช แบรนด์ Meat Zero ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคคนไทยและต่างประเทศแล้ว ยังเดินหน้าพัฒนา โปรตีนทางเลือก อย่างต่อเนื่อง

 

รวมทั้งร่วมมือกับบริษัทชั้นนำ และStartup ระดับโลก โดยในปีที่ผ่านมา ได้จับมือร่วมกับ Future Meat ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอิสราเอล ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนา Hybrid Cultured Meat ที่ผสมผสานระหว่างเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจากเซลล์เนื้อเยื่อ (Cultured Meat) และเนื้อจากพืช (Plant Based Meat) และได้จับมือร่วมกับ Lypid สตาร์ทอัพเจ้าของเทคโนโลยี “ไขมันจากพืช” (vegan fat) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชมีรสชาติเหมือนกับเนื้อสัตว์จริงมากยิ่งขึ้น

 

นอกจากนี้ ซีพีเอฟได้พัฒนาเครื่องดื่มเบต้ากลูแคน IMU ผลิตจากเห็ดสกัดธรรมชาติ เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ลดอาการภูมิแพ้ และหวัด เครื่องดื่มแอลธีอานิน DEEP ที่สกัดจากยอดชาเขียวจากญี่ปุ่น ช่วยปรับสมดุล ผ่อนคลายความตึงเครียดก่อนนอน และเครื่องดื่ม FRESH สกัดจากน้ำทับทิม และชาเขียว ช่วยคืนความสดชื่น ระหว่างวัน

 

ซีพีเอฟ ได้พัฒนาอาหารทางการแพทย์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้แบรนด์ NutriMax ช่วยให้ผู้สูงวัยและผู้ป่วยรับประทานได้ง่าย กลืนง่าย รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรไบโอติก เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค แบรนด์ “บิฟิโอ โปรไบโอติก พลัส” ที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์โปรไบโอติกคุณภาพ เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ยังได้รับรางวัล “ชีวจิต Awards 2021” สาขา Innovation Reader’s vote และ Guru’s pick และรางวัล เหรียญทองแดง จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2564 อีกด้วย