การถูก force sell  และ การระมัดระวัง

22 ม.ค. 2568 | 07:00 น.

การถูก force sell  และ การระมัดระวัง คอลัมน์ SUPER TRADER โดย พิทวัส เกียรติวีรชน Super Trader

KEY

POINTS

  • การที่หุ้นถูก Force Sell เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อโบรกเกอร์ขายหุ้นในพอร์ตของนักลงทุน สาเหตุหลักมักมาจากการมูลค่าของพอร์ตลดลงจนต่ำกว่าระดับที่กำหนด
  • เมื่อมีหุ้นถูก Force sell จะส่งผลต่อแรงกดดันต่อ sentiment ของตลาด เพราะคนจะกลัวทำให้ต้องลดความเสี่ยงกับหุ้นที่ถืออยู่ลง ทำให้ดัชนีภาพรวมอาจจะปรับตัวลงได้ในระยะสั้น 
  • สิ่งที่ควรระวัง คือต้องตรวจสอบข้อมูลการจำนำหุ้น ติดตามข่าวสารของผู้ถือหุ้นใหญ่ และต้องประเมินความเสี่ยง ก่อนการลงทุน

การถูก force sell และ การระมัดระวัง คอลัมน์ SUPER TRADER โดย พิทวัส เกียรติวีรชน Super Trader

 

การที่หุ้นถูก Force Sell เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อโบรกเกอร์ขายหุ้นในพอร์ตของนักลงทุน โดยสาเหตุหลักมักมาจากการที่มูลค่าของพอร์ตลดลงจนต่ำกว่าระดับที่กำหนด ซึ่งมักจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Margin Call หรือการไม่สามารถชำระเงินตามกำหนดได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อหุ้น
 

ด้านผลกระทบต่อตัวหุ้น


1. แรงขายเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน 
หุ้นที่ถูกบังคับขายมักจะถูกขายในปริมาณมากในช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้เกิดแรงขายที่กดดันราคาหุ้นให้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำหลายครั้ง เราจะเห็นการขายจนหุ้นถึง Floor ได้ ให้ระวังเป็นพิเศษ เพราะถ้าเกิดประเด็นมีโอกาสจะมี Floor ต่อไป ไม่ได้จบแค่ Floor แรก โดยหุ้นจะลงต่อเรื่อยๆ จนหุ้นที่ถูก force sell โดนบังคับขายจนหมด หุ้นจึงจะเด้งได้

2. ความผันผวนของราคาหุ้น 
การขายหุ้นในปริมาณมากและรวดเร็วอาจทำให้ราคาหุ้นผันผวนมากกว่าปกติ หลังจากที่หุ้นถูก Force Sell จนหมด มักจะ เด้งฟื้นตัวได้เมื่อแรงขายหมดไป หรือ ตาม Wyckoff logics คือ เกิด selling climax แล้วตามมาด้วย automatically rally

พิทวัส เกียรติวีรชน Super Trader

 

3. ความเชื่อมั่นของนักลงทุน 
หุ้นที่ถูก Force Sell เป็นหุ้นที่มีนักลงทุนรายย่อยถือครองจำนวนมาก อาจทำให้เกิดความตกใจกลัว และส่งผลให้เกิดแรงขายต่อเนื่องจากนักลงทุนรายอื่นที่กังวลเกี่ยวกับแนวโน้มราคา แถมยังมีโอกาสส่งผลกระทบต่อ sentiment ของหุ้นตัวอื่นในตลาดด้วย

4. volume เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ในช่วงที่มี Force Sell ปริมาณการซื้อขายในหุ้นนั้นอาจเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ เพราะโบรกเกอร์ต้องขายออกในตลาดเพื่อชดเชยความเสี่ยง ซึ่งถ้ามองในรูปแบบของเทรนด์ คือ เป็นการ confirm การจบรอบของหุ้นหรือ confirm การเป็น downtrend 
 


 

ผลกระทบต่อ sentiment ของตลาด


1. เมื่อมีหุ้นถูก force sell จะส่งผลต่อแรงกดดันต่อ sentiment ของตลาด เพราะคนจะกลัวทำให้ต้องลดความเสี่ยงกับหุ้นที่ถืออยู่ลง ทำให้ดัชนีภาพรวมอาจจะปรับตัวลงได้ในระยะสั้น 

2. ปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาด หากมี Force Sell เกิดขึ้นในหุ้นจำนวนมาก อาจสะท้อนถึงปัญหาทางเศรษฐกิจหรือการลงทุน เช่น ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนใช้ Margin ลดลง

 

สิ่งที่นักลงทุนเราปรับตัว คือ 


1. เราควรหลีกเลี่ยงการใช้ Margin  ถ้าจะมีการใช้ margin ควรมีการวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการถูกบังคับขายในกรณีที่ราคาหุ้นปรับตัวลง
2. เราควรอัพเดตสถานะพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีหุ้นตัวไหนถึงจุด stoploss/ ถึงเป้าขายทำกำไร หรือถึงราคาที่ควร trailing stop
3.เราควรเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานดี รวมถึงมี story รองรับ การเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ราคาหุ้นจะร่วงลงอย่างหนักในระยะสั้น หรือแม้จะล่วงลงก็จะมีแรงซื้อกลับจาก smart money ได้

การถูก Force Sell เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นในระยะสั้น แต่ผลกระทบระยะยาวมักขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานของหุ้นและความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดโดยรวม หากหุ้นมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี ราคามักฟื้นตัวกลับมาได้ในภายหลัง
 

เงื่อนไขที่จะทำให้หุ้นเกิด Force Sell 


1. หุ้นที่ซื้อด้วยบัญชีมาร์จิ้น 

  • -เกณฑ์การ Force Sell: เกิดขึ้นเมื่อมูลค่าหุ้นในพอร์ตลดลงจนถึงระดับต่ำกว่าที่โบรกเกอร์กำหนด 
  • ถ้านักลงทุนใช้เงินกู้ยืม (Margin) ซื้อหุ้น หากราคาหุ้นตกลงจนทำให้มูลค่าหลักประกันไม่เพียงพอ โบรกเกอร์จะส่ง Margin Call เพื่อให้นักลงทุนเติมเงินเพิ่ม
  • -หากไม่เติมเงินหรือไม่เพิ่มหลักประกันตามเวลาที่กำหนด โบรกเกอร์จะขายหุ้นออกเพื่อปิดความเสี่ยง

2. หุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ

  • -หุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายน้อย (หุ้นสภาพคล่องต่ำ) เพราะ หากใช้ Margin และราคาหุ้นปรับลดลงอย่างรวดเร็ว หุ้นอาจถูก Force Sell ได้ เนื่องจากราคามีความผันผวนสูง

3. หุ้นที่ราคาลดลงอย่างรุนแรง (volatile สูง)

  • -หุ้นที่เผชิญกับการขายจำนวนมากและราคาลดลงอย่างรวดเร็ว (เช่น หุ้นที่มีข่าวลบหรือความเสี่ยงสูง) อาจส่งผลให้นักลงทุนรายย่อยหรือรายใหญ่ที่ใช้ Margin ต้องถูกบังคับขาย
     

ประเภทของหุ้นที่อีโอกาสโดน Force Sell

1. หุ้นที่มีการเก็งกำไรสูง เช่น  หุ้นปั่น หรือ หุ้นขนาดเล็ก
2. หุ้นที่ราคาลดลงต่อเนื่องจน หลุดแนวรับสำคัญ และมีนักลงทุนใช้ Margin สูง หุ้นพวกนี้เราแยกแยะได้คือ กราฟจะเป็นขาลงมาก่อนหน้า
3. หุ้นที่มีข่าวเชิงลบมากระทบ เช่น ผู้ถือหุ้นใหญ่ขายหุ้น , งบขาดทุนหนัก, ปัญหาการบริหาร


การนำหุ้นไปจำนำ (Pledge ) เป็นกระบวนการที่ผู้ถือหุ้นใหญ่นำหุ้นที่ตนถืออยู่ไปใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินหรือรับสินเชื่อ 
 


 

ผลกระทบต่อตัวหุ้น

1. แรงกดดันด้านราคา 
หากผู้ที่นำหุ้นไปจำนำ ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา ผู้ให้กู้ อาจจะขายหุ้นออกในตลาดเพื่อชำระหนี้ ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันด้านราคาหุ้นให้ลดลง โดยเฉพาะในกรณีที่หุ้นนั้นมีสภาพคล่องต่ำ

2. ความเชื่อมั่นของนักลงทุน 
การที่ผู้ถือหุ้นใหญ่จำนำหุ้นอาจถูกมองว่าเป็นสัญญาณลบ เนื่องจากนักลงทุนอาจมองว่าเจ้าของบริษัทขาดสภาพคล่องทางการเงินหรืออาจมีปัญหาทางธุรกิจ 

3. โครงสร้างการถือหุ้น 
ในกรณีที่หุ้นถูก force sell จำนวนมาก หุ้นอาจถูกเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท และอาจส่งผลต่อการบริหารและการควบคุมบริษัทในระยะยาว

 

ผลกระทบต่อบริษัท

1. การรับรู้ความเสี่ยงด้านCredit
หากผู้ถือหุ้นใหญ่นำหุ้นไปจำนำ อาจสะท้อนถึงปัญหาสภาพคล่องของผู้ถือหุ้นหรือกิจการ ซึ่งอาจส่งผลต่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทโดยรวม

2. การเพิ่มความเสี่ยงในการถูกครอบงำกิจการ
หากหุ้นที่จำนำถูกขายให้กับนักลงทุนรายใหม่ในปริมาณมาก อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างผู้ถือหุ้น
 

สิ่งที่ควรระวัง

  • ตรวจสอบข้อมูลการจำนำหุ้น เราสามารถตรวจสอบข้อมูลการจำนำหุ้นผ่านรายงานของตลาดหลักทรัพย์ หากเราพบว่ามีการจำนำหุ้นในปริมาณสูง อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยง
  • ติดตามข่าวสารของผู้ถือหุ้นใหญ่ หากผู้ถือหุ้นใหญ่มีปัญหาทางการเงิน อาจนำไปสู่แรงขายหุ้นในตลาดหรือความไม่มั่นคงในโครงสร้างการบริหารของบริษัท
  • ประเมินความเสี่ยง หุ้นที่มีการจำนำหุ้นสูงมักมีความเสี่ยงที่ราคาจะลดลงอย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดการบังคับขาย นักลงทุนควรประเมินความเสี่ยงนี้ก่อนการลงทุน

ดังนั้น
การจำนำหุ้นมีผลกระทบโดยตรงต่อตัวหุ้นในแง่ของราคาและบริษัท โดยเฉพาะในแง่ของความผันผวนของราคาและความเชื่อมั่นของนักลงทุน หากมีการจำนำหุ้นในปริมาณมาก หรือมีปัญหาด้านการชำระหนี้ หุ้นนั้นอาจถูกกดดันจากแรงขายบังคับในตลาด เราจึงควรติดตามข้อมูลการจำนำหุ้นอย่างใกล้ชิดและประเมินความเสี่ยงก่อนลงทุนในหุ้นที่มีการจำนำสูง