Sanook เขาเอาข่าว “ความรู้นอกห้องเรียน” มาจาก TikTok บัญชี txngkub_07 เป็นข่าวพิเศษเหนือความคาดหมายเกี่ยวกับ “ความรู้นอกห้องเรียน” ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในโรงเรียนอื่นใด ลีโอ ตอลสตอย ผู้ประพันธ์เรื่อง สงครามและสันติภาพ ท่านให้ความเห็นเอาไว้ว่า “ความรู้ไม่มีอยู่แต่เฉพาะในห้องเรียน ความรู้อยู่ในหนังสือพิมพ์ และ ร้านกาแฟ”
ถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่ คงจะทึ่งอย่างนึกไม่ถึงเมื่อได้เห็นว่า มันแปลกหูแปลกตาตรงที่ ความรู้ลอยหน้าลอยตาอยู่นอกห้องเรียน ครูป่วย โดนแอร์รมทนไม่ไหว ตัดสินใจยืนตรงหน้าประตูโปร่งแสง มีกระจกใสยืนถือไมค์สอนนอกห้องมันไปเลย (ฮา)
การทำอะไรนอกกรอบเป็นทางเลือกที่ท้าทายคล้ายๆ กับ คนนอกคอก หรือ หัวล้านนอกครู อย่างไรก็ตาม หากเราประเมินได้ว่า ครูมืออาชีพ กล้าทำอะไรนอกตำรา เราเอง (ว่าที่) ศิษย์มืออาชีพ จะกลัวอะไรกันไปทำไม ผู้คิด ในต้นทศวรรษ 1900 เขาอ่านขาดว่า “จุดเริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการของการประเมินประสิทธิภาพ” คล้ายกับ “ไลฟ์สไตล์มวยวัด” คือ ชกแม่นก็มี ชกสะเปะสะปะก็มาก ด้วยเหตุผลนี้
“ประสิทธิภาพ” มาจาก ภาษาละติน (Accomplish) แปลว่า “ทำให้สำเร็จ!” ความหวังดั่งว่าจะเป็นจริงเพียงใด ผมแนะให้เสาะหาความรู้จากสองด้าน
ด้านแรก “อ่านหนังสือเพื่อเอาไว้ตอบข้อสอบตามฟอร์ม!” และ “ด้านที่สอง ค้นบทความผู้มีประสบการณ์ตรง เพื่อเอาไว้ใช้ในการทำมาหากิน!” เจ้าสัวเขาสอนพนักงานว่า “ประสิทธิภาพต้องอาศัยส่วนผสมสามสิ่ง คือ ① ฉับไว ② ปริมาณ ③ คุณภาพ”
เฮียร้านข้าวต้มกุ๊ยไม่เคยเรียนการตลาด แต่รู้สโลแกนธุรกิจดีว่า “ปลาไวกินปลาช้า” แปลว่า “ชักช้า ยึกยักสุนัขคาบไปเคี้ยว” ลูกค้ามานั่งปุ๊บเด็กเสิร์ฟเอาถ้วยน้ำจิ้มกับตะเกียบมาวางปั๊บ มันเป็นวิธีผูกเสี่ยวห้ามเลี้ยวไปร้านอื่น นั่งรอหลายนาทียังไม่มีอะไรมาเสิร์ฟ ลูกค้าก็เอาตะเกียบจิ้มน้ำซอสดูดแก้เหงาไปก่อน (ฮา) ผ่านไปอีกสิบนาทีเด็กเสิร์ฟก็แวะรอบที่สอง มาวางจานกับขวด และ แก้วน้ำมาวางให้ เพื่อยืนยันว่าอาหารกำลังอยู่ในระหว่างการเดินทาง (ฮา)
ความฉับไวจะเกิดขึ้นจากสามเงื่อนไข คือ (1) ทักษะ (2) อุปกรณ์เครื่องมือ (3) การบริหารเวลา การขนส่งในสมัยก่อน เขาเกรงว่าจะส่งไม่ทันจึงส่งของให้ล่วงหน้าหลายวัน หลายปีผ่านมา วิชาแตกต่างกับวิธี การส่งของต้องส่งให้ตรงและให้ทันกับวันที่กำหนดเอาไว้ ไม่ต้องล่วงหน้าแม้แต่วันเดียว เพราะว่า ค่าเช่าไซโลหรือโกดังคิดราคาแพงลิบ
“ปริมาณ” มาจาก ภาษาละติน (Quan·ti·tas) แปลว่า “ขนาดของน้ำหนัก หรือ ผลรวมของตัวเลข!” แม่ค้าในตลาดสดหลายเจ้ามักจะชั่งของขาด ลูกค้าลองเอาไปชั่งดูใหม่น้ำหนักหายไปหนึ่งขีดทุกคราว กูรูเขาแนะนำให้ “ประเมิน” พี่แก “ทำเมิน” ตะพึด (ฮา) ขอแนะนำลูกค้าว่า วันหน้าซื้อเจ้าอื่นดีกว่า จะได้แถมมาเยอะสมใจ “วิ!” ลูกค้าตั้งท้องอยากจะกินดินพ่อค้าจะรีบจัดให้ รถสิบล้อบรรทุกดินได้ไม่เกิน 25 ตัน พ่อค้าใจกว้างแถมเพิ่มให้ลูกค้าอีก 12 ตัน (ฮา)
“คุณภาพ” มาจาก ภาษาละติน (Qualitas) แต่เดิม แปลว่า “ชุดคุณสมบัติที่ทำให้สามารถตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างได้” พจนานุกรมไทย แปลว่า “ลักษณะที่ดีเด่นของคนหรือสิ่งของ” เพียงแค่สองความหมายก็ถือพอกินพอใช้ น่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก เอาเข้าจริงปรากฏว่า พนักงานบริการหลายแหล่งไม่ได้ทำการบ้านกันสักเท่าไหร่
ครั้งแรกผมเขียนสั่งไว้ในช็อตโน้ตว่า “ผัดผักบุ้งไม่ใส่พริก” พี่เชฟแกก้มหน้าก้มตาใส่พริกซะเต็มคราบ ครั้งต่อมาผมเขียนสั่งไว้ในช็อตโน้ตว่า “กระเพราะกุ้งไข่ดาว ช่วยเอาเปลือกกุ้งออกให้หมดเปลือยกายจนกลายเป็นกุ้งจ้ำบ๊ะ” (ฮา)
คราวนี้พี่เชฟแกปอกเปลือกให้นะ แต่อุตส่าห์ยกเว้น “กางเกงในกุ้ง” (หางกุ้ง) ไม่แกะออกตามคำขอ กะจะเคี้ยวนุ่มๆ ทั้งตัวซะหน่อย หมดอารมณ์เลย ถ้าเชฟเห็นแย้ง ก็ไม่ว่าอะไรขอรบกวนเชฟอย่างเดียว ช่วยแบ่งเวลามาพินิจความหมายของคำว่า “คุณภาพ” อีกสักรอบก็จะขอบพระคุณ
ใครจะไปเชื่อว่ามีคนในสังคมเราไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ที่เสียโอกาสในการเข้าอบรม กระทั่งบัดนี้เขายังไม่กระจ่างเลยว่า “แก่นแท้ของหลักประสิทธิภาพ” คือ อะไร
เคยมีกรณี “คนขี้คึก” ซื้อ “เสพเฮาส์” เอาไว้ “เสพกิ๊ก” เขาแวะมาหาทุกสัปดาห์ แต่ละครั้งที่มาเขาโด้ป ไวอากร้า ก่อนจะปล้ำกัน คืนละ 5 รอบ กิ๊ก เริ่มต้นครางตอนหัวค่ำ ปิดฉากคลานตอนจะย่ำรุ่ง (ฮา) เราน่ะ “ฮา” แต่ทว่า กิ๊กเธอ “โฮ” เพราะว่า “คนขี้คึก” สามารถแก้ไข “ประสิทธิภาพ” น้องชายของเขา แต่ไม่สนใจที่จะ “ประเมิน” ใจของคู่นอนว่า เธอ ทรมาน มากกว่า สุขี
“คนขี้คึก” โกรธมาก หลังจาก กิ๊ก เทไวอากร้าลงส้วมจนเกลี้ยง อยู่ดีไม่ว่าดี “คนขี้คึก” ก็อาละวาดจนเขาเสียราคา เขาลืมไปว่า “ประสิทธิภาพแดดเดียว” เอาไม่อยู่ มันต้องมี “ประสิทธิผล” ด้วย ถึงจะรอด!