"ประมง" รับนำเข้าปลาญี่ปุ่นตั้งเเต่ปี 54 ชี้ตรวจสอบเสมอ ไม่พบสารปนเปื้อน

06 มี.ค. 2561 | 14:55 น.
อัปเดตล่าสุด :06 มี.ค. 2561 | 21:55 น.
คำอ้างอิงจากสื่อของญี่ปุ่น คือ เจแปน ไทม์ และอซาฮี ชิมบุน ระบุว่า ไทยนำเข้าปลาทะเลจากเมืองฟูกุชิมะเป็นประเทศแรก คือปลาลิ้นหมาที่มาจากเขตนิวเคลียร์ในทะเลญี่ปุ่น (นำเข้ามาแล้ว 110 กิโลกรัมเเละกระจายสู่ 12 ร้านอาหารในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 มี.ค.)

- 6 มี.ค. 61 - นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในรายการเจาะลึกทั่วไทย ทางสปริงนิวส์ทีวีดิจิทัลช่อง 19 สื่อในเครือสปริง นิวส์ กรุ๊ปว่า ขอเรียนว่า เราไม่ได้มีกฎหมายห้ามนำเข้าปลาจากญี่ปุ่น ณ วันนี้ คือการนำเข้าปลามีมาโดยตลอดไม่ได้มีปัญหาอะไรเพียงแต่มีประกาศจากกระทรวงสาธารณะสุขเรื่องของการนำเข้าอาหารที่อาจมีการปนเปื้อนจากสารปนเปื้อนกัมมันตรังสี ซึ่งในข้อกำหนดมีระบุว่าต้องมีใบรับรอง ซึ่งกระทรวงสาธารณะสุขเป็นผู้กำหนด ซึ่งจะมีการบอกว่าต้องมีใบรับรอง แล้วเวลาจะตรวจปล่อยสินค้า ถ้าสำแดงมาว่าเป็นสินค้าประมง กรมประมงจะปฏิบัติตามประกาศที่เกี่ยวข้อง

"ถ้าสินค้าล็อตนี้ เท่าที่ตรวจสอบก็เป็นไปตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุขฉบับที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็ได้มีการนำเข้ามาปกติ ซึ่งก่อนหน้านี้ปลาจากประเทศญี่ปุ่นไม่ว่ามาจากเมืองไหน ก็มานำเข้ามาจากประกาศของกระทรวงสาธารณะสุข เพราะเราไม่ได้ห้ามนำเข้า เราไม่ได้มีการห้ามนำเข้า เพราะฉะนั้นวันนี้ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขเราก็จะตรวจปล่อยเป็นปกติ หลังจากนั้น พอเข้ามาในประเทศไทยแล้วจะเป็นหน้าที่ของ อ.ย. ที่จะไปดูเเละไปสุ่มตรวจเฝ้าระวัง" แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1

เมื่อถามว่า หมายความว่าตั้งแต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองฟูกุชิมะเกิดรั่วไหล เมื่อปี 2554 จนกระทั่งถึงวันนี้ ไทยยังไม่เคยมีประกาศห้ามนำเข้าปลาจากญี่ปุ่น นางอุมาพร กล่าวว่า "ใช่ ตอนนั้นมีเงื่อนไขลักษณะนี้เหมือนกัน แต่จะมีเรื่องของสินค้าทั้งหมด เช่น หมูป่า ไก่ฟ้าญี่ปุ่น เพราะมีประกาศอยู่หนึ่งฉบับ แล้วต่อมาเมื่อปี 2557 มีการยกเลิกประกาศนั้น แล้วก็มาออกประกาศอีกครั้งเมื่อปี 2558 เเละเป็นฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบัน แต่ในตอนปี 2554 นั้นเราก้ได้มีการตรวจเฝ้าระวัง เมื่อมีข่าวการแพร่กระจายของโรงไฟฟ้า เราได้ตรวจเฝ้าระวัง ณ เวลานั้น ก็ไม่พบ

เมื่อถามว่า ตอนนั้นไทยไม่ได้มีการประกาศห้ามนำเข้า นางอุมาพร กล่าวว่า "ใช่ แต่เรามีการเฝ้าระวังในลักษณะว่าอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน คือว่าประกาศชนิดนี้มีการระบุชนิดสินค้า ว่าให้เป็นไปตามเงื่อนไข แต่ไม่ได้ระบุชนิด" เมื่อถามว่า ปี 2557 ยกเลิกเเละมีการประกาศใหม่ในปี 2558 เเละใช้มาจนปัจจุบัน โดยประกาศฉบับใหม่ควบคุมเฉพาะอาหารทะเลจากญี่ปุ่น นางอุมาพรกล่าวว่า "ไม่ค่ะ ควบคุมเฉพาะ เนื้อหมูป่า ไก่ฟ้า เนื้อกวางชิกะ จากประเทศญี่ปุ่นในพื้นที่จังหวัดฟุกุชิมะ กุมมะและมิยาหงิ ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน อาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ตามประกาศของกระทรวงสาธารณะสุขที่กำหนดไว้ ส่วนของสินค้าประมงไม่ได้มีการกำหนดไว้ เพียงบอกว่าอาหารที่จะนำเข้าต้องเป็นไปตามประกาศนี้ด้วย แต่ไม่ได้มีการระบุว่าต้องมาจากจังหวัดฟุกุชิมะหรืออะไรแบบนี้ แต่ต้องมีเซอติฟิเคท (ใบรับรอง) มาจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบมาจากประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้มีข้อห้าม เพียงแต่มีข้อกำหนดดังกล่าวว่าต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ที่ระบุมียแค่เนื้อไก่ฟ้าและเนื้อกวางชิกะที่ระบุเมืองแต่อย่างอื่นไม่ระบุเมือง" แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2

เมื่อถามว่า ใบรับร้องนั้นระบุแค่ว่าไม่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีเพียงอย่างเดียว นางอุมาพร กล่าวว่า เข้าใจว่าเป็นการรังรองความปลอดภัยที่ไม่เกินมาตรฐาน ซึ่งหมายถึงมีหรือไม่มีก็ไม่แน่ใจ เพียงแต่ว่าถ้ามีต้องไม่เกินมาตรฐานสากลที่รับได้

เมื่อถามว่ากรณีที่สื่อญี่ปุ่น รายงานว่ากรณีปลาลิ้นหมาจากญี่ปุ่นนั้น ประเทศไทยจะนำเข้าเป็นล็อกแรก เมื่อวันที่ 3 มี.ค. จำนวน 110 กก. เป็นเรื่องจริงหรือไม่

นางอุมาพร กล่าวว่า "เรามีการนำเข้าปกติอยู่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ที่ด่านบอกว่าต้องการโปรโมทจึงเอาข่าวตรงนี้มาโปรโมท จึงได้กลายเป็นเรื่อง" บาร์ไลน์ฐาน

เมื่อถามว่า น่าสงสัยว่าทำไมโปรโมทข่าวนี้ไปปรากฏที่ญี่ปุ่น แทนที่จะเป็นประเทศไทย นางอุมาพรกล่าวว่า "เราก้ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ เพราะเราตรวจปล่อยสินค้าประมงตามการควบคุม และเรื่องพ.ร.บ. ของเราก็ยังไม่ครอบคลุม และในเรื่อง พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ เราก็ทำตามประกาศ ของกรมปศุสัตว์เพื่อเฝ้าระวัง เพราะฉะนั้นเรื่องของสินค้าประมงที่นำมาบริโภค จะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข"

"โดยสรุปคือ ประเทศไทยมีการนำเข้าปลาจากเมืองฟูกุชิมะมาตั้งแต่ปี 2554 แล้ว เพียงแต่มีเงื่อนไขในการนำเข้าเท่านั้นเอง ไม่ได้เพิ่งมานำเข้า"

เมื่อถามว่าที่ผ่านมามีการนำเข้าแล้วมีปัญหาต้องตีกลับ เพราะไม่ผ่านเกณฑ์หรือไม่ นางอุมาพร กล่าวว่า "เราไม่มีตัวเลขว่ามีการตีกลับ เพราะส่วนใหญ่มีการตรวจรับรองมา และส่วนใหญ่เท่าที่เราสุ่มตรวจ เราก็ไม่พบปัญหาว่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน" ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว