ทำหนังสือถึง “สุริยะ” ค้านประกาศโรงงานเคมีเข้า 3 มาตรฐาน ISO

11 มี.ค. 2563 | 14:45 น.
1.1 k

3 สมาคมเคมียื่นหนังสือค้านร่างประกาศ ก.เกษตรฯ ซ้ำซ้อนกฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้ว หวั่นต้นทุนเกษตรเพิ่ม ส่วน “ชีวภัณฑ์” ควรจัดระเบียบด้วยเพราะเป็นวัตถุอันตรายชนิด 2 และ 3 ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติ

ทำหนังสือถึง “สุริยะ” ค้านประกาศโรงงานเคมีเข้า 3 มาตรฐาน ISO

วันที่ 11 มีนาคม 2563 ดร.วีระวุฒิ กตัญญูกุล นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันนี้ได้ทำหนังสือถึงนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่อง เสนอข้อคิดเห็นต่อร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตการนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ (ฉบับที่...) พ.ศ. ....

ทำหนังสือถึง “สุริยะ” ค้านประกาศโรงงานเคมีเข้า 3 มาตรฐาน ISO

โดย 3 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย  และสมาคมอารักขาพืชไทย ได้พิจารณาร่างประกาศฯ ดังกล่าวแล้ว มีข้อสังเกต 3 ประเด็นหลัก คือ  1.ร่างประกาศฯ ดังกล่าว ซ้ำซ้อนกับกฎหมายหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไข เป็นต้น การออกประกาศฯดังกล่าว ข้างต้น จึงไม่เป็นไปตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไข ซึ่งบัญญัติไว้ว่าการจะนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับเป็นการเพิ่มเติมหรอแทนที่กฎหมายที่มีอยู่แล้วต้องให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายที่มีอยู่แล้วเป็นผู้ออกประกาศ

ทำหนังสือถึง “สุริยะ” ค้านประกาศโรงงานเคมีเข้า 3 มาตรฐาน ISO

2.มาตรฐานISO เป็นการส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นไปโดยสะดวก ซึ่งเป็นมาตรฐานอาสาปฎิบัติไม่มีการกำหนดเป็นการบังคับภายใต้กฎหมายใดๆ การกำหนดบังคับเช่นนี้ จะทำให้ปัจจัยการผลิตมีต้นทุนที่สูงขึ้น และเกิดผลกระทบทำให้เพิ่มต้นทุนการผลิตต่อเกษตรกร

ทำหนังสือถึง “สุริยะ” ค้านประกาศโรงงานเคมีเข้า 3 มาตรฐาน ISO

3.การควบคุมการผลิตของกฎหมายโรงงานไม่ได้แบ่งแยกประเภทหรือชนิดของโรงงานเกี่ยวกับสารที่จำกัดการใช้ สารชีวภัณฑ์และสารสกัดจากพืช แต่ประกาศใด และในทำนองเดียวกันกฎหมายวัตถุอันตรายก็ไม่มีการแบ่งแยกสารดังกล่าว ซึ่งสารเหล่านี้ยังคงเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่2 และ3 อยู่ ดังนั้นการกำหนดให้สถานที่ผลิตสารที่จำกัดการใช้ต้องมีมาตรฐาน ISO ทันที และสารชีวภัณฑ์และสารสกัดจากพืชที่ได้รับการยกเว้นเกี่ยวกับสถานที่ผลิตนั้นเป็นการเลือกปฎิบัติ

ทำหนังสือถึง “สุริยะ” ค้านประกาศโรงงานเคมีเข้า 3 มาตรฐาน ISO

ส่วนการจำกัดการใช้เป็นข้อกำหนดทางวิชาการในการควบคุมการใช้สารเท่านั้น ไม่ควรนำมาเกี่ยวโยงกับการผลิตซึ่งมีการควบคุมกฎหมายหลายฉบับดังกล่าวข้างต้นชัดเจนอยู่แล้ว จึงขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้นำข้อสังเกตและข้อคิดเห็นของสมาคมที่ไม่เห็นด้วยเข้าไปประกอบในการพิจารณาประกาศฯ ด้วย