ถึงเวลาแล้วที่คนต่างเจเนอเรชั่น...ต้องใช้พื้นที่ทำงานร่วมกัน

18 ก.ย. 2561 | 13:08 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ก.ย. 2561 | 20:08 น.
Spaces (สเปซเซส) ผู้บุกเบิกออฟฟิศพร้อมใช้งานแบบครบวงจรสุดสร้างสรรค์ระดับโลก เผยการทำงานที่ยืดหยุ่นและการใช้พื้นที่ทำงานร่วมกันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียล เห็นได้จากผลสำรวจล่าสุดพบว่าจำนวนร้อยละ 51 ของเจเนอเรชั่นเกิดก่อน พ.ศ. 2507 และร้อยละ 49 เจเนอเรชั่นที่เกิดหลัง พ.ศ. 2523 ต่างต้องทำงานจากนอกสถานที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของสัปดาห์

ยุคดิจิทัลทำให้ผู้คนในทุกช่วงอายุสามารถทำงานได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลกได้ง่ายดายกว่าเดิม จึงส่งผลให้ความต้องการสถานที่ทำงานที่ยืดหยุ่นนั้นเพิ่มมากขึ้น โดยผลสำรวจล่าสุดของ Spaces ยังเผยอีกว่าแม้จะเป็นผู้บริโภคสายดิจิทัลแต่คนกลุ่มนี้ยังมีความต้องการการพบปะสื่อสารแบบส่วนตัว โดยจำนวนกว่าร้อยละ 59 ของคนในเจเนอเรชั่นที่เกิดหลัง พ.ศ. 2523 นั้น เชื่อว่าสถานที่ทำงานที่ช่วยมอบความยืดหยุ่นได้จะช่วยให้เหล่าพนักงานสามารถพัฒนาทักษะใหม่ๆ ได้รวดเร็วขึ้นจากโอกาสในการพบปะหรือทำงานร่วมกันกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในขณะที่กลุ่มเจเนอเรชั่นที่เกิดก่อน พ.ศ. 2507 เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวในอัตราร้อยละ 42

Spaces ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างวัฒนธรรมและดึงดูดผู้คนให้มาใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง โดยในปีนี้บริษัทที่ก่อตั้งโดยชาวดัตช์กำลังจะเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้ง Spaces แห่งแรกในกรุงอัมสเตอร์ดัมเมื่อ พ.ศ. 2551 ปัจจุบันได้เปิดให้บริการแล้วกว่า 120 สาขา ใน 39 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงเมื่อไม่นานมานี้ได้ขยายสาขาเพิ่มเติมใน ฮ่องกง ลอนดอน นิวยอร์ก ปารีส และอีกหลายสาขา

นายมาร์ติน รอร์ดิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง Spaces กล่าวว่า “เนื่องจากทัศนคติที่มีต่อสถานที่ทำงานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคาดหวังของพนักงานทุกคนในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเพื่อการให้เติบโตขององค์กรจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม”

เหล่าคนทำงานในหลากหลายช่วงอายุต่างมีมุมมองที่ชื่นชอบสถานที่ทำงานที่สามารถมอบความยืดหยุ่นในการทำงานได้อย่างแตกต่างกัน ซึ่งผลการสำรวจได้ชี้ให้เห็นว่าเจเนอเรชั่นที่เกิดก่อน พ.ศ. 2507 มองว่าสถานที่ทำงานที่มีความยืดหยุ่น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดี แต่ในขณะเดียวกันเจเนอเรชั่นที่เกิดหลัง พ.ศ. 2523 ชื่นชอบสถานที่ทำงานที่ให้ความยืดหยุ่นเพราะสามารถช่วยผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ดีขึ้น 090861-1927

ข้อมูลที่น่าสนใจจากผลการสำรวจล่าสุด มีดังนี้

· กลุ่มคนในเจเนอเรชั่นที่เกิดหลัง พ.ศ. 2523 (ร้อยละ 67 ) ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจมากกว่าเจเนอเรชั่นที่เกิดก่อน พ.ศ. 2507 (ร้อยละ 58)

· ร้อยละ 55 ของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นก่อน พ.ศ. 2507 คิดว่าการทำงานได้จากสถานที่ต่างๆ ช่วยให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์ได้มากกว่าการนั่งประจำอยู่ในออฟฟิศ ซึ่งอัตราเฉลี่ยของกลุ่มเจเนอเรชั่นที่เกิดหลัง พ.ศ. 2523 มีจำนวนสูงถึงร้อยละ 68

· กลุ่มคนส่วนใหญ่ในเจเนอเรชั่นหลัง พ.ศ. 2523 ต่างมองว่าสถานที่ทำงานที่มอบความยืดหยุ่นนั้นช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและการเริ่มต้นโปรเจ็คใหม่ๆ (ร้อยละ 67) เมื่อเทียบกับคนเจเนอเรชั่นก่อน พ.ศ. 2507(ร้อยละ 55)

การวิเคราะห์ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ช่วยผลักดันให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน โดยผลการสำรวจพบว่า:

· กลุ่มเจเนอเรชั่นที่เกิดหลัง พ.ศ. 2523 มักรู้สึกว่าบริการเครื่องดื่มในพื้นที่สำนักงานเอื้อให้การทำงานมีประสิทธิผลมากขึ้น (ร้อยละ 23) เมื่อเทียบกับกลุ่มเจเนอเรชั่นที่เกิดก่อน พ.ศ. 2507 (ร้อยละ 13)

· กลุ่มคนในเจเนอเรชั่นหลัง พ.ศ. 2523 ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อระบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wi-Fi) มากถึงร้อยละ 78 แต่ในกลุ่มเจเนอเรชั่นที่เกิดก่อน พ.ศ. 2507 กลับให้ความสำคัญกับระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์คมาก ถึงร้อยละ 85

เหล่าผู้นำธุรกิจได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้กลยุทธ์ด้านการมอบพื้นที่การทำงานที่ยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นนายจ้างที่ดี:

· ร้อยละ 72 ของผู้ที่เกิดหลัง พ.ศ. 2523 คิดว่าการที่บริษัทเลือกวิธีการทำงานในแบบที่มีความยืดหยุ่น จะสามารถช่วยผลักดันให้พนักงานเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับผู้คนที่เกิดก่อน พ.ศ. 2507

· ร้อยละ 84 ของพนักงานที่เกิดหลัง พ.ศ. 2523 เชื่อว่าการทำงานที่ยืดหยุ่นนั้นช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถสรรหาและรักษาพนักงานระดับหัวกะทิไว้ได้ เมื่อเทียบกับคนที่เกิดก่อน พ.ศ. 2507 ที่มีอัตราเพียงร้อยละ 75

นายมาร์ติน รอร์ดิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง Spaces ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันนั้นสามารถต่อลมหายใจให้กับองค์กรและเป็นพลังสำคัญสำหรับการทำงานของพนักงานในทุกช่วงอายุ การแบ่งปันแนวคิดและความรู้ร่วมกันระหว่างรุ่นสู่รุ่น รวมถึงการทำงานของกลุ่มคนที่มีบทบาทหน้าที่และทักษะ ที่แตกต่างกันแต่กลับต้องมาทำงานร่วมกัน ทั้งในรูปแบบที่เป็นแบบทางการและไม่เป็นทางการผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น พนักงานรุ่นพี่ช่วยสอนงานหรือให้คำปรึกษาพนักงานรุ่นน้อง ซึ่งจะช่วยให้ได้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันและจุดประกายแนวคิดใหม่ๆ ได้”

“กลุ่มคนในแต่ละช่วงอายุนั้น อาจมีมุมมองเกี่ยวกับการใช้สำนักงานที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะไม่มีแนวคิดใดที่ถูกหรือผิด แต่ผู้ว่าจ้างที่ดีนั้นจะต้องค้นหาแนวทางในการช่วยให้พนักงานในทุกช่วงอายุนั้นสามารถมีส่วนร่วมและคิดค้นไอเดียที่ดีที่สุด เพื่อผลประโยชน์ต่อองค์กรและตัวคนคิดค้นเอง”

นายเดนิส เทย์เลอร์ นักจิตวิทยาคลินิก กล่าวว่า“การทำงานร่วมกันนั้นนับเป็นการสร้างพันธสัญญาเชิงจิตวิทยาระหว่างผู้ว่าจ้างกับพนักงาน ไม่ใช่เพียงแค่ความสัมพันธ์ที่ผูกกันด้วยเงินเดือน ซึ่งผู้ว่าจ้างจะต้องมีวิธีการสานสัมพันธ์กับพนักงานด้วยวิธีต่างๆ และส่วนหนึ่งก็คือการค้นหาสิ่งที่เหมาะสมกับกลุ่มคนในทุกช่วงอายุ ซึ่งทุกๆ อุตสาหกรรมต่างก็ต้องการแรงบัลดาลใจในการสร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ๆ และแสวงหาในการขยายเครือข่ายทางธุรกิจ ซึ่งการใช้พื้นที่บริการสำนักงานร่วมกันอย่าง Spaces สามารถทำให้ทุกคนได้มีโอกาสพบเจอกลุ่มคนในวัยทำงานในทุกช่วงอายุที่อาจมีเบื้องหลังและประสบการณ์แตกต่างกันมาให้ได้เรียนรู้ต่อไป”

โนเอล โค้ก ผู้อำนวยการใหญ่ สเปซเซส ประจำประเทศไทย ไต้หวัน และเกาหลี กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการของพื้นที่การทำงานมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีปัจจัยสำคัญหลากหลายที่ช่วยขับเคลื่อนเทรนด์นี้อีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นผ่านระบบมือถือ แม้ว่าจะอยู่ต่างสถานที่ ในระยะทางที่ไกล แต่ก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ทันเวลาอยู่เสมอ รวมไปถึงอีกปัจจัยสำคัญคือกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลต่างเริ่มคาดหวังให้เหล่านายจ้างมอบพื้นที่การทำงานที่มีทั้งพื้นที่แห่งการพบปะสรรสรรค์และสร้างแรงบัลดาลใจในการคิดค้นสุดยอดไอเดียให้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม Spaces ไม่ได้เป็นเพียงผู้ขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมเพื่อการทำงานอันเป็นมืออาชีพเท่านั้น แต่ยังมีสาขาที่พร้อมให้บริการอย่างครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญและสอดคล้องกับหลักความต้องการของคนยุคมิลเลนเนียล โดยพร้อมเปิดให้บริการแล้ว 2 สาขา ชั้น 3 ของซัมเมอร์ฮิลล์และสาขาที่สองบนชั้น 24 อาคารจัสตุรัสจามจุรี นอกจากนี้ Spaces ยังคงมีแผนขยายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นอีก 3 สาขาในไทย ได้แก่ เอ็มไพร์ ทาวเวอร์, M-9 Ratchada และ The Metropolis สำโรง

กลุ่มคนในแต่ละเจเนอเรชั่นจะมีความสามารถเฉพาะตัวที่โดดเด่นและสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานได้ เช่น คนยุคเบบี้บูมเมอร์ คือยุคที่ใช้ประสบการณ์และความอดทนพร้อมทุ่มเทให้กับการทำงาน และคนยุคมิลเลนเนียลที่มักมีความคิดสร้างสรรค์และมีความเชื่อที่แปลกใหม่อยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อนำทั้งสองเจเนอเรชั่นมารวมเข้าด้วยกัน จึงทำให้เกิดมุมมองและทัศนคติใหม่ๆเกิดขึ้น ซึ่งช่วยให้ได้ชิ้นงานที่ละเอียดและล้ำลึกอันมาจากที่ทุกคนต่างตั้งใจและให้ความสำคัญกับหน้าที่ของตนอย่างดีเยี่ยม 23626556