"อาคม"ร่วมประชุม ICAO – EASA Forum on Civil Aviation in South East Asia

12 ก.ย. 2561 | 19:47 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ก.ย. 2561 | 02:47 น.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดการประชุม ICAO – EASA Forum on Civil Aviation in South East Asia

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดการประชุม ICAO – EASA Forum on Civil Aviation in South East Asia ในวันที่ 12 กันยายน 2561 ณ สำนักงานสาขาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กรุงเทพฯ โดยมี Dr. Fang Liu ,Secretary General of ICAO Mr. Patrick Ky, Executive Director of EASA Mr. Conrad Clifford, Regional Vice President of IATA Mr. Arun Mishra, Regional Director of ICAO APAC นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย อธิบดีกรมการบินพลเรือนของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้นำด้านอุตสาหกรรมการบิน และพันธมิตรด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ร่วมการประชุม

kom2

โดย นายอาคม กล่าวว่า ICAO ร่วมกับ European Aviation. Safety Agency (EASA) จัดการประชุม ICAO – EASA Forum on Civil Aviation in South East Asia เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงได้หารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการบินพลเรือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้

1. ตลาดการบินร่วมอาเซียน (ASEAN Single Aviation Market : ASAM) ซึ่ง EASA ประสงค์จะสร้างตลาดการบินร่วมระหว่างยุโรปกับอาเซียน ทั้งนี้ ในระยะ 5 – 10 ปีที่ผ่านมา การเดินทางทางอากาศในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเติบโต คิดเป็นร้อยละ 5 - 6 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คิดเป็นร้อยละ 7 และมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น ซึ่งการเปิดตลาดการบินร่วมจะสร้างความเติบโตด้านการบินของไทย ปัจจุบันประเทศไทยได้พัฒนาอุตสาหกรรมการบิน อาทิ การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย การพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการบิน เป็นต้น

kom

2. ระบบห้วงอากาศอาเซียนไร้พรมแดน (Seamless ASEAN Sky : SAS) การจัดการห้วงอากาศเป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบันบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด อยู่ระหว่างพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถจัดการจราจรทางอากาศที่หนาแน่น โดยติดตั้งอุปกรณ์ ณ ศูนย์ควบคุมทุ่งมหาเมฆ และในจังหวัดต่าง ๆ คาดว่าจะแล้วเสร็จและใช้งานได้ในปี 2562 ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการจราจรทางอากาศให้สูงขึ้น

3. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จะต้องมีระบบป้องกันความปลอดภัยที่เข้มงวด เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน

kom1

4. การใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) ถือเป็นโอกาสและความเสี่ยง เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีของ Drone ได้พัฒนาไปในเชิงธุรกิจ ซึ่งในอนาคตยุโรปมีแนวคิดว่าจะใช้ Drone ขนส่งผู้โดยสาร ทั้งนี้ ปัจจุบันสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กำหนดให้ผู้ประสงค์จะปล่อย Drone ต้องขึ้นทะเบียนกับ กพท. และจะแจ้งผลการพิจารณาภายใน 15 วันทำการ

kom4

e-book-1-503x62