ยางพารา ปาล์ม ทุเรียน อนาคตใครรุ่ง ใครร่วง?

07 ก.ค. 2566 | 17:13 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ก.ค. 2566 | 17:13 น.
2.1 k

ยางพารา ปาล์ม ทุเรียน อนาคตใครรุ่ง ใครร่วง? : คอลัมน์บทความ โดย...นายหัวอัทธ์ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,903 หน้า 5 วันที่ 9 - 12 กรกฎาคม 2566

ผมวิเคราะห์ 3 พืชสำคัญของไทยปัจจุบันและอนาคตว่า “ใครรุ่ง ใครร่วง” ดังนี้ครับ

1. ทิศทางราคา ทุเรียนเป็นสินค้าเกษตรที่มาแรงมากสุดในขณะนี้ ปีนี้ ราคาพุ่งมากกว่า ปีที่ผ่านมา ช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2542 กับปี 2566 ราคาทุเรียนหมอนทองเพิ่มจากกิโลกรัมละ 20 บาท เป็น 135 บาท หมายความว่าราคาทุเรียนเพิ่มขึ้น 500% แต่หากเฉลี่ยทั้ง 25 ปี ราคาทุเรียนเพิ่มขึ้นปีละ 10%

และเมื่อเปรียบเทียบกับยางพารา และ ปาล์ม โดยใช้ข้อมูล 15 ปีย้อนหลัง (2552-2566) (ด้วยเหตุผลของข้อมูลที่มี) พบว่าราคาทุเรียนเพิ่ม 131% ราคายางพาราเพิ่ม 1.6% (ตํ่าสุดในสินค้าเกษตร 3 ตัว)

 

ในขณะที่ราคาปาล์มเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 6.5% เห็นได้ว่า “ทุเรียนเป็นพืชเดียวที่ราคาดีสุด” ในช่วงเวลาดังกล่าวราคายางพารามีทิศทางลดลงจาก 140 บาท/กก. เหลือ 45 บาท/ต่อ

ในขณะที่ราคาปาล์มผันผวนอยู่ระหว่าง 3 และ 8 บาท/กก. ในอีก 5 ปีข้างหน้า ราคาทุเรียนยังมีโอกาสในทิศทางที่สูงขึ้น ด้วยเหตุผลความต้อง การจากตลาดจีนและผลผลิตที่ไม่แน่นอนจากภาวะโลกร้อนเมื่อเทียบราคาทุเรียนเทียบกับยางพาราและปาล์มพบว่า ราคายางพารา ตํ่ากว่าทุเรียน 3 เท่าตัว

 

ในขณะที่ราคาปาล์มตํ่ากว่าราคาทุเรียนตํ่ากว่า 26 เท่า และเมื่อเทียบกับพื้นที่พบว่า พื้นที่การ ปลูกทุเรียนมีพื้นที่ปลูกน้อยกว่าพื้นที่การปลูกทั้งยางพาราและปาล์มมาก และที่น่าสนใจคือ พื้นที่ปลูกทุเรียนในความจริงกับตัวเลขของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สอดคล้องกัน หมายความว่า ในสภาพพื้นที่จริงมีการขยายการปลูกไปมาก แต่ตัวเลขทางการยังน้อยกว่ามาก

2. มูลค่าส่งออกต่อพื้นที่ให้ผลผลิต เพื่อจะวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพการผลิตว่าใน 1 ไร่  ของพืช 3 ชนิดนี้ พืชตัวไหนที่สามารถสร้างมูลค่าส่งออกได้มากกว่ากัน ผมพบว่า 1 ไร่ ของทุเรียนสามารถสร้างเงินส่งออกให้กับประเทศได้ 0.15 บาท ซึ่งสูงกว่ายางพาราและปาล์มนํ้ามันหลายเท่าตัว ภายใต้ปริมาณพื้นที่ที่น้อยกว่าหลายเท่าตัวเช่นกัน

ยางพารา ปาล์ม ทุเรียน อนาคตใครรุ่ง ใครร่วง?

3. การปรับตัว อนาคตของพืชทั้ง 3 มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันเริ่มจาก “ยางพารา” นอกจากปัญหาเดิมๆ ของยางพาราคือ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางพาราน้อย สัดส่วนเพียง 15% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด

ความเสี่ยงที่รออยู่ข้างหน้าคือ เรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน สวนยางไทยหากผลิตแบบไม่ยั่งยืน ไม่คำนึงระบบนิเวศ ไม่คำนึงมาตรฐานสากล FSC (Forest Stewardship Council) ไม่น่ารอด เพราะตลาดโลกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก

รวมไปถึงระเบียบ EUDR (EU Deforestation Regulations) ที่คุม เข้มการบุกรุกทำลายป่าที่ต้องเจอ ยุโรปจะตรวจสอบย้อนกลับว่าผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ขายในยุโรปนั้น เป็นวัตถุดิบที่เกิดจากการเข้า ไปบุกรุกทำลายป่าหรือไม่ ประเทศ ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกยางและผลิตภัณฑ์มากสุดของอาเซียนในตลาดยุโรป อันนี้ก็น่าห่วง

ปัจจุบันสวนยาง GAP มีเพียง 6 หมื่นไร่ คิดเป็น 0.3% ของพื้นที่ทั้งหมดมีจำนวนเกษตรกรเพียง 1 พันรายเท่านั้น

ในขณะที่สวนยางที่ได้ FSC มีจำนวน 26,000 ไร่ หรือ 0.1% ของพื้นที่ทั้งหมด (กยท บอกมี 5 หมื่นไร่) “ปาล์มนํ้ามัน” เสี่ยงเรื่อง ความต้องการอุตสาหกรรมที่จำกัดอยู่เฉพาะนํ้ามันทอดและไบโอดีเซล ไม่สามารถนำ CPO หรือ CPKO ไปทำผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนได้ เพราะด้วยข้อจำกัดของราคาผลปาล์มที่แพงเกินไป ไม่จูงใจให้นักธุรกิจเข้ามาลงทุนใน Biolubricant (นํ้ามันปาล์มชีวภาพ)

ในขณะที่ “ทุเรียน” แม้ว่าราคายังดีกว่าอีก 2 พืชก็ตาม แต่ความเสี่ยงทุเรียนก็มีมากมาย เช่น  ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมากและจะมากขึ้นไปอีกกว่าที่อยู่ในปัจจุบันทั้งที่รอเก็บเกี่ยวและพื้นที่ที่ปลูกใหม่ คู่แข่งเพิ่มผลผลิต แรงงานขาด แคลน การสวมสิทธิทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน และการไม่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงทุเรียนอ่อน

อย่างไรก็ตาม ในอนาคต 5 ปีข้างหน้า หากมองเฉพาะราคา ทุเรียน เป็นพืชเดียวที่ราคายังไปต่อไปได้อีก เมื่อเทียบกับอีก 2 พืช 

 

ยางพารา ปาล์ม ทุเรียน อนาคตใครรุ่ง ใครร่วง?

 

ยางพารา ปาล์ม ทุเรียน อนาคตใครรุ่ง ใครร่วง?

 

ยางพารา ปาล์ม ทุเรียน อนาคตใครรุ่ง ใครร่วง?