ความน่ากลัวของการพิมพ์เงินและผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

15 ม.ค. 2568 | 07:30 น.

ความน่ากลัวของการพิมพ์เงินและผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ คอลัมน์ SUPER TRADER โดย สรวิศ กลั่นแก้ว Super Trader

KEY

POINTS

  • อัตราการพิมพ์เงินของประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-8% การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบนี้ส่งผลโดยตรงต่อค่าครองชีพและความต้องการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • การพิมพ์เงินในอัตราสูงเป็นดาบสองคม แม้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่ระยะยาวกลับสร้างแรงกดดันต่อบริษัทที่ไม่สามารถเติบโตตามอัตราการขยายตัวของปริมาณเงิน

ความน่ากลัวของการพิมพ์เงินและผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ คอลัมน์ SUPER TRADER โดย สรวิศ กลั่นแก้ว Super Trader

 

เมื่อเรากำลังอยู่ในโลกของทุนนิยม มันไม่ใช่เรื่องแค่การเงินส่วนบุคคล หรือเป็นปัญหาส่วนบุคคลอีกต่อไปต่อไป ไม่รวมไปถึงบริษัทที่ไม่สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนต่ำ และบริษัทที่ไม่สามารถ สร้างรายได้ และ productivity ได้ทันการเพิ่มขึ้นของเงิน  

ในปัจจุบัน อัตราการพิมพ์เงินของประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-8%  (Refer การเติบโตกราฟ M2) การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบนี้ส่งผลโดยตรงต่อค่าครองชีพและความต้องการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในอีกด้านหนึ่ง หากบริษัทใดไม่สามารถสร้างการเติบโตของรายได้ให้เกินกว่าอัตราการพิมพ์เงิน บริษัทนั้นจะเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนทั้งในเชิงธุรกิจและแรงงาน

ผลกระทบต่อพนักงานและบริษัท

เมื่อรายได้ของบริษัทเติบโตช้ากว่าอัตราการพิมพ์เงิน การขึ้นเงินเดือนพนักงานย่อมไม่สามารถตามทันอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพได้ คนที่เข้าใจความจริงข้อนี้ โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความสามารถสูง มักเลือกปกป้องตัวเองด้วยการย้ายไปทำงานกับบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตและการจ่ายผลตอบแทนที่สูงกว่า

ในระยะยาว บริษัทที่ไม่สามารถปรับตัวให้เติบโตทันความเปลี่ยนแปลงนี้จะสูญเสีย “มันสมอง” หรือบุคลากรที่สำคัญที่สุดขององค์กรไป ส่งผลให้ศักยภาพของบริษัทลดลงอย่างต่อเนื่อง นี่คือวงจรที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันขององค์กรยิ่งอ่อนแอลงเรื่อย ๆ

กรณีของประเทศไทย

จากการสังเกต พบว่าบริษัทในประเทศไทยกว่าครึ่ง กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ เพราะไม่สามารถดูแลหรือให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความต้องการของพนักงานที่ต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและต้นทุนชีวิตที่เพิ่มขึ้น

การพิมพ์เงินในอัตราสูงเป็นดาบสองคม แม้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ในระยะยาวกลับสร้างแรงกดดันต่อบริษัทที่ไม่สามารถเติบโตตามอัตราการขยายตัวของปริมาณเงิน ส่งผลกระทบต่อบุคลากรและโครงสร้างทางเศรษฐกิจในภาพรวม หากองค์กรไม่ปรับตัว อาจกลายเป็นเหยื่อของระบบทุนนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยการแข่งขันอย่างไม่หยุดยั้ง

การทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทันกับผลกระทบของอัตราการพิมพ์เงินจึงเป็นเรื่องจำเป็นทั้งสำหรับองค์กรและบุคคลที่ต้องการรักษาความมั่นคงในระยะยาว