สมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯคาดปี 61 การใช้สื่อโดยรวมดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

27 ก.พ. 2561 | 18:38 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.พ. 2561 | 01:38 น.
สมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ สรุปภาพรวมการใช้สื่อในปีที่ผ่านมาชะลอตัว แต่เป็นในทิศทางที่ดีขึ้น  มั่นใจสถานการณ์ปี 61 การใช้สื่อเติบโตขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ พร้อมจับมือพันธมิตรจัดสัมนา  New Ecosystem for Success ผสานจุดเด่น สร้างจุดต่าง ทะยานสู่ความสำเร็จ

[caption id="attachment_263489" align="aligncenter" width="503"] นายไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายไตรลุจน์ นวะมะรัตน[/caption]

นายไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (Media Agency Association of Thailand : MAAT) เปิดเผยถึงอุตสาหกรรมสื่อในปี 2560 ที่ผ่านมาว่า “เป็นช่วงเวลาที่เราได้ผ่านประสบการณ์ทั้งสุขและทุกข์ร่วมกัน อุตสาหกรรมค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้มูลค่าการใช้สื่อโฆษณาในปี 2560 ยังชะลอตัวถึง -4% แต่ดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นจากการส่งออกและการท่องเที่ยว และการคาดการณ์ GDP จากในปีนี้จะเติบโตเฉลี่ยถึง 4%”

[caption id="attachment_263490" align="aligncenter" width="503"] นายรัฐกร สืบสุข นายรัฐกร สืบสุข[/caption]

นายรัฐกร สืบสุข อุปนายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “เมื่อพิจารณางบประมาณการใช้สื่อในปี 2560 แล้ว พบว่า สื่อโทรทัศน์ (ดิจิตอลทีวี เคเบิ้ลทีวีและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม) ได้รับงบประมาณลดลง 7%  วิทยุลดลง 16% หนังสือพิมพ์ลดลง 19% นิตยสารลดลง 33% แต่สื่อที่สวนกระแส คือ สื่อโรงภาพยนตร์ได้งบประมาณเพิ่มขึ้น 27%  สื่อนอกบ้านเพิ่มขึ้น 13% สื่อในการเดินทาง (Transit) เพิ่มขึ้น 10% สื่อในห้างสรรพสินค้า (In-store) เพิ่มขึ้น 35% และ สื่ออินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 24%”

สำหรับแคตากอรี่ที่ใช้งบประมาณโฆษณาเพิ่มขึ้นในปี 2560 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาพบว่ามีเพียง 4 อันดับเท่านั้น ได้แก่ ธุรกิจสื่อและการตลาด เพิ่มขึ้น 15% ร้านอาหารและภัตตาคาร เพิ่มขึ้น 7% ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์ เพิ่มขึ้น 6% ธนาคาร เพิ่มขึ้น 4%

“ในขณะที่แคตตากอรี่ที่ใช้งบประมาณสูงสุดยังคงเป็นกลุ่มธุรกิจหลัก แต่การใช้งบประมาณลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ธุรกิจรถยนต์ ใช้งบประมาณ 8,032.5 ล้านบาท แต่เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วน้อยลง 5% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ใช้งบประมาณ 7,457.9 ล้านบาท ลดลง 1% ธุรกิจเกี่ยวกับการสื่อสาร ใช้งบประมาณ 6,309.1 ล้านบาท ลดลง 7% การโฆษณาภาครัฐและชุมชน ใช้งบประมาณ 5,210.0 ล้านบาท ลดลง 16% ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ ใช้งบประมาณ 4,708.6 ล้านบาท ลดลง 17%” นายรัฐกร กล่าว

นายรัฐกร ยังได้เปิดเผยถึงงบประมาณการใช้สื่อในปี 2561 โดยสมาคมมีเดียฯ ด้วยว่า “สมาคมมีเดียฯ คาดการณ์ว่าการใช้สื่อโดยรวมจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยสมาคมฯ คาดการณ์ว่าสื่อนอกบ้าน (Out-Of-Home) จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 10% ในขณะที่สื่อโทรทัศน์ (ดิจิตอลทีวี เคเบิ้ลทีวีและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม) จะเติบโต 6% และสื่อที่คาดว่าเติบโตน้อยคือสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ และสื่อในโรงภาพยนตร์”

นายไตรลุจน์ กล่าวสรุปว่า ในปี 2561 คาดว่าจะเป็นปีที่ดีขึ้นของอุตสาหกรรมโดยรวม ถ้าไม่มีปัจจัยลบด้านอื่นๆ เข้ามา การเติบโตของอุตสาหกรรมก็จะเป็นไปตามที่วางไว้ สำหรับนักการตลาดนอกจากการแผนการตลาดที่เข้าถึงและเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็น Ecosystem แล้ว การเลือกสื่อในเข้าถึงจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในขณะที่ตัวสื่อเองก็ได้บูรณาการรูปแบบให้ interactive กับผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้บริโภคได้จดจำและใช้ซ้ำได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักการตลาดใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ สมาคมฯ จึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรจากสื่อและมีเดียเอเยนซี่ในการจัดการสัมนาในหัวข้อ New Ecosystem for Success ขึ้น ภายใต้แนวคิดผสานจุดเด่น สร้างจุดต่าง ทะยานสู่ความสำเร็จ ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรในวงการสื่อมาให้ข้อคิดในเรื่อง “Effectiveness Ways to gain Audience” และ เสวนาในหัวข้อ “Winning Ecosystem 2018” อนาคตของสื่อ O to O to O และ New KPI for New Success ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว