ชี้ทาง! คนรายได้น้อยมีบ้าน - ผู้ประกอบการบริหารต้นทุน ตัดส่วนเกินที่ไม่จำเป็น

15 ต.ค. 2561 | 15:56 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ต.ค. 2561 | 03:14 น.
'แมทช์ไทม์ฯ' ที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ ชี้ทาง "คนรายได้น้อยมีบ้านได้" ผู้ประกอบการบริหารต้นทุน ลดส่วนเกินที่เกินจำเป็น รัฐบาลลดภาระภาษีต่าง ๆ และลดหย่อน ด้าน ประชาชนต้องลดการก่อหนี้ ออมเงินมากขึ้น

 

[caption id="attachment_333209" align="aligncenter" width="503"] ไพโรจน์ วัฒนวโรดม ไพโรจน์ วัฒนวโรดม[/caption]

นายไพโรจน์ วัฒนวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท แมทช์ไทม์ พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งให้บริการด้านการบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร กล่าวว่า ปัจจุบัน ราคาที่อยู่อาศัยค่อนข้างสูง จนรายได้ของประชาชนปรับตามไม่ทัน ทำให้ผู้มีรายได้น้อยและคนระดับกลาง-ล่าง ไม่มีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยได้ ตนเองมีความเห็นว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ประกอบการ รัฐบาล และผู้ซื้อ ต้องร่วมมือกัน โดยเริ่มจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ปรับวิธีบริหารจัดการของต้นทุนและกำไรขั้นต้น (Gross Margin) เดิมอุตสาหกรรมกำหนดกำไรขั้นต้นไว้ที่ 30-35% ก็ควรลดกำไรลงมาที่ 20-25% แล้วเน้นการหมุนรอบบริหารของเงินทุนให้ได้ 2 รอบต่อปีขึ้นไป "วิธีนี้ก็ได้กำไรมากขึ้น เพียงแต่บริษัทต้องขยันมากขึ้น"

นอกจากนี้ ลดต้นทุนในส่วนตัวบ้าน ด้วยการลดส่วนที่เกินจำเป็น เช่น วัสดุตกแต่งที่เน้นความสวยงามหรือให้สะดวก ก็ลด ตัดทอนไปก่อน แต่งานวัสดุก่อสร้างที่เกี่ยวกับโครงสร้างห้ามลด ไม่เพียงเท่านี้ ต้นทุนส่วนกลาง เช่น คลับเฮ้าส์, สโมสร อะไรที่มากเกินไป ใหญ่ไป ก็ลดไป ทำให้ต้นทุนลดลง เพราะต้นทุนบ้านและส่วนกลางจะนำมาบวกเพิ่ม สร้างภาระให้ลูกค้า

ส่วนรัฐบาลก็ควรสนับสนุนนโยบายภาษีต่าง ๆ ค่าลดหย่อนต่าง ๆ จะทำให้ประชาชนซื้อบ้านได้ราคาต่ำลง สาเหตุสมผลมากขึ้น

สำหรับประชาชนก็ควรมีเงินออมในระดับหนึ่ง รวมถึงประชาชนต้องไม่ก่อหนี้เพิ่มในส่วนอื่น เช่น บัตรเครดิต เงินผ่อนต่าง ๆ ควรเก็บออมมาใช้กับบ้านพักอาศัย เป็นการลงทุนที่มั่นคงมีแต่มูลค่าเพิ่มขึ้นทุกวัน

595959859