กมธ. เปิดเกม ล่าไอ้โม่ง ทุบ "ราคาปาล์ม" ป่วน

21 มิ.ย. 2564 | 16:00 น.
2.0 k

​​​​​​​“ประเสริฐพงษ์” รับปาก “เกษตรกร” นำเรื่องเข้า กมธ.วิสามัญฯ ล่าไอ้โม่งทุบราคาปาล์มป่วน เร่งแกะรอย กรมการค้าภายใน ลักไก่ส่งออกเมล็ดในปาล์ม

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์

 

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการบริหารจัดการปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ (วันที่ 21 มิ.ย.64) ทางสมาคมปาล์มน้ำมันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันได้ ยื่นหนังสือนั้น ผมในฐานะในฐานะรองประธาน กมธ. วิสามัญฯ จะนำเรื่องไปลงในระบบเพื่อเข้าวาระสู่การพิจารณาในคณะ กมธ. เพราะว่าเกษตรกรขอให้ตรวจสอบการปั่นป่วนราคาปาล์มน้ำมัน

 

คำว่า “การปั่นป่วนราคาปาล์มน้ำมัน” หมายความว่าในช่วงสถานการณ์ สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาผลปาล์มน้ำมันอยู่ที่ กว่า 6-7 บาท/กิโลกรัม แต่ว่าในช่วงวันที่ 15 พฤษภาคม- 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา โรงสกัดรับซื้อผลปาล์มทะลาย ในราคากิโลกรัมละ 6 - 6.80บาท  ขณะที่ปาล์มขวดอยู่ที่ 48 บาท (ขนาด 1 ลิตร)

 

นายประเสริฐพงษ์  กล่าวอีกว่า แต่ปรากฏว่าภายใน 1 สัปดาห์ ช่วงวันที่ 13 มิถุนายน- 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา สัปดาห์ที่แล้ว จู่ราคารับซื้อหล่นไปที่ 4 -4.50  บาท/กิโลกรัม ซึ่งไม่สอดคล้องกับราคาปาล์มขวด เพราะราคาปาล์มขวดก็ยังขายอยู่ที่ 48 บาท ส่วนราคาน้ำมันไบโอดีเซล หรือ บี 100 ก็ยังมีราคาสูงในตลาด

 

หมายถึงว่าสัดส่วนราคารับซื้อผลผลิตปาล์มทะลาย เป็นโครงสร้างราคาที่กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน สามารถตรวจสอบโครงสร้างราคาได้ ตั้งแต่ซื้อจากกลุ่มเกษตรกร ไปสู่ลานเท โรงสกัด โรงกลั่น และโรงไบโอดีเซล รวมทั้งการวางขายผลิตภัณฑ์ในห้างโมเดิร์นเทรดได้ ในกลุ่มเกษตรกรภาคใต้ มีการผลักดัน ให้กระทรวงพาณิชย์กำหนดโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม

 

ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาตั้งแต่มีปาล์มน้ำมันในประเทศไทย โครงสร้างราคาปาล์มน้ำมัน ไม่เคยอยู่ในการดูแลของหน่วยงานของรัฐเลย แต่อยู่ในการกำหนดการซื้อขายราคาของกลุ่มทุน กลุ่มโรงงาน กลุ่มโรงสกัด ซึ่งความจริงแล้ว มี พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 สามารถใช้อำนาจหน้าที่กำกับดูแลได้

 

นอกจากนี้ในข้อเท็จจริงอีกเรื่องหนึ่ง คือ มีการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิต ตามมติ ของ กนป. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 มีเป้าหมายส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ 3 แสนตัน  เรื่องนี้ชาวสวน ไม่มีอำนาจการต่อรองที่จะไปขายที่โรงงาน


 

โฉมหน้าเกษตรกรที่มายื่นหนังสือ

 

นายประเสริฐพงษ์  กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรต่อสู้ ให้ติดตั้ง ติดตามการติดตั้งมิเตอร์ถังเก็บน้ำมันปาล์ม แบบเรียลไทม์ ผมตามเรื่องนี้มาโดยตลอดตั้งแต่นั่งอยู่ในคณะกมธ. เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา ทางกมธ.ได้เชิญ รัฐมนตรี/อธิบดีกรมการค้าภายใน แต่ปรากฎว่า ส่งผู้อำนวยการกอง ชั่ง ตวง วัด เข้ามาชี้แจง และก็บอก ได้ผู้ชนะแล้ว  แต่มีรายที่ไม่ได้ก็มีการยื่นอุทธรณ์เข้ามาอีกเพราะแพ้ ไม่ได้งานนี้ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขอุทธรณ์ ว่า ได้ใส่ความเห็นกรรมการ ที่บอกว่าบริษัทที่แพ้และอุทธรณ์นั้นขาดคุณสมบัติ และไม่มีน้ำหนัก ปัดตกหรือไม่ ก่อนส่งไปให้ กรรมการอุทธรณ์กระทรวงการคลังพิจารณาภายใน 2 เดือน

 

“ผมก็ร้องเลยนะว่าอีก 2 เดือน ซึ่งเรื่องนี้ มีโครงการตั้งแต่ปีที่แล้ว รัฐบาลก็ตั้งงบประมาณไว้ แต่กรมการค้าภายใน อ้างเรื่องโควิด และถอนงบประมาณตรงนี้ไป ผมก็ได้อภิปรายเรื่องนี้ในสภาว่า ถ้าจะช่วยเรื่องโควิดจริง ผมยินดีที่จะให้งบประมาณไป แต่ความตั้งใจของกระทรวงพาณิชย์ กลายเป็นถอนงบประมาณในการจัดซื้อมิเตอร์ปาล์ม เรื่องเดียวออกมา มีความน่าสงสัยหรือไม่

 

อย่างไรก็ดีหลังจากได้รับหนังสือ เพราะทราบว่าสต็อกปาล์ม ปริมาณ 1.35 แสนตัน  มีการรายงานเท็จ มีการโยนลูกของส่วนราชการในระหว่างกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ผมตั้งข้อสังเกต อธิบดีกรมการค้าภายใน ทำไมไปถึงออกระเบียบ มติต่างๆ ที่ไปอนุมัติ ส่งออกน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม ทั้งที่ไม่มีมติที่ประชุม ขัดกับ มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง จะไปเหมาส่งออกน้ำมันปาล์มดิบควบรวมกับน้ำมันเนื้อในเมล์ดปาล์มไม่ได้

 

“วันนี้ที่ชาวสวนปาล์ม ร้องเรียนมาที่ผมพร้อมหนังสือนอกจากจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาแล้วของ กมธ.แล้ว และผมคิดว่าหากมีหลักฐานที่จะไปร้อง ป.ป.ช. ถึงการปฏิบัติการมิชอบ ของอธิบดีกรมการค้าภายในได้ ผมจะทำทันที”