โรคร้ายที่มากับ “น้ำท่วม”

22 ส.ค. 2567 | 13:47 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ส.ค. 2567 | 14:13 น.

โรคร้ายที่มากับ “น้ำท่วม” : Tricks for Life

ในช่วง “ฤดูฝน” ที่ฝนตกหนักส่งผลให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดการระบาดของโรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อต่างๆ จึงจำเป็นต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเจ็บป่วย ซึ่งโรคที่มักระบาดในหน้าฝน ได้แก่ 

 

1.โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร

อาทิ โรคอุจจาระร่วง, อาหารเป็นพิษ, อหิวาตกโรค, โรคตับอักเสบ, โรคบิด และไทฟอยด์ ฯลฯ)

ลักษณะอาการ :

ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด วิงเวียนศีรษะ มีไข้  ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยเนื้อตัว เบื่ออาหาร หรือมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง

การป้องกัน :

  • ดื่มน้ำสะอาด
  • ควรทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกทุกครั้ง
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้ง
  • ห้ามถ่ายอุจจาระลงไปในแหล่งน้ำ หากใช้ส้วมไม่ได้ ควรถ่ายลงในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงขยะ

 

2.โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

อาทิ ไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่, ปอดบวม ฯลฯ

ลักษณะอาการ : มีไข้ มีน้ำมูก มีเสมหะ คัดจมูก ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร

การป้องกัน :

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรค
  • ดูแลร่างกายให้แห้งและอบอุ่นอยู่เสมอ
  • รักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆ
  • ควรปิดปากและจมูกเมื่อไอ หรือจาม
  • ดื่มน้ำอุ่นมากๆ
  • หากมีไข้สูงเกิน 7 วันควรพบแพทย์

 

3.โรคน้ำกัดเท้า

ลักษณะอาการ : คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีผิวหนังอักเสบบวมแดงเป็นผื่นพุพอง หรือมีลักษณะเท้าเปื่อยและเป็นหนอง

การป้องกัน :

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ ลุยโคลนหรือแช่น้ำนานๆ
  • หากจำเป็นต้องลุยน้ำ ลุยโคลน แช่น้ำ ควรรีบล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำ พร้อมเช็ดให้แห้งโดยเร็ว
  • หากมีบาดแผล ควรป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำ เช่น สวมรองเท้าบูทยาง

 

4.โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส

ลักษณะอาการ : มีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา หรือหลัง บางรายอาจมีอาการตาแดง เบื่ออาหาร มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง และปัสสาวะน้อย

การป้องกัน :

  • หลีกเลี่ยงการลงลุยน้ำ ลุยโคลน หรือแช่น้ำเป็นเวลานานๆ
  • หากจำเป็นต้องลุยน้ำ ลุยโคลน แช่น้ำ ควรรีบล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำ แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็ว
  • หากมีบาดแผล ควรป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำ เช่น สวมรองเท้าบูทยาง

 

5.โรคตาแดง

ลักษณะอาการ : ระคายเคืองตา ตาแดง หนังตาบวม ตาสู้แสงไม่ได้ มีน้ำตาไหล หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง

การป้องกัน :

  • ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที เมื่อเจอฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้าตา
  • เมื่อมีอาการคันตา ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก
  • หากพบผู้ป่วยที่มีอาการของโรคตาแดง ควรแยกผู้ป่วยออกจากผู้อื่นก่อน
  • ไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคตาแดง
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์

โรคร้ายที่มากับ “น้ำท่วม”

6.โรคไข้เลือดออก

ลักษณะอาการ : มีไข้สูงตลอดทั้งวัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีจุดเลือดออกตามผิวหนังตามลำตัว หรืออาจมีเลือดออกตามไรฟัน ถ่ายดำ ไอปนเลือด

การป้องกัน :

  • หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
  • ติดมุ้งลวดที่ประตูและหน้าต่าง
  • ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
  • กำจัดแหล่งน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  • ห้ามใช้ยาแอสไพริน
  • พบแพทย์ทันทีที่มีอาการไข้สูง ไม่ลด

 

7.โรคหัด

ลักษณะอาการ :

ไอ จาม มีเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย อาการหลังจากได้รับเชื้อ 8 – 12 วัน มีไข้ ตาแดง พบจุดขาวๆ เล็กๆ ในกระพุ้งแก้ม

การป้องกัน :

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย
  • ฉีควัคซีน
  • หากไข้ไม่ลด ควรพบแพทย์

 

8.โรคไข้มาลาเรีย

ลักษณะอาการ :

หลังรับเชื้อ 7 – 10 วัน จะปวดศีรษะ โดยทั่วไปคล้ายไข้หวัด แต่หลังจากนั้นจะหนาวสั่นและไข้สูงตลอดเวลา อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

การป้องกัน :

  • หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
  • ติดมุ้งลวดที่ประตูและหน้าต่าง
  • ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ป้องกันการถูกยุงกัด
  • พบแพทย์ทันทีที่มีความเสี่ยง