ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

11 ม.ค. 2563 | 22:02 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2564 | 18:44 น.
8.1 k

“มงคล” เคลียร์ทุกปม ขายตั๋ว “น้ำมันเขียว” เก็บค่าต๋งเข้าสมาคมประมงฯ ลามกระทบบัตรฟรีทการ์ด  โดนม็อบเบรกกลางอากาศจ่ายเงินผ่านบัตรแท้ง วอนอย่าใช้เป็นเกมการเมือง

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

กลับมาเป็นกระแสใหม่อีกระลอกหนึ่ง “น้ำมันเขียว” ขุมทรัพย์กลางทะเล ที่ใช้ในเรือประมงก่อนหน้านั้นที่ไทยจะได้รับใบเหลืองมีการซื้อขายอย่างไร ทำไมสมาคมประมงจึงต้องเก็บค่าธรรมเนียมในการซื้อใบอนุญาตจ่ายน้ำมันใบละ 1 พันบาทปีหนึ่งเฉลี่ย 10 ล้านบาท ต่อมากรมสรรพสามิตให้ชาวประมงต้องจ่ายเงินผ่านบัตรฟรีทการ์ด (Fleet Card) แต่ทำไมชาวประมงค้านไม่พอใจ จนออกมาเรียกร้องหมื่นคนก่อนช่วงปีใหม่นั้น เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้อง11 ข้อ เป็นผลให้“จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เด้งสังเวย ส่งให้ “ พล.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรีเสียบแทนจริงหรือไม่ เพราะรัฐกลัวว่าใบเหลืองจะคืนหวนสู่กับประเทศไทยอีกครั้งหลังจากเพิ่งปลดไปเมื่อต้นปี 2562 ที่ผ่านมา “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “มงคล สุขเจริญคณา” ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย รายละเอียดดังต่อไปนี้

 

++ทำไมต้องออกตั๋วน้ำมันเขียว

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

นายมงคล กล่าวว่า เมื่อก่อนระบบการตรวจสอบเรือไม่มี ทางสมาคมประมงฯจึงร่วมมือกับสมาคมประมง 22 จังหวัดให้ตรวจสอบคัดกรอง แล้วที่เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่งจะเก็บในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาหลังจากไทยโดยใบเหลืองจากสหภาพยุโรป (อียู) สาเหตุที่เก็บเนื่องจาก 22 สมาคมไม่มีเงินเวลาที่มาขึ้นประชุม จึงต้องนำเงินตรงนี้ไปเป็นค่าใช้จ่าย และจ้างพนักงานประจำสมาคมในการจัดการงานธุรกรรมต่างๆ เนื่องจากสมาคมไม่มีรายได้ เฉลี่ยปีหนึ่งเดินทางเป็น 100-200 รอบ จะนำเงินมาจากตรงไหน

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

“ในตอนแรกการออกรหัสก็ไม่ได้มาตรฐาน แต่มีเงินก็มีการพัฒนาระบบบออกมาตรฐาน มีสติ๊กเกอร์ให้ชัดเจนแผ่นใหญ่ เพื่อให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่ตรวจทางทะเล ได้เห็นชัดเจนว่าเป็นเรือที่ได้รับอนุญาต เป็นเรือที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่ง เป็นการแก้ปัญหาน้ำมันเถื่อนและน้ำมันลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรที่เรือต่างประเทศที่แอบเข้ามาเติมน้ำมัน เรือประมงเอง ก็จะต้องตรวจสอบว่าเรือที่แจ้งไปรหัสน้ำมันถูกต้องหรือไม่ เพราะเปลี่ยนทุกปี มีการตรวจสอบทุกปี โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับกรมศุลกากรและตำรวจน้ำ ซึ่งเวลาลงไปตรวจกลางทะเล 2 หน่วยงานนี้จะตรวจสอบเลขรหัส แล้วสอบถามมาที่สมาคมฯด้วย เป็นการตรวจสอบย้อนกลับเบื้องต้น”

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

+เติมน้ำมันกลางทะเล

การออกไปเติมน้ำมันเขียวกลางทะเล เพราะการที่จะวิ่งออกไปเอาน้ำมันไกลมาก อย่างเช่น ฐานน้ำมันอ่าว ก ไก่ จากฝั่งระยอง ข้ามาที่หัวหิน เรือน้ำมันเข้ามาจอดไม่ได้ ต้องออกจากเส้นฐานไปอีก 24 ไมล์ทะเล ใช้ระยะเวลา 3-5 ชั่วโมงจะไปเติมแต่ละครั้ง แล้วเวลาคลื่นใหญ่ลมแรงก็ไปเติมน้ำมันไม่ได้ ส่วนการเติมเรือแต่ละชนิดจะมีการจำกัดเรือประมงแต่ละประเภทว่าเรือประเภทนี้ใช้น้ำมันเดือนละเท่าไร เป็นฝ่ายคำนวณให้ เวลาเติมในถังน้ำมันเค้าบรรจุเท่าไร จะแจ้งมาให้ทั้งหมด จึงจะออกรหัสให้ จะทราบว่าเรือแต่ลำใช้น้ำมันเท่าไร อย่างนี้ตรวจสอบได้เพราะทางบริษัทน้ำมันจะแจ้งไปให้กรมศุลกากร แล้วหากมีข้อสงสัยจะมีการสอบถามมายังสมาคม ซึ่งจะสามารถชั้แจงได้ว่าเป็นเครื่องมือประมงชนิดไหน เช่น อวนลากจะใช้น้ำมันมาก ขณะที่อวนล้อมจะใช้น้ำมันน้อยลงมาตามลำดับ ซึ่งแล้วแต่ลำไม่แน่นอน บางลำจอดก็ไม่ได้ออกไปทำการประมงก็มี

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

สำหรับน้ำมันเขียว เป็นน้ำมันที่ไม่ได้คุณภาพ มีกำมะถันสูง เป็นน้ำมันที่ใช้ในประเทศไม่ได้ เช่น ปตท. เป็นน้ำมันที่บริษัทน้ำมันขายออกไปนอกประเทศไปสิงค์โปร์ ก็ปรากฏว่ามีนักธุรกิจชาวสิงคโปร์นำน้ำมันลักลอบเข้ามาขายในประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ภาษีเพราะที่ส่งออกไปเอกชนขอคืนภาษีทั้งหมด จึงทำให้ที่ผ่านมาทางสมาคมประมงการแก้ปัญหาตรงนี้ จึงเป็นที่มาของ “น้ำมันเขียว” ที่ร่วมกับรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหาน้ำมันเถื่อนที่อาจจะกลับเข้ามาบนฝั่ง ซึ่งใช้ได้กับเครื่องยนต์ได้หรือไม่ ก็อาจจะใช้ได้แต่มีผลทำให้เครื่องยนต์พังได้ ซึ่งน้ำมันดังกล่าวปัจจุบันให้ใช้ได้แต่เรือประมงเท่านั้นเพราะถ้าไปใช้อย่างอื่นผิดกฎหมาย ดังนั้นการออกค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1 พันบาทเป็นมติของสมาคมประมงฯ โดยสมาคมจะเข้าส่วนกลาง 500 บาทแล้วให้สมาคมท้องถิ่น 500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในสมาคมฯ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวประมงสนับสนุนเนื่องจากเป็นการแก้ไขปัญหาของชาวประมงไม่มีการนำเข้ากระเป๋าส่วนตัวแต่อย่างใด

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

ทำไมค้านซื้อขายน้ำมันผ่านบัตรฟรีทการ์ด

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

นายมงคล กล่าวว่า การจ่ายซื้อขายน้ำมันผ่านบัตรจะต้องมีเงินสดอยู่ในบัตรก่อนถึงจะไปเติมน้ำมันได้ ตอนนี้ชาวประมงสถานะย่ำแย่อยู่แล้ว จะเห็นว่ามีการขอกู้รัฐเป็นหมื่นล้าน จึงไม่มีเงินไปเติมน้ำมัน จะทำให้ไม่สามารถออกไปทำการประมงได้ ในอีกด้านหนึ่งชาวประมงมีเครดิตกับบริษัทที่ค้าน้ำมันที่เติมน้ำมันไปก่อนแล้วให้ไปจับปลา หลังจากกลับมาแล้วค่อยมาจ่ายในภายหลังแล้ว แต่จะมีการบวกราคาน้ำมันเข้าไป 50-60 สตางค์ ชาวประมงก็ยินยอมในเรื่องการจ่ายล่าช้า เพราะทางบริษัทเองก็มีความเสี่ยงของหนี้เสียในก้อนดังกล่าวนี้ ซึ่งบริษัทดังกล่าว 10-11 บริษัทเปิดเผยเพราะต้องเป็นผู้จดทะเบียนค้าขายดำเนินธุรกิจปกติ ถ้าไม่ไปจดทะเบียนก็ไม่สามารถซื้อขายน้ำมันได้ ไม่ใช่เรื่องความลับ ดังนั้นหากให้มีการจ่ายบัตรฟรีทการ์ด ทางธนาคารที่รับผิดชอบให้เครดิตจ่ายไปก่อนได้หรือไม่ ก็ไม่มีใครตอบได้นี่เป็นที่มาที่ไป จึงทำให้สมาคมและชาวประมงต้องออกมาค้าน ส่วนเลขรหัสกฎหมายเขียนไว้อยู่แล้วจะต้องเป็นเลขรหัสที่ออกจากสมาคมเท่านั้น

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

ส่วนประเด็นข้อกล่าวหาว่าทางสมาคมประมงฯ ทำไมจู่ยุติการประชุมม็อบวันที่ 17-18 ธันวาคมที่ผ่านมาสมยอมกับกระทรวงเกษตร หรือไม่  จากข้อกล่าวหานี้ในวันนั้นตั้งใจว่าที่จะไปชุมนุมหน้ากระทรวงเกษตรฯ แล้วการเคลื่อนไหวจะชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลในช่วงบ่าย 2 หรือบ่าย 3 แต่เนื่องจากมีข่าวออกไป ทาง ท่านอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงมาพบปะพูดคุยประมาณเที่ยง และช่วงบ่ายรัฐมนตรีเกษตรฯ ได้เรียก 9 แกนนำเข้าประชุมไม่เป็นทางการ ซึ่งการพูดคุยจะทำให้เห็นปัญหาในเรื่องทำไมถึงต้องมาเรียกร้อง ต่อมารัฐบาลรับปากทำให้หมด ผลดังกล่าวนี้ทำให้รัฐบาลเปลี่ยนผู้บริหารมาดูแลประมง เพราะเกรงว่าอียูจะหันกลับมาให้ใบเหลืองไทยใหม่นั้นจริงหรือไม่

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล

“ก่อนหน้านี้ก็ทำงานกับรัฐบาล คสช.ในอดีต เคยมาชุมนุมแล้วหลายครั้งทุกครั้งที่มีปัญหา นำหัวใจของปัญหามาให้รัฐแก้ไข อย่านำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมงอย่างไรก็ดีในวันที่ 16 มกราคมนี้ เวลา 12.00 น.เชิญประชุมคณะกรรมการบริหารวาระพิเศษ1/2563 ณ อาคารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เพื่อขอมติในที่ประชุมจากการเปลี่ยนรองนายกรัฐมนตรีดูแลจะมีผลต่อ 11 ข้อเรียกร้องหรือไม่ ที่รับปากไปแล้วจะขอมติเพื่อติดตามผลต่อไป”

ตีแผ่ ‘น้ำมันเขียว’ ขุมทรัพย์กลางทะเล