สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุ่มงบประมาณ 15 ล้าน

30 ส.ค. 2564 | 09:00 น.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุ่มงบประมาณ 15 ล้าน หนุนผู้ประกอบการ SMEs สายงานครีเอทีฟ และฟรีแลนซ์ ส่งเสริมการจ้างงานกว่า 1,200 ตำแหน่งงาน

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุ่มงบกว่า 15 ล้าน หนุนให้เกิดการจ้างงานในกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ 15 สาขา และฟรีแลนซ์ ได้กว่า 1,200 ตำแหน่งงาน พร้อมจับมือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดัง เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กว่า 890 ราย ได้มีช่องทางกระจายสินค้า 

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุ่มงบประมาณ 15 ล้าน

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดเผยถึงสถานการณ์การจ้างงานในกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า “ในช่วงการแพร่ระบาดที่หลายธุรกิจต่างพากันหยุดชะงัก ได้ส่งผลกับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้ง 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต้องสะดุดลง โดยข้อมูลผลประกอบการธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ CEA รวบรวมพบว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการสร้างสรรค์มีรายได้ลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 26% อยู่ที่ 1.49 ล้านล้านบาท ทำให้อุตสาหกรรมต้องเผชิญการขาดทุนสุทธิรวม 1.74 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ CEA ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy จึงได้เร่งปรับการทำงานของทั้งองค์กร ออกมาเป็นแผนช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ "CEA - COVID-19 Relief Programs” ซึ่งเป็นการดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่การจ้างงานนักสร้างสรรค์โดยตรง การช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ ไปจนถึงการปรับกระบวนการทำงานขององค์กรทั้งระบบ ตั้งแต่การวางนโยบาย การจัดสรรงบประมาณ ตลอดจนการให้บริการที่มุ่งสู่ออนไลน์ เพื่อให้สามารถดำเนินมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้อย่างทันท่วงที”

CEA ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 15 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยการกระตุ้นตลาดการจ้างงานตรงให้กับกลุ่มฟรีแลนซ์-เอสเอ็มอี รวมกว่า 1,200 ราย ในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2563 ผ่านโครงการ CEA VACCINE ร่วมสร้างสรรค์...ภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจไทย” ซึ่งเป็นโครงการพิเศษที่ CEA จัดทำขึ้น เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการได้มีพื้นที่จัดแสดงผลงาน และกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานตามมา โครงการนี้ ได้ดำเนินการใน 3  กิจกรรมย่อยด้วยกัน ได้แก่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยการกระตุ้นตลาดการจ้างงานตรงให้กับกลุ่มฟรีแลนซ์-เอสเอ็มอี รวมกว่า 1,200 ราย ในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมาใน 3 ด้านหลัก ได้แก่

1. กิจกรรม “สู้โควิดด้วยวิตามิน” เป็นมาตรการเร่งด่วนที่ช่วยลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการจ้างงานตรงใน 6 สาขาอาชีพ อาทิ นักดนตรี นักเขียน นักแปล ช่างภาพ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ ได้รับการจ้างงานไปแล้ว 373 คน

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุ่มงบประมาณ 15 ล้าน

2. กิจกรรม “เสริมภูมิคุ้มกัน” คือการติดอาวุธลับในเรื่องของการขายของออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซ ให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี โดย CEA ร่วมมือกับมาร์เก็ตเพลสชื่อดัง อาทิ ลาซาด้า เจดีเซ็นทรัล PINKOI และ SIFT & PICK เป็นต้น เพื่อเปิดพื้นที่จำหน่ายให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงจัดส่งเสริมการขายสินค้าให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้  มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรับบริการไปแล้ว  890 ราย

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุ่มงบประมาณ 15 ล้าน

3. กิจกรรม “สร้างเกราะต้านทานโรค” เป็นมาตรการที่ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สนับสนุนให้เกิดการจ้างงานในกลุ่มศิลปิน นักร้อง นักดนตรี ผ่านสองโครงการย่อย คือ

3.1 โครงการ CEA Live House (ปีที่ 1) ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อย่างบริษัท ProPlugin, Live4 Viva, Rock Planet และ JOOX สนับสนุนพื้นที่จัดแสดงและเผยแพร่ผลงานของศิลปิน นักร้อง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

3.2 โครงการ CEA Live House (ปีที่ 2) สนับสนุนพื้นที่บันทึกการแสดงสดและการถ่ายทำเพื่อเผยแพร่ในช่องทางสื่อสารของศิลปิน นักแสดง และช่องยูทูบของ CEA

นอกจากการส่งเสริมการจ้างงานของกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์แล้ว CEA ยังได้ปรับรูปแบบการให้บริการเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด เช่น การค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดเพื่อการออกแบบ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้กับผู้ประกอบการเป็นหลักสูตรออนไลน์ การจัดหาที่ปรึกษาทางธุรกิจที่คอยให้คำปรึกษา หรือการจัดพื้นที่แสดงผลงานแบบออนไลน์เพื่อสร้าง Market place ให้กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุ่มงบประมาณ 15 ล้าน

อีกทั้ง CEA ยังได้นำกระบวนการคิดเชิงออกแบบ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เข้ามาแก้ปัญหาและความท้าทายรูปแบบใหม่ที่ต้องเผชิญ (Endorsing Technology & Design Thinking for Better Solutions) สร้างเป็นโซลูชันและแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ใช้สำหรับการเข้าชมงาน หรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีจำนวนคนหลากหลาย เพื่อให้ผู้จัดงานและผู้เข้าชมงาน เกิดความปลอดภัยในการใช้พื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น CROWD CHECK เครื่องมือคำนวณหาความหนาแน่นของการใช้พื้นที่ Virtual Design Festival แพลตฟอร์มการชมงานในรูปแบบ 360° Exhibition Tour  HackVax 2021 การออกแบบ “กระบวนการฉีดวัคซีน”ที่ลดขั้นตอนให้สั้น กระชับรวดเร็ว และ Covid-19 Innovation Showcase ซึ่งเป็นการร่วมมือของ CEA กับ FabCafe Bangkok ในการดัดแปลง พัฒนา ผลิตและสร้างอุปกรณ์ต้นแบบเกี่ยวกับโควิด-19 เพื่อนำไปออกแบบ พัฒนา และผลิตด้วยเครื่องจักรได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุ่มงบประมาณ 15 ล้าน

และเพื่อให้ภารกิจการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการสร้างสรรค์ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทาง CEA ยังได้สนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยจัดงาน “CEA Creative Industries 2021” ในเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564 นี้ โดยจะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย ผ่านการจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ อาทิ การประกวดและมอบรางวัลให้แก่บุคลากรสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ การเสวนา การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การรวบรวมและพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมสร้างสรรค์รายสาขา และการผลิตวิดีโอคอนเทนต์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ โดยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจพัฒนาผลงานสร้างสรรค์สู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ในลักษณะภาคีเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่ง สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cea.or.th และ FB: Creative Economy Agency

เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน): สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) : CEA  จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2018 โดยยกระดับมาจาก ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้เกิดการนำกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพื่อให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว