ชี้ทางรอดอุตสาหกรรมกัญชง "ต้องลงทุนทั้งซัพพลายเชน"

08 ธ.ค. 2564 | 18:26 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ธ.ค. 2564 | 01:29 น.
1.3 k

ธุรกิจกัญชงไม่ง่าย ลงทุนมาก-ผลตอบแทนไม่แน่นอนพ่วงเงื่อนไข 130 วัน ฉุดอุตสาหกรรมเกิดช้า คาดกลางปีหน้าผลิตภัณฑ์ปลายน้ำทยอยออกสู่ตลาด แนะผู้ประกอบการอยากอยู่ต้องทุ่มลงทุนทั้งซัพพลายเชน

นายพรประสิทธิ์ สีบุญเรือง กรรมการผู้จัดการ บริษัท 88 แคนนาเทค จำกัด เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมกัญชงปีนี้มีความคึกมากตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา เกษตรกรและผู้ประกอบการต่างอยากได้ใบอนุญาตนำเข้า แต่หากไปดูรายชื่อผู้ขออนุยาติปลูกในลิสต์ของอย. จะพบว่าปัจุบันมีผู้ปลูกกว่า 1,000 ราย แต่อย.เองยังไม่เคยระบุว่าผู้ปลูกแต่ละรายปลูกมีพื้นที่ปลูกกี่ไร และเพื่อปลูกเพื่อวัตถุประสงค์อะไร 

 

เพราะอุตสาหกรรมปลูกกัญชงจะมี 3 layer คือการปลูกเพื่อเอาเส้นใยซึ่งยังมีผู้ปลูกน้อย  2 การปลูกเพื่อนำเมล็ดมารัประทานทำ hemp protein โปรตีนบาร์หรือเวย์โปรตีนเพราะกัญชงมีสารอาหารมากกว่าพืชชนิดอื่น และการปลูกเอาช่อดอกเพื่อสกัดสารCBD ซึ่งหากผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้เบื้องต้นต้องเข้าใจกฎหมายก่อน  

 

ส่วนทิศทางปี2565 มีแนวโน้มจะเห็นซัพพลายเชนของกัญชงที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำเข้า ผู้ปลูกหรือโรงงานสกัด และจะเห็นผู้เล่นตัวจริงในตลาดประมาณไตรมาส 2  โดยผู้เล่นที่จะสามารถอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ได้ต้องมีการลงทุนที่ครบวงจร 

 

“คนที่ทำจริงถึงจะได้ไปต่อ ส่วนคนที่ทำคนเดียวแล้วเจอปัญหาอาจจะไม่ไปต่อ คนที่เป็นผู้เล่นตัวจริงจะต้องทำครบวงจรถึงจะอยู่ได้หมายความว่าคุณจะต้องนำเข้าเมล็ดพันธุ์เองด้วยไม่พึ่งคนอื่น 2 ต้องปลูกเองบางส่วน  3 ต้องมีโรงงานสารสกัดเป็นของตัวเอง และ4 ต้องมีแหล่งที่จะสารสกัดไปทำผลิตภัณฑ์ 

 

ถ้าไปพึ่งคนอื่นในระหว่างห่วงโซ่ถ้าเขาไม่ยื่นออกซิเจนให้คุณตายเลย โรงสกัดถ้าไม่มีผลผลิตเข้ามาก็ผลิตไม่ได้ต่อให้ลงทุนไป 50- 60 ล้านบาทก็ตามถ้าไม่ปลูกของตัวเองไม่พอแน่นอน ช่วงพฤษภาคม-มิถุนายนปีหน้าจะเห็นตลาดของจริงอาจจะมีผู้เล่นเพิ่มขึ้นหรือมีผู้เล่นที่แพ้และออกจากตลาดไปก็ได้ แต่ตอนนี้ทิศทางตลาดยังทรงๆอยู่”

 

อย่างไรก็ตามแม้ว่าทิศทางตลาดจะมีความคึกคักแต่ ธุรกิจกัญชง ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดและติดปัญหาในหลายๆส่วนโดยเฉพาะเรื่องใบอนุญาตซึ่งผู้เล่นในอุตสาหกรรมทุกรายต้องปฏิตามอย่างเคร่งครัด และในการขออนึยาติต้องใช้เวลาในการรอการอนุมัติถึง 130 วัน และในทุกซัพพลายเชนจะต้องมีการขออนุยาติจากอย.ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น การขออนุยาตินำเข้าเมล็ดพันธ์ ขออนุยาติปลูก,สกัด,ทำผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายรวมทั้งต้องควักกระเป๋าลงทุนก่อนโดยไม่รู้ว่า จะได้รับใบอนุยาติหรือไม่ 

 

ส่วนที่สองที่น่ากังวลคือ เรื่องของความต่อเนื่องของเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรที่จะปลูกกัญชงจะต้องมีการลวทุนอย่างน้อยไร่ละ3 ล้านบาทเพื่อเตรียมการเพาะปลูกเพราะฉนั้นเมื่อลงทุนไปแล้วแต่ไม่สามารถซื้อเมล็ดพันธ์จากผู้นำเข้าที่ต่อเนื่องได้ความโชคร้ายจะมาเยือนผู้ปลูก เพราะฉะนั้นความต่อเนื่องของเมล็ดพันธุ์ที่จะนำเข้ามาให้เกษตรกรปลูกเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามพัฒนาสายพันธุ์ให้ได้ภายใน 2- 5 ปี แต่ในทางปฏิบัติคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะฉนั้นเกษตรกรไทยก็ยังคงต้องนำเข้าเมล็ดพันธ์จากต่างประเทศต่อเนื่อง

 

ส่วนที่ 3 คือเรื่องของการปลูก ต้องยอมรับว่า ยังไม่มีเคยปลูกกัญชงในระดับอุตสาหกรรมในประเทศไทยปลูก 100 ต้นอาจจะตาย 50 ต้นไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรหรือบริษัทที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงก็ตาม ดังนั้นในการปลูกควรจะต้องปลูกตามคำแนะนำของแต่ละสายพันธุ์จากบริษัทผู้นำเข้าอย่างใกล้ชิด ไม่ลองผิดลองถูก และสิ่งที่สำคัญคือการควบคุมปัจจัยแวดล้อมในการปลูกในเหมาะกับเมล็ดพันธ์ุ เพราะเมล็ดพันธ์ุส่วนมากนำเข้าจากประเทศที่มีอากาศเย็น เมื่อมาเจอสภาพอากาศร้อนชื้นของไทยอาจมีความเสี่ยงสูงในการปลูกให้ได้ผลผลิตคุณภาพ 

 

“รัฐบาลบอกว่า 5 ปีแรกสารสกัด cbd ห้ามนำเข้ายกเว้นเมล็ดพันธุ์อย่างเดียว สำหรับผู้ปลูกถ้าไม่มีความพร้อมทั้งในด้านของกำลังทรัพย์ วิชาการ การลงทุนเพื่อที่จะเอาช่อดอกเหนื่อยมาก  เพราะ 1 ไร่จะต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ในหนึ่งปีเกษตรกรน่าจะเหลือเงินประมาณ 8 แสนบาทหลังจากมีรายได้และหักต้นทุนดังนั้นถ้าอยากจะปลูกกัญชง ต้องถามตัวเองดีๆว่าเข้าใจกฎหมายหรือยัง เพราะถ้าไม่เข้าใจกฎหมายจะเกิดสับสนมาก

 

วันนี้ทุกคนเริ่มปลูกพร้อมกันกว่าจะเก็บผลผลิตได้ก็ประมาณกุมภาพันธ์-มีนาคมปีหน้า  เพราะฉะนั้นวันนี้สารสกัด cbd ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในประเทศไทย ไม่ว่าจะขายออนไลน์หรือออฟไลน์เข้าใจว่าผิดกฎหมายทั้งหมด เพราะช่อดอกยังไม่ออกมาเลยแล้วจะออกมาเป็นสารสกัดได้ยังไง ทุกวันนี้อาจจะมีแค่เธอร์ปีนออกมาเพราะผู้ผลิตสินค้าต้องการออกสินค้าก็ต้องมีกิมมิคจึงเคลมว่าใช้สารสกัด cbd จากใบหรือใช้กลิ่นเทอร์ปีนแต่จริงๆแล้วไม่ได้ใช้สาร cbd จัดช่อดอกซึ่งไม่ผิดกฎหมายในประเทศไทยและทั่วโลกก็คงจะออกมาในลักษณะนี้"