5 ปัจจัยพื้นฐาน ธุรกิจครอบครัว (1) 

01 มิ.ย. 2564 | 05:30 น.
อัปเดตล่าสุด :01 มิ.ย. 2564 | 17:24 น.
575

Designing Your Family Business รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย [email protected]

ธุรกิจครอบครัวเป็นผู้สร้างความมั่งคั่ง การจ้างงานและสร้างโอกาสที่ดีในชุมชน และธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจะสามารถเติบโตต่อไปได้หลายชั่วอายุคน อย่างไรก็ตามลักษณะและความซับซ้อนขององค์กรลักษณะนี้จำนวนมากจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถสร้างมูลค่าจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืน

โดยเฉพาะการระบาดของโรคโควิด-19 ได้สร้างความไม่แน่นอนแก่ธุรกิจอย่างมาก ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นที่บอร์ดจะต้องมีความเหมาะสมกับอนาคตและมีความพร้อมที่จะคว้าโอกาสทางธุรกิจของตนให้ความสำเร็จ ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลที่ดีเป็นหัวใจสำคัญ โดยต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. บทบาทที่ชัดเจน การกำกับดูแลที่ดีเริ่มจากความชัดเจนในบทบาทของบอร์ด น่าเสียดายที่ในธุรกิจครอบครัวบางครั้งการแยกบทบาทความเป็นเจ้าของ ครอบครัว ผู้บริหารและบอร์ดอาจไม่มีความชัดเจน โดยเจ้าของและสมาชิกในครอบครัวที่สนใจอาจอยากเข้าไปมีส่วนร่วมในหลายๆ ด้านของธุรกิจ

ตั้งแต่การตัดสินใจในบอร์ดไปจนถึงการบริหารงานประจำวัน ซึ่งก็คือกรรมการที่เป็นสมาชิกในครอบครัวที่มีความเข้าใจชัดเจนว่าจะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้บริษัทมีประสิทธิผลสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการช่วยสนับสนุนการสร้างมูลค่าและแสดงออกโดยการเข้าร่วมในบอร์ด

5 ปัจจัยพื้นฐาน ธุรกิจครอบครัว (1) 

2. องค์ประกอบที่หลากหลายของบอร์ด บอร์ดของธุรกิจครอบครัวต้องสามารถมองเห็นหนทางในการแก้ปัญหาต่างๆ และนี่คือเหตุผลที่การแยกออกจากการบริหารงานประจำวันขององค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยการสรรหากรรมการจากภายนอกที่สามารถนำมุมมองในเรื่องของระยะทาง 

ทักษะเพิ่มเติม ความแตกต่างของประชากร ประสบการณ์ รูปแบบการคิดและวงกลมแห่งการควบคุมเข้ามาสามารถเพิ่มมูลค่าอย่างมากให้กับบอร์ดของธุรกิจครอบครัว ในทางกลับกันการสรรหากรรมการที่ไร้ความสามารถหรือกรรมการซึ่งเป็นเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว แต่ไม่มีทักษะ มุมมองและความสามารถเพียงพอถือเป็นหนึ่งในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและมีราคาแพงทีเดียว

3. กระบวนการที่มีประสิทธิภาพ บอร์ดที่ดีต้องมีแนวการมอง 4 แนวทางและกำหนดกระบวนการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถเพิ่มคุณค่าได้ ดังนี้

1) การมองจากที่เหนือกว่าหรือการกำกับดูแล (Oversight): บอร์ดของธุรกิจครอบครัวต้องมีกระบวนการต่างๆเพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (Accountability) และการกำกับดูแล (Oversight) ที่มีประสิทธิผล

2) การมองเชิงลึก (Insight) : บอร์ดที่มีประสิทธิภาพต้องเข้าใจบริษัท กลไกทางการเงินและความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กรและสภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ ซึ่งข้อมูลเชิงลึกนี้ทำให้เกิดเป้าหมายมากขึ้นและทำให้สามารถประเมินผลการปฏิบัติงานและกลยุทธ์ได้มากขึ้นด้วย

3) การมองการณ์ไกล (Foresight) : ความสามารถในการคาดการณ์เพื่อดูสิ่งที่กำลังจะมาถึงและแรงกดดันในอนาคตที่จะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนของธุรกิจ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจความเสี่ยงและการพัฒนากลยุทธ์อย่างมีประสิทธิผล

4) การมองย้อนกลับ (Hindsight) : บอร์ดที่มีประสิทธิภาพต้องสามารถนำมาซึ่งความรู้ที่สำคัญให้แก่ บริษัทและครอบครัวได้ ด้วยการมองย้อนกลับไปสู่การจดจำความคิดริเริ่มในช่วงอดีตก่อนหน้านี้และเรียนรู้สิ่งที่ดี เลวและเป็นอันตรายจากอดีตได้ 
(อ่านต่อฉบับหน้า)

หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,683 วันที่ 30 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :