ไวตามิ้ลค์สนับสนุนภาครัฐรณรงค์สร้างสุขภาพคนไทย หนุนจัดเก็บภาษีความหวานใหม่

15 มิ.ย. 2560 | 18:03 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มิ.ย. 2560 | 01:03 น.
1.1 k
ไวตามิ้ลค์ผู้นำตลาดนมถั่วเหลือง ขานรับนโยบายรัฐบาลในการรณรงค์ลดหวานในเครื่องดื่มและอาหาร สนับสนุนการติดตราสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” บนผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลน้อย เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตปรับตัวและมีทางเลือกที่ช่วยให้ผู้บริโภคสุขภาพดีกว่าเดิม  กระตุ้นผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนกระทรวงการคลังเริ่มปรับขึ้นภาษีผลิตภัณฑ์ที่มีความหวานในปี 2561

ในงานเสวนาเรื่อง “ภาษีความหวานกับการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม” ที่จัดขึ้นโดยกรมอนามัยร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ในงาน PROPAK Asia 2017ตัวแทนจากกรมสรรพสามิต กรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และผู้ผลิตอาหารร่วมกันอภิปรายและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับทิศทางภาษีความหวาน แนวทางการปฎิบัติสำหรับผู้ประกอบการและการสร้างการรอบรู้สินค้าทางเลือกเพื่อสุขภาพ

ทั้งนี้สำหรับมาตรการจัดเก็บภาษีความหวานฉบับใหม่นั้นจะมีการจัดเก็บใน 2 ส่วน ได้แก่ 1.การจัดเก็บตามมูลค่า 2.การจัดเก็บตามปริมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลหรือความหวาน (คิดการจัดเก็บเป็นอัตรการก้าวหน้า) ได้แก่ 16 ก.ย. 60-30 ก.ย.62 ถือเป็นช่วงระยะเวลาการปรับตัว 2 ปี หากผู้ประกอบการมีความหวานของสินค้าตามเกณฑ์ คือปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 10 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ก็จะจะภาษีเท่าเดิมหรือถูกลง ถือเป็นช่วงของการปรับปริมาณน้ำตาล (สูตร )ในสินค้าให้เหมาะสมตามเกณฑ์ ,1 ต.ค.62-30 ก.ย. 64 หากผู้ประกอบการไม่ปรับสูตรเครื่องดื่มจะถูกเก็บภาษี 2 ปี ,1 ต.ค. 64- 30 ก.ย. 66 หากผู้ประกอบการยังไม่ปรับหลักสูตรจะถูกเก็บภาษี 2 ปี และตั้งแต่ 1 ต.ค. 66 เป็นต้นไป หากไม่ปรับสูตรจะถูกเก็บภาษีความหวานตามอัตราก้าวหน้า ซึ่งการจะจัดเก็บรูปแบบใหม่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เนื่องจากคนไทยติดหวานและเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ทั้งความดัน หัวใจ และโรคไต

AP1_5721

นายประจวบ ตยาคีพิสุทธิ์ผู้ผลิตและจำหน่ายนมถั่วเหลืองไวตามิ้ลค์ โดยบริษัท กรีนสปอต จำกัด กล่าวว่า “มาตรการการติดตราสัญลักษณ์ ทางเลือกสุขภาพดังกล่าว เป็นความร่วมมือของทั้งภาครัฐ เอกชน และสังคม ในการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เนื่องจากคนไทยติดหวานและเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งคนไทยที่เป็นโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มจากร้อยละ 6.9 ในปี พ.ศ. 2552 เป็น ร้อยละ 8.9 ในปี 2557 และผู้ที่มีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.7 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 37.5 ในปี 2557ตราสัญลักษณ์นี้จะเป็นเครื่องหมายทำให้ผู้บริโภคฉุกคิด และมีทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

“ไวตามิ้ลค์ ถือเป็นหนึ่งในภาคเอกชนรายแรกที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่ โดยจะนำร่องด้วยการติดตราสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพบนผลิตภัณฑ์ไวตามิ้ลค์ สูตรกลมกล่อม ซึ่งมีน้ำตาลน้อยกว่า 6 กรัมต่อ 100 มล.และเตรียมจะพัฒนาสูตรอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง   พร้อมกันนี้ ไวตามิ้ลค์ยังได้ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการปรับสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อลดปริมาณน้ำตาลลง แต่ยังคงไว้ซึ่งรสชาติที่กลมกล่อม โดยเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำด้วยการร่วมกับเกษตรกรปลูกถั่วเหลืองด้วยวิธีธรรมชาติที่ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถนำมาผลิตเป็นนมถั่วเหลืองที่มีรสชาติอร่อยกลมกล่อม เชื่อว่าทั้งการติดตราสัญลักษณ์และการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ นอกจากจะเพิ่มทางเลือกแล้ว ยังจะทำให้เกิดการตระหนักถึงการบริโภคเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว” นายประจวบกล่าว

AP1_5565

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสังคมในการจัดทำโครงการ มาตรการ และผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการบริโภคน้ำตาล  จะช่วยให้ประเทศไทยรับมือกับการก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคจะมีความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง ภาระของภาครัฐและสังคมในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้จะลดลงเช่นกัน

นายประจวบกล่าวเสริมว่า “ผู้ผลิตเป็นต้นทางในการแก้ปัญหาสุขภาพ ดังนั้น นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หวานน้อยแล้ว เราจึงให้ความสำคัญกับการปลูกฝังความรู้เรื่องโภชนาการ และสร้างนิสัยในการรับประทานที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักดูแลสุขภาพของตนเอง”

AP1_5513

ดังนั้นไวตามิ้ลค์จึงจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้เยาวชนไทย ผ่านโรงเรียน 750 แห่ง เข้าถึงนักเรียนกว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศเพื่อสร้างพฤติกรรมการบริโภคอย่างเหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออันจะนำไปสู่สังคมสุขภาพที่ยั่งยืน

“เราเชื่อว่าผู้ผลิตต้องผลิตสินค้าด้วยความรับผิดชอบ การลดปริมาณน้ำตาลธรรมชาติในเครื่องดื่มของเราไม่ใช่ทางแก้ปัญหาทั้งหมด เพราะถ้าผู้บริโภคยังคงใช้ชีวิตแบบเดิม ปัญหาจะยังอยู่ เรายังคงติดหวานต่อไป จึงต้องทำไปพร้อมกัน และต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของประชาชน” นายประจวบกล่าว