KEY
POINTS
เรารู้กันหรือไม่ว่าเงินสดที่เราถืออยู่ในมือนั้นกำลังเสื่อมค่าลงอย่างมากจากการพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบ(QE) ในช่วงที่ผ่านมา แต่ต่อให้จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากการควบคุมปริมาณเงิน (QT) ก็ยังไม่สามารถควบคุมมันได้ดีเท่าที่ควร และสิ่งที่องค์กรหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องเงินเฟ้อนั้นให้ข้อมูลเราอยู่จริงๆหรือเปล่า วันนี้ผมจะเอาชุดแนวความคิดอีกชุดหนึ่งมาลองแชร์กันดูว่าสิ่งที่เขาบอก เขาหรอกเราอยู่รึเปล่า!!!
เริ่มต้นที่เรื่องของเงินเฟ้อตอนนี้เราถูกฝั่งให้เข้าใจว่าเงินเฟ้อนั้นวัดจาก CPI ที่มีการคำนวณด้วยองค์กรๆหนึ่งของภาครัฐถ้าเป็นของประเทศไทยคือ สภาพัฒน์ฯ ที่ทุกๆเดือนจะมีรายงานตัวเลขเงินเฟ้อออกมาแต่เรารู้กันไหมว่าตัวเลขพวกนั้นมาจากไหน? แล้วตัวเลขพวกนั้นมันน่าเชื่อถือได้แค่ไหนว่านั้นคือตัวเลขเงินเฟ้อจริงๆ? ที่ผ่านมาเรียนตามตรงว่าเขาประกาศอะไรมาเราที่เป็นแค่คนธรรมดาก็เชื่อไปหมดว่าเดือนนี้เงินเฟ้อเล็กน้อยนะ เดือนนี้เงินฝืดนิดหน่อย แต่มีข่าวๆหนึ่งที่ทำให้ผมหันกลับมาถามกับตัวเองจริงๆว่าเราเชื่อข้อมูลพวกนี้ได้แค่ไหนกันนะคือข่าวที่ว่า CPI US จะมีการตัดกาแฟและโกโก้ออก ด้วยเหตุผมที่ราคาสินค้าทั้ง 2 ชนิดนั้นสูงเกินไป ถึงแม้ว่าองค์กรของ US อย่าง U.S. Bureau of Labor Statistics ที่ทำหน้าที่เรื่องการรายงานตัวเลข CPI จะไม่ได้ชี้แจงอย่างชัดเจน แต่ทำให้ผมตระหนักถึงข้อมูลข่าวสารที่เราได้รับรู้นั้น อาจถูกองค์กรหรือหน่วยงานปกปิดข้อมูลที่อาจทำให้เรามองไม่เห็นภาพรวมที่แท้จริงของสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเงินและการวางแผนการลงทุน การรู้เท่าทันและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารอย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งสำคัญ การพึ่งพาข้อมูลเพียงแหล่งเดียวอาจไม่เพียงพอ
ข่าวนี้ทำให้ผมถึงกับต้องกลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจริงๆแล้วองค์กรพวกนี้สามารถทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้โดยการตัดสินค้าบ้างอย่างและเพิ่มบางอย่าง ผมถึงกับตั้งคำถามกับตัวเองว่าถ้าเป้นอย่างนั้นจริง แล้วเราสามารถเชื่อในสิ่งที่องค์กรรายงานได้หรือไม่ แล้วการวัดเงินเฟ้อมันมีวิธีดูจากแหล่งข้อมูลอื่นอีกไหม จนผมได้เจออีกแหล่งหนึ่งคือการดูจากแหล่งข้อมูลของ Money supply M1 และ Money supply M2 ของ Edmund C. Moy กล่าวว่า “นโยบายการเงินของประเทศของเรากําลังขยายตัวซึ่งหมายถึงการเพิ่มปริมาณเงินและการลดอัตราดอกเบี้ยให้ใกล้ศูนย์ เป็นผลให้อัตราการเติบโตของเงินดอลลาร์ทั้งหมดหมุนเวียน M2 Money Supply เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ 27% ในปี 2563-2564 ปริมาณเงิน M2 ใช้เป็นตัวบ่งชี้การเพิ่มขึ้น หรือ ลดลงของระดับเงินเฟ้อ นี่เป็นเพราะมันเป็นตัวชี้วัดที่กว้างขึ้นของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมากกว่าเมื่อเทียบกับ M1 – ซึ่งดูเฉพาะเงินที่อยู่ในมือของประชาชน เป็นผลให้ M2 เสนอภาพรวมที่ครอบคลุมมากขึ้นของระดับเงินเฟ้อเพราะหากอุปทานทางการเงิน M2 เพิ่มขึ้นอัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้น หากอุปทาน M2 ถูกจํากัดโดยธนาคารกลางอัตราเงินเฟ้ออาจลดลง อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีความล่าช้าระหว่าง 12 ถึง 18 เดือนสําหรับระดับเงินเฟ้อเพื่อตอบสนองต่ออุปทานทางการเงินที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นหากอุปทานทางการเงินเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตทางเศรษฐกิจยังคงเหมือนเดิม หากผลผลิตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับปริมาณเงินอัตราเงินเฟ้ออาจไม่เพิ่มขึ้นเลย”
อย่างที่เราทราบกันคือ เงินเฟ้อหลักๆมี 2 แบบคือ 1.Cost push inflation คือเงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนสินค้าแต่อุปสงค์หรือความต้องการไม่ได้เพิ่มขึ้น 2. Demand pull inflation คือเงินเฟ้อที่มาจากความต้องการหรืออุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นแต่ต้นทุนสินค้าไม่ได้เพิ่ม ซึ่งถ้าว่ากันตามเงินเฟ้อที่เราคาดหวังจะเป็น 2 มากกว่าเพราะเป็นความต้องการที่เราจะจับจ่ายใช้ส่อยแต่เงินเฟ้อในข้อ 1 จะเป็นการที่เรามีภาระเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นนั้นเองครับ ต่อมาคือผมมีรูปมาให้พี่ๆดูว่าจริงๆแล้วเงินเฟ้อของเรามันเฟ้อขึ้นตลอดไม่มีช่วงไหนที่เงินในระบบเราลดลง เงินถูกพิมพ์เพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา
ที่มา : Federal Reserve
เราจะเห็นได้แถบสีน้ำเงินคือปริมาณเงินที่ถูกอัดฉีดเพิ่มจากปีก่อนหน้าเข้าสู่ตลาดและแถบสีแดงคือปริมาณเงินที่ถูกดูดออกจากตลาดและมันเห็นได้ชัดว่ากราฟมันไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆมีบ้างที่อาจจะพักตัวลงมา แต่แทบไม่มีนัยยะเลยในระยะยาว
คำถามต่อมาคือแล้วเรารู้ได้ไงว่าเงินที่เราถืออยู่มันเสื่อมค่าอยู่จริงๆผมมีประโยคๆหนึ่งมาเล่าให้ฟังแล้วเราลองมาคิดตามดูครับ พอผมได้ฟังครั้งแรกแล้วคิดตามมันก็จริงอย่างที่เขาพูดด้วยสิ ประโยคนั้นคือ “ตอนทองคำราคา 1บาทเท่ากับ 400 บาท ตอนนั้นก๋วยเตี๋ยวชามเท่าไหร่?” จากนั้นมีการถามต่อว่า “ตอนนี้ทองคำบาทละ 40,000 บาท ก๋วยเตี๋ยวชามละเท่าไหร่?”
ผมถึงกับต้องกลับมาเปรียบเทียบเลย และค้นหาข้อมูลมาด้วยว่าช่วงนั้นคือปี พ.ศ. 2508 – 2514 และช่วงนั้นราคาก๋วยเตี๋ยวชามละ 1 บาทในช่วงนั้น แสดงว่าทองคำ 1 บาทสมัยนั้นซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 400 ชามเลยทีเดียว แล้วตอนนี้ละ ทองคำบาทละ 40,000 ก๋วยเตี๋ยวชามละ 60-80 บาท ถ้าเราใช้ทองคำ 1 บาทเท่ากันคำนวณมาเราจะซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 570 ชาม
หมายความว่า ทองคำยังคงความสามารถในการซื้อสิ้นค้าได้ดีแม้เวลาผ่านไปแต่กลับกับเงิน 1 บาทเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในปัจจุบันไม่สามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้แม้แต่ 1 ชามด้วยซ้ำ นี่คงเป็นภาพที่ทำให้เราเห็นเลยได้เลยว่าเงินในมือเรามันเสื่อมค่าลงไปมากแค่ไหน
สุดท้ายนี้ สิ่งที่ผมอยากบอกสำหรับคนที่เข้ามาอ่านคือ เงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องไกลตัว มันส่งผลกระทบโดยตรงต่อมูลค่าเงินในมือเราและคุณภาพชีวิตของเรา การตระหนักถึงความสำคัญของเงินเฟ้อและการวางแผนเพื่อรับมือกับมันเป็นสิ่งที่จำเป็น การมี Mindset ที่ดีในด้านการลงทุนและการทำ Asset Allocation อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เราสามารถป้องกันการเสื่อมค่าของเงิน รักษามูลค่าทรัพย์สิน และสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวได้
อ้างอิง