“ยรรยง ไทยเจริญ” คุมบังเหียน EIC เล็งยกระดับฐานข้อมูลเชิงลึก

16 เม.ย. 2561 | 19:31 น.
อัปเดตล่าสุด :17 เม.ย. 2561 | 02:31 น.
641
หลังเข้ารับตำแหน่ง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดของ EIC หรือศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา จากคำชักชวนและทาบทามของ “นายอาทิตย์ นันทวิทยา” กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์

“ยรรยง ไทยเจริญ” บอกถึงเหตุผลที่ก้าวออกมาจากรั้ววังบางขุนพรหม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ทำงานมาร่วมกว่า 15 ปีว่า “อยากเรียนรู้ประสบการณ์จากภาคธุรกิจบ้าง เพื่อจะได้เห็นพลวัตรของภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ เกิดขึ้น จึงเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ ซึ่งคำสอนหนึ่งที่ได้จากท่าน ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธปท.ที่เคยกล่าวไว้คือ การจะช่วยประเทศไม่จำเป็นต้องอยู่ธปท. เราสามารถช่วยเหลือให้ประเทศเข็มแข็ง ผ่านการทำประโยชน์ให้กับภาพรวมได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน”

ส่วนวิสัยทัศน์ภายใต้หลังคาใหม่ “ยรรยง”บอกว่า หากดูภาพรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกตอนนี้จะพบว่า เกิดเมกะเทรนด์ขึ้นมากมาย จึงอยากให้ EIC เป็นแพลตฟอร์มที่ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย หรือ stakeholder ทั้งในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ ลูกค้าไทยพาณิชย์ ภาคเอกชน สาธารณะชนในวงกว้าง เพื่อให้เข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดจากอะไร เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถนำไปวิเคราะห์ ไปใช้ตัดสินใจ หรือใช้เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจได้
554154 สเต็ปต่อไปคือ เข้าไปเจาะเชิงลึกภาพเศรษฐกิจที่เป็นวงกว้างขึ้น เช่น ที่ผ่านมา EIC เน้นวิเคราะห์เศรษฐกิจที่เป็นภาพแมคโครและภาคอุตสาหกรรม (Industry) แยกจากกัน แต่เมื่อมีเมกะเทรนด์เกิดขึ้นต้องทำให้เกิดความเชื่อมโยงกัน และนำมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจมากที่สุด ทั้งเอาภาพการลงทุน การส่งออก การย้ายฐานการเงิน หรือการวิเคราะห์ไปถึงเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ให้เห็นภาพที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ข้อมูลมากขึ้น เช่น การค้าขายในภูมิภาค (Regional Trade) จะเห็นว่า กำลังซื้อถูกเปลี่ยนจากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศกำลังพัฒนา อย่างกลุ่ม CLMV และจีน และเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเติบโต

ดังนั้น บริษัทที่เข้าไปลงทุนยังไม่ได้รู้ข้อมูลทั้งหมด EIC จะต้องเข้าไปทำตรงนี้มากขึ้น เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)

ส่วนอีกมิติที่หนี้ไม่พ้น คือ Tech Theme การ Disruptive จากเทคโนโลยีอย่างแท้จริง โดยการนำฟินเทคเข้ามาในระบบการเงิน จริงๆ แล้วจะมีผลในวงกว้างกว่านี้เยอะ ดังนั้น อยากวิเคราะห์ออกมาให้ชัดเจนมากขึ้นว่า การถูก Disruptive มีผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจและธุรกิจ รวมถึงต่อการจ้างงาน เช่น Automation มาจะเป็นมีผลอย่างไรต่อการจ้างงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องติดตามเพื่อให้ได้ประโยชน์
aa204535-นายยรรยง-ไทยเจริญ และด้านธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth) ถือเป็น Big Trend เป็นสิ่งที่ EIC ต้องทำให้ภาพชัดขึ้น ว่า ภายใต้ดอกเบี้ยที่ต่ำ การออกไปลงทุนในต่างประเทศถือเป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะปัจจุบันไทยมีตัวเลขเกินดุลค่อนข้างเยอะและสูงมากประมาณ 10% ของจีดีพี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเก็บมากกว่าลงทุน สะท้อนอาการของคนอายุเยอะ จึงเป็นโจทย์สำคัญของภาครัฐที่จะต้องช่วยกระตุ้นตรงนี้ แต่ปัจจุบันคนที่ออกมาจากเงินฝากอาจยังมีความรู้ไม่เพียงพอในการออกไปลงทุนที่หลากหลาย จึงอยากทำวิจัยมาช่วยสนับสนุนกลยุทธ์ในการลงทุน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อคนที่อยากได้ข้อมูลมากขึ้น

“EIC กำลังร่วมมือทุกสายงาน เพื่อเดินหน้าทำสิ่งใหม่ๆ และมุ่งมั่นไปในทางเดียวกันอย่าง สายงานเอสเอ็มอี ที่กำลังปรับกลยุทธ์ มีการจัดตั้งศูนย์ธุรกิจ ที่นอกจากให้เงินทุนแล้วยังให้ความรู้แก่เอสเอ็มอี ซึ่ง EIC จะเข้าไปช่วยสนับสนุนในด้านข้อมูลต่างๆ เพราะเอสเอ็มอีถือเป็นเครื่องจักรสำคัญของประเทศ ส่วนพันธมิตรภายนอกองค์กร จะร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ เพื่อให้ข้อมูลมีความหลากหลายและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น”

....................................................................
เซกชั่นการเงิน หน้า 24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,353 ระหว่างวันที่ 1-4 เม.ย. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว