“นมโรงเรียน”ปฏิวัติปีแรก“สำเร็จ”หรือ"ล้มเหลว”

24 พ.ค. 2562 | 12:30 น.
1.6 k

เป็นเรื่องธรรมดาของทุกปีจะต้องมีเรื่องร้องเรียนการจัดสรรไม่เป็นธรรม นับตั้งแต่เกาะติดข่าวนมโรงเรียนมาตั้งแต่การจัดโซนนิ่ง การเปิดเสรี มาสู่การตั้งคณะกรรมการที่ดึงเอาผู้ที่มีส่วนได้เสียมาตั้งเป็นคณะกรรมการ จนกระทั่งล่าสุดก็ไม่มีผู้เกี่ยวข้องก็ยังเป็นปัญหาเดิม “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ “ดุจเดือน ศศะนาวิน” รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มักจะถูกมอบหมายให้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการ หรือไม่ก็ไปนั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ "มิลค์บอร์ด" อยู่หลายครั้ง มีความคิดเห็นอย่างไรกับการจัดการบริหารนมโรงเรียนระบบใหม่

 

++ ดีกว่าระบบเก่า

“นมโรงเรียน”ปฏิวัติปีแรก“สำเร็จ”หรือ\"ล้มเหลว”

“ดุจเดือน”  กล่าวว่า การจัดระบบนมโรงเรียนใหม่ในครั้งนี้ดีกว่าระบบเก่า แต่ว่าเหนื่อย เพราะอาจจะเป็นปีแรก และเวลากระชั้นชิด เนื่องจากต้องรอมติ ครม.ก่อน ก็ถือว่าขรุขระทั้งฝ่ายราชการและผู้ประกอบการ บางเรื่องหลักเกณฑ์โดยภาพรวมถือว่าโอเค เพียงแต่ว่าหลักเกณฑ์บางเรื่องยังมีจุดอ่อน อาทิ เรื่องนมผง เป็นต้น เราไม่ได้ใส่ไว้ในหลักเกณฑ์ก็มีผู้ประกอบการท้วงติง แล้วทำไมมาห้าม  ดังนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดก็อาจจะต้องใส่เพิ่ม เป็นต้น เช่นเดียวกับในกรณีการที่โรงนมมาขอเพิ่ม 5 ตันแล้วให้เลย จำเป็นในปีหน้า จะต้องดูว่าน้ำนมเดิมที่ได้ไปมากเพียงพอแล้วหรือไม่ หรือมาขอเพิ่มเมื่อบวกกับของเก่าจะมากเกินไป ครั้งหน้าอาจจะกำหนดเพิ่มเติมคุณสมบัติเพิ่ม เช่น อาจจะเป็นโรงเล็ก ไม่ใช่ใครขอก็ได้

“นมโรงเรียน”ปฏิวัติปีแรก“สำเร็จ”หรือ\"ล้มเหลว”

แต่อีกด้านหนึ่งก็บอกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นเข้ามาเลย ซึ่งทางกระทรวงจะนำทุกเรื่องมาวิเคราะห์ ปรับอย่างไรให้ดีที่สุด แต่ถามว่าทำแล้วทุกคนพอใจไหม ไม่มีใครพอใจทั้งหมด อาจจะมีคนบางกลุ่มได้มากขึ้น หรือบางกลุ่มได้น้อยลง แต่ปีนี้ก็พยายามที่จะไม่เอาผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาอยู่ในกรรมการไม่เช่นนั้นจะทะเลาะกัน แล้วก็ตกลงกันไม่ได้ เคยมีบางปี 5 ทุ่มแล้วยังไม่เลิก ที่สำคัญเน้นคุ้มครองโรงเล็ก ต้องทำให้เลี้ยงตัวเองหรือยกระดับขึ้นมา

“นมโรงเรียน”ปฏิวัติปีแรก“สำเร็จ”หรือ\"ล้มเหลว”

++โชว์หลักฐานน้ำนมดิบเพิ่ม

มีบางกลุ่มร้องเรียนว่ามีเอกชน/สหกรณ์นำน้ำนมดิบเพิ่มใส่เข้ามาทำให้โดนหารเฉลี่ยแล้วได้รับการจัดสรรพื้นทีจำหน่ายน้อยลง ต่อเรื่องดังกล่าวนี้ ได้ตรวจสอบแล้วมีหลักฐาน ยกตัวอย่าง  สหกรณ์ท่าม่วง ในกลุ่มพื้นที่ 5 ไปซื้อนม อ.ส.ค.ภาคเหนือแล้วนำไปขอโควตาพื้นที่ภาคใต้ ในข้อบังคับไม่ได้ห้าม ถือว่าถ้าซื้อมาไกลก็รับผิดชอบไปเสียต้นทุนแพง แต่กระทรวงจะคุมผลิตภัณฑ์ที่ออกมาว่าน้ำนมจะต้องได้มาตรฐาน แต่ถ้าไปเอาน้ำนมดิบมาเน่าบูดก่อนก็เจ๊งไป นมก็ไม่ผ่าน

“นมโรงเรียน”ปฏิวัติปีแรก“สำเร็จ”หรือ\"ล้มเหลว”

 ไม่ได้ห้ามเรื่องนม แต่ห้ามเรื่องโรงงานเน้นโรงงานในเขต ไม่อยากให้โรงงานข้ามเขต ปกติโรงงานจะต้องอยู่ใกล้ๆ ก็เดาเอานะว่าอาจจะถูกซื้อไปโดยอีกกลุ่มหนึ่ง หมดแล้วจึงไปเอาน้ำนมข้างนอกมา แต่ก็ไม่ได้กำลังการผลิตของโรงนั้น ที่นี้เราก็มองว่าไม่ผิด แต่ตอนหลังที่ตัดออก เพราะไม่มีหลักฐานสัญญาการซื้อขายนมถึงศูนย์เห็นว่าหลักฐานไม่ครบ จึงตัดออก

“นมโรงเรียน”ปฏิวัติปีแรก“สำเร็จ”หรือ\"ล้มเหลว”

++ปัญหาจำนวนเด็กลดลงทุกปี

“เค้าจะซื้อนมมาจากไหน เป็นเรื่องของเค้า เพราะเราจะไปก้าวล่วงเรื่องแบบนี้คงไม่ไหว แต่วัตถุประสงค์ก็คืออยากให้ช่วยเกษตรกร จะต้องช่วยระดับหนึ่ง ต้องพบกันครี่งทาง หากคิดว่าไม่ยุติธรรมก็ให้อุทธรณ์มา ต้องยอมรับว่าเวลาคุณสมัครเขตนี้ ยกตัวย่าง โรงงานอยู่จังหวัดราชบุรี หรือกาญจนบุรี แต่คุณสมัครเขตก็จะทราบดีอยู่แล้วว่าในเขตนี้มีกี่จังหวัดอาจจะโดนไปส่งจังหวัดอื่นก็ได้ ซึ่งๆทุกคนก็อยากจะส่งใกล้ๆโรงงานตัวเองทั้งนั้น”

“นมโรงเรียน”ปฏิวัติปีแรก“สำเร็จ”หรือ\"ล้มเหลว”

สำหรับการจัดแบ่งโควตานั้นให้กลุ่มในพื้นที่เป็นคนจัดหมด บางกลุ่มจังหวัดก็เชิญผู้ประกอบการมาหารือ หรือบางจังหวัดก็จัดเองเลยก็แล้วแต่ไม่กล้าก้าวล่วงเค้าเพราะเราถือว่ากระจายอำนาจให้แล้ว แค่กำหนดหลักเกณฑ์กลางเท่านั้น แต่ละกลุ่มก็อยากได้เพิ่ม ขณะที่ปริมาณน้ำนมดิบปีนีก็ลด 100 ตันต่อวัน สาเหตุก็มาจากจำนวนเด็กที่ลดลง และแนวโน้มลดลงทุกปี ดังนั้นอีกด้านหนึ่งผู้ประกอบการ/สหกรณ์จะต้องทำธุรกิจด้วย

“นมโรงเรียน”ปฏิวัติปีแรก“สำเร็จ”หรือ\"ล้มเหลว”