“มะพร้าว”  ไทยราคาแพงคนซื้อหนี-บีบย้ายฐาน

20 ก.ย. 2562 | 19:15 น.
15.3 k

ล้ง-คนงานจ้างกะเทาะสมุทรสงครามโอดไม่มีงานทำ ขอรัฐไฟเขียวให้โรงงานนำเข้ามะพร้าว ขณะพ่อค้าระบุราคาแพงต้นทุนพุ่ง ผวาคู่ค้าหนี เผยบางรายโดดไปปักฐานอินโดฯ ผลิตขายแข่งแล้ว หวั่นอนาคตลามกระทบชาวสวนไทยแน่

 

สถานการณ์การส่งออกกะทิในปี 2562 มีปริมาณการส่งออกตั้งแต่เดือน มกราคมถึงกรกฎาคม 2562 จำนวน 150,604 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7,465 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ10 และ 5 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าปริมาณการส่งออกจะเติบโตจากปี2561 แต่เมื่อคำนวนกลับมาเป็นราคาสินค้าต่อหน่วยแล้วกลับพบว่าราคาสินค้าต่อหน่วยที่ขายได้ในปี 2561 นั้นราคา 52,900 บาทต่อตัน ปัจจุบันราคา 49,600 บาทต่อตัน

“มะพร้าว”  ไทยราคาแพงคนซื้อหนี-บีบย้ายฐาน

แหล่งข่าววงการค้ามะพร้าว เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจุบันราคามะพร้าวคละ 15 บาท/ลูก ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการสูงมากในช่วงระยะเวลาสั้นคงไม่เป็นไร หรือราคาสูง-ต่ำ เป็นช่วงๆ อย่างน้อยมีตัวเฉลี่ยราคา ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านถูกกว่าเรา 2-3 เท่า ตลาดจะเป็นคนบอกเองว่าจะซื้อน้อยลงไปซื้อที่อื่นมากขึ้น ก็เข้าใจเกษตรกรว่าอยากให้ราคาดีปรับตัวสูงขึ้นๆ แต่อยากให้ดูต้นทุนว่าผู้ส่งออกจะไปแข่งกับเพื่อนบ้านได้หรือไม่ ดังนั้นถ้าไม่ย้ายฐานการผลิตไปก็จะเสียตลาดให้เพื่อนบ้านไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน

“มะพร้าว”  ไทยราคาแพงคนซื้อหนี-บีบย้ายฐาน

ที่ผ่านมาไทยจะได้เปรียบเรื่องมาตรฐาน ความน่าเชื่อถือ แต่เมื่อราคาขายถูกกว่าไทยจะค่อยๆกินตลาดไปเรื่อย ประกอบกับมีผู้ประกอบการไทยบางรายไปลงทุนประเทศอินโดนีเซียแล้ว หลายปัจจัยประกอบกันไม่ใช่แค่ราคาวัตถุดิบอย่างเดียว ยังมีค่าแรง ค่าเงินบาท และตลาดอินโดนีเซียเป็นตลาดสำคัญด้วย เมื่อย้ายฐานไปแล้วการผลิตจึงไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบก็คือเทียบเท่ากับเมืองไทย ต่อไปเกษตรกรจะเดือดร้อนของจริงแล้ว

“มะพร้าว”  ไทยราคาแพงคนซื้อหนี-บีบย้ายฐาน

“สุดท้ายเหมือนดีใจชั่วคราว แต่ยาวๆ อยู่กันไม่ได้ มีเรื่องขายในประเทศ ส่งออกสินค้าเกษตรคล้ายคลึงกัน อะไรที่ขายในประเทศราคาแพงอยู่แล้ว ได้ราคาดีกว่าเพราะไปถึงผู้บริโภคโดยตรง แต่ว่าส่งออกไปผ่านอะไรหลายด่าน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำเข้า ด่านค้าปลีก ทุกอย่างมีต้นทุนแฝงหมด แค่ราคาต้นทุนในประเทศเท่ากันกับเพื่อนบ้านก็ส่งออกยากแล้ว" 

“มะพร้าว”  ไทยราคาแพงคนซื้อหนี-บีบย้ายฐาน

ตอนนี้ตลาดกะทิ ชะลอตัวตามกระแสนักท่องเที่ยวที่ลดลง ปีก่อนหน้ามีคนเข้าช่วยแชร์อยู่ที่ 32 ล้านคนปีนี้น่าจะไม่หวือหวานักนอกจากบริโภคในเมืองไทย นักท่องเที่ยวเข้ามาบริโภคอาหารที่มีกะทิหรือแม้กระทั่งมะพร้าวน้ำหอมจะขายดีตามเทรนด์ของตลาดท่องเที่ยวด้วย

“มะพร้าว”  ไทยราคาแพงคนซื้อหนี-บีบย้ายฐาน

แหล่งข่าวเกษตรกร กล่าวว่า ตอนนี้มะพร้าวในพื้นที่ไม่เพียงพอ ขอให้สามารถนำเข้ามะพร้าวมาช่วยให้มีรายได้ ล้งและชาวบ้านที่รับจ้างกะเทาะมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงครามอยากให้เปิดการนำเข้าเพื่อรักษาอาชีพการกระเทาะมะพร้าว เพราะมะพร้าวในประเทศไม่เพียงพอและราคาสูง ตอนนี้ชาวบ้านที่รับจ้างกระเทาะไม่มีรายได้เลย เนื่องจากไม่มีมะพร้าวให้กระเทาะแล้ว ขณะที่ By product เช่น กะลา ขายได้ราคาต่ำลงเหลือกิโลกรัมโลละ 1.50 บาท จากเดิม 4.50 บาท ส่วนราคามะพร้าวจากจังหวัดประจวบฯ ส่งมาถึงสมุทรสาคร ราคา 16-18 บาท ล้งเริ่มสู้ราคาไม่ไหว หากนำมากระเทาะเอง ขณะนี้เริ่มรับเนื้อขาวจากลูกบ้านแทนการซื้อมะพร้าวผลจากประจวบฯมากระเทาะ ราคารับซื้อ 28-30 บาท เป็นราคาใกล้เคียงกับราคารับซื้อของโรงงาน

“มะพร้าว”  ไทยราคาแพงคนซื้อหนี-บีบย้ายฐาน

ด้านสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ประเมินความต้องการมะพร้าวผลรวมทั้งประเทศในปี 2562 โดยรวมทั้งการบริโภคในประเทศและกาส่งออก ที่ประมาณ 1.1 ล้านตัน ในขณะที่ข้อมูลผลผลิตในประเทศจากการสำรวจมีเพียง 8.78 แสนตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของทั้งประเทศ