รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ"ชุมพร-ระนอง" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก

23 ก.ค. 2564 | 13:59 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ค. 2564 | 22:28 น.
4.9 k

    คนระนองได้แน่ทางรถไฟสายใหม่เชื่อมชุมพร  แต่เวลานี้ยังไม่สะเด็ดน้ำ เนื่องจากมีการเสนอทางเลือกใหม่ที่ยกระดับใหญ่ขึ้นไปอีก ทำให้แผนงานที่ศึกษาเตรียมจะลงมือต้องรื้อกลับมาทำใหม่ เพื่อรอการตัดสินใจขั้นสุดท้ายอีกครั้ง

แนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ชุมพร-ท่าเรือระนอง ที่ดำเนินการมาจนได้ข้อสรุปแนวสายทางไปแล้วนั้น จะต่อยอดจากผลการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมของ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่เคยศึกษาไว้เมื่อปี 2561 
    

การศึกษาของสนข.เมื่อปี  2561 ศึกษาแนวทางเลือก 4 สายทาง ซึ่งต่อมาได้เลือกแนวทางเลือกที่ 1 เป็นรถไฟทางเดี่ยว(พร้อมขยายเป็นทางคู่ในอนาคต)  มีระยะทาง 108 กิโลเมตร (กม.) 9 สถานี โดยแนวสายทางจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยกเข้าสู่ตัวเมืองระนองอีก 5 กิโลเมตร  วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท 

รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ\"ชุมพร-ระนอง\" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก
    แนวเส้นทางแยกจากเส้นทางรถไฟสายใต้ช่วงสถานีแสงแดด ในพื้นที่อ.เมืองชุมพร  เบี่ยงแนวทิศตะวันตก ผ่านทางหลวงชุมพร-พัทลง(41) ไปตามแนวถนนเพชรเกษม ช่วงชุมพร-ระนอง (ทล.4)  ซึ่งปัจจุบันขยายเป็น 4 เลนตลอดเส้นทางแล้ว (แนวทางเลือกที่ 1)
    

ถ้าไม่มีอะไรสะดุดการพัฒนาเส้นทางรถไฟชุมพร-ระนองตามแนวเส้นทางนี้ กำหนดเป้าหมายเปิดให้บริการปี 2568 มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 12.20% โดยคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการในปีแรกอยู่ที่ 5,724 คนต่อปี และจะเพิ่มเป็นจำนวน 11,710 คนต่อปี ภายในระยะเวลา 30 ปี หลังจากเปิดให้บริการ คิดเป็นปริมาณการเติบโตราว 100% หรือคิดเป็น 28% ต่อระยะเวลา 10 ปี 
    

ทั้งนี้ เป็นไปตามแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (SEC) เพื่อใช้ประโยชน์จากโครงข่ายทางรถไฟสายหลัก (ภาคใต้) ที่อยู่ระหว่างลงทุนขยายเป็นรถไฟทางคู่  ที่ตั้งเป้าหมายให้ระนองเป็นประตูการค้าทางทะเลฝั่งตะวันตก

 

โดยหวังเชื่อมโยงการขนส่งวัตถุดิบ สินค้าขั้นกลาง สินค้าสำเร็จรูป จากฐานการผลิตในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) กับกลุ่มประเทศรอบอ่าวเบงกอล(BIMS-TEC) ในเอเซียใต้ และเชื่อมกับฐาผลิตทางการเกษตรในภาคใต้ โดยพืชในเป้าหมายคือ ปาล์มน้ำมัน กับโรงงานทำผลิตภัณฑ์ขั้นสูงจากน้ำมันปาล์มในอีอีซี 
    
ตามวัตถุประสงค์นี้ ในแผนจึงไม่มีเรื่องท่าเรือที่ชุมพรในฝั่งอ่าวไทยรวมอยู่ในแผนการศึกษา   และทำเป็นเส้นทางรถไฟทางเดี่ยวไปก่อน หากมีปริมาณการขนถ่ายสูงขึ้นสามารถขยายเป็นทางคู่ได้ในอนาคต 
  

รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ\"ชุมพร-ระนอง\" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก  

รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ\"ชุมพร-ระนอง\" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก

แต่เมื่อรัฐบาลยกระดับจากระดับ  SEC สู่แผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิต ระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC)  ผ่านประตูการค้าในฝั่งอันดามัน  ในลักษณะการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ  รวมถึงเพื่อรองรับการเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้า ของเรือขนส่งสินค้าระหว่างกลุ่มประเทศมหาสมุทรแปซิฟิค กับกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย  ในลักษณะการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge) 
    

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ประจำเดือน ก.ค. 2564  จะพิจารณาอนุมัติว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา MMA  Consortium ทำการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)  

 

โดยจะศึกษาต่อยอดจากผลการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมของสนข. เมื่อปี 2561 ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC)  โดยจะเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land  Bridge) และการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)  และระบบราง (MR-MAP) ตามนโยบายของกระทรวงคมมนาคม 
    

เบื้องต้นจะปรับแก้แนวเส้นทางบางส่วน เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมตามผลการศึกษาของ สนข.ไม่เหมาะสมกับการใช้เป็นแนวเส้นทางที่จะพัฒนาควบคู่ไปกับมอเตอร์เวย์ เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมอยู่ใกล้และเกือบขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 ที่เป็นทางหลวงสายหลัก และยังไม่ตอบสนองการเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึก ตามการศึกษาโครงการแลนด์บริดส์ที่ต้องสร้างโครงข่ายคมนาคม เชื่อมโยงการเดินทางของคน และสินค้าเข้าสู่สถานีรถไฟระนอง ต่อไปยังถนนและเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกชุมพร ด่านศุลกากร  มอเตอร์เวย์ สายชุมพร-ระนอง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงท่าอากาศยานระนองและชุมพรอีกด้วย 
รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ\"ชุมพร-ระนอง\" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก     

จุดเริ่มต้นโครงการตามแนวเส้นทางใหม่ เปลี่ยนจากพื้นที่อ.เมืองชุมพร ลงไปทางใต้  คือ เริ่มที่ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมรั่ว ต.บางน้ำจืด เขตอ.หลังสวน จ.ชุมพร  ตัดผ่านไปทางตะวันตก ผ่านทางรถไฟสายใต้ บริเวณทิศเหนือของสถานีควนหินมุ้ย 
    

จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านทางหลวง ทล.หมายเลข 4097  และตัดผ่าน ทล.41 (แยกปฐมพร-พัทลุง) และขนานไปกับแนว ทล.4006  (สายราชกรูด-หลังสวน) ผ่านพื้นที่ภูเขา และตัดกับ ทล.4006  จากนั้นมุ่งลงไปทางใต้  ขนานกับ ทล.4 (ถนนเพชรเกษม)  โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของ ทล.4 ผ่านด้านหลังของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง 
    

จากนั้นแนวเส้นทางโค้งขวามุ่งไปสู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านพื้นที่ป่าชายเลน  ไปสิ้นสุดที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณอ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง  โดยเส้นทางผ่านพื้นที่ 9 ตำบล 3 อำเภอ ของ 2 จังหวัด ได้แก่ ต.บางน้ำจืด ต.นาขา ต.วังตะกอ และ ต.หาดยาย ของ อ.หลังสวน จ.ชุมพร  ต.ปังหวาน ต.พะโต๊ะ และ ต.ปากทรง ของ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร  และ ต.ราชกรูด จ.ระนอง 
รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ\"ชุมพร-ระนอง\" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก     

สำหรับเส้นทางรถไฟใหม่จะเป็นแนวเส้นตรงมากขึ้น ช่วยลดค่าก่อสร้าง และผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินชุมชน มีความยาวตลอดแนวเส้นทางประมาณ 91 กม. คาดว่าใช้งบประมาณการลงทุน 3.5 หมื่นล้านบาท  
    

นอกจากมีถนนมอเตอร์เวย์ร่วมกับรถไฟทางคู่แล้ว ในแผนงานเป็นทางรถไฟเชื่อม 2 ฝั่งทะเล จึงจะต้องมีท่าเรือน้ำลึกเพื่อเป็นจุดขึ้นลงสินค้าทั้งทางฝั่งอ่าวไทย ที่อ.หลังสวน ชุมพร และที่อ่าวอ่าง ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง ที่ต้องลงทุนใหม่  จากแนวเดิมที่เส้นทางรถไฟจะไปสิ้นสุดที่ท่าเรือระนอง ในเขตอ.เมืองระนอง 
    
รายงานข่าวจาก รฟท.แจ้งต่อว่า การศึกษาจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี  คาดว่าจะเสนอรายงานอีไอเอได้ในช่วงปลายปี 2565  จากนั้นเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติโครงการในปี 2566  ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และกำหนดเปิดให้บริการในปี 2573  

รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ\"ชุมพร-ระนอง\" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก

     รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ\"ชุมพร-ระนอง\" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก

นายนิตย์   อุ่ยเต็กเค่ง  รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า แผนแนวคิดดังกล่าว ถือเป็นความก้าวหน้าและคืบหน้า ในการรองรับและเตรียมพร้อมต่อยอดโครงการก่อสร้างทางรถไฟช่วงชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เพื่อให้ระนองเป็นประตูการค้า ทำให้ประเทศมีเมืองท่าฝั่งตะวันตกเช่นในอดีตอีกครั้ง
    

โดยแผนโลจิสติกส์เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งนี้ จะมีทั้ง1.ท่าเรือชาบฝั่งอ่าวไทย (Coastal Port) มีขนาดร่องน้ำลึก 5-6 ม. และรองรับเรือขนาด 200-300 ตู้   เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่SEC กับ EEC  2.ท่าเรือเพื่อการส่งออกและนำเข้า (Gateway  Port) ขนาดร่องน้ำลึก 8-9 ม. และรองรับเรือขนาด 1,000-1,200 ตู้   ของSEC กับประเทศในภูมิภาค และ3.ท่าเรือเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ (Tarnsshipment Port) มีขนาดร่องน้ำลึก 15-16 ม.  และรองรับเรือขนาด 5,000-7,000 ตู้    ระหว่างกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค กับกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย    
    โดยท่าเรือฝั่งอันดามันที่ระนอง จะมีทั้ง  1. เชื่อมโยงท่าเรือในกลุ่มประเทศ BIMSTEC โดยมีขนาดร่องน้ำลึกประมาณ 8-9 ม. รองรับเรือขนาดประมาณ 1,000-1,200 ตู้  และ 2.เชื่อมโยงท่าเรือในกลุ่มประเทศ กลุ่มยุโรป  แอฟริกา  และตะวันออกกลาง โดยมีขนาดร่องน้ำลึกประมาณ 15-16 ม.  รองรับเรือขนาด 5,000-7,000 ตู้ (ในอนาคต โดยอาจทำท่าเรือน้ำลึกนอกชายฝั่ง) 
    

โครงการดังกล่าวได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการให้บริการขนส่งสินค้า 3 ส่วนคือ 
     รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ\"ชุมพร-ระนอง\" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก

1.เป็นเส้นทางลัดของเส้นทางเดินเรือหลัก เชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค เป็นทางเลือกในการถ่ายลำการขนส่งสินค้าในภูมิภาค (Transshipment Port)  และสะพานเศรษฐกิจพลังงาน (Oil  Bridge) 
    

2. เป็นเส้นทางสำหรับสินค้านำเข้าและส่งออก ระหว่างไทยกับประเทศทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และ 
    

3. เป็นเส้นทางสำหรับสินค้าที่จะมาจากทางจีนตอนใต้ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่หลังท่า โดยเฉพาะเรื่องการประกอบชิ้นส่วน (Amsembly)  
    

ซึ่งแนวสายทางรถไฟที่ทบทวนใหม่นี้ ใกล้เคียงกับแนวทางเลือกที่ 4 ของรายงานการศึกษาเบื้องต้นของสนข.เมื่อปี 2561 โดยต่อแนวสายทางจากเดิมที่แยกจากทางรถไฟสายใต้ ต่อไปถึงท่าเรือใหม่ของชุมพรที่เขตอ.หลังสวน และฝั่งอันดามันจากเดิมแนวสายทางต้องโค้งขวาที่ต.ราชกรูด แล้วลากยาวขึ้นไปหาท่าเรือระนองในเขตอ.เมืองระนอง ก็เบี่ยงแนวไปออกทะเลอันดามันที่อ่าวอ่างเลย โดยต้องศึกษาแผนสร้างท่าเรือน้ำลึกใหม่ควบคู่ไปพร้อมกัน 
    เ

ปลี่ยนแนวคิดรื้อแผนใหม่อาจต้องล่าช้าไปอีก 6-7 ปี แต่ถ้าโปรเจ็กแลนด์บริดจ์เกิด คนระนองจะได้โครงการยักษ์ระดับบิ๊กเบิ้มกันเลยทีเดียว 

รื้อใหม่ใหญ่ขึ้นทางรถไฟ\"ชุมพร-ระนอง\" ยกระดับโลจิสติกส์เชื่อมโลก

รายงาน/บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

หน้า 7 ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,698 วํนที่ 22-24 กรกฎาคม พ.ศ.2564