คนรุ่นใหม่ จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ของธุรกิจครอบครัว

22 ม.ค. 2566 | 12:02 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ม.ค. 2566 | 12:07 น.

Family Uusiness รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย [email protected]

ในอดีตการสืบทอดกิจธุรกิจครอบครัวไม่เคยเป็นประเด็นร้อนแรงเช่นปัจจุบันนี้มาก่อน คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงยอดบนสุดของธุรกิจครอบครัวกำลังเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งได้เปลี่ยนแผนการเป็นผู้นำและการสืบทอดกิจการไปถึง 40% ของบริษัททั้งหมด ซึ่งการตัดสินใจและการดำเนินการนั้นมีความหลากหลายอย่างมาก อย่างไรก็ตามครอบครัวยังคงมีความมุ่งมั่นในการเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างแน่วแน่ โดยผู้นำธุรกิจครอบครัว 7 ใน 10 ตั้งใจให้บุตรหลานเข้ามาดูแลธุรกิจต่อหลังจากตนเกษียณไปแล้ว

การเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในการสืบทอดกิจการ เมื่อธุรกิจเผชิญกับความท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ตลอดช่วงล็อกดาวน์ในปีค.ศ. 2020 จนถึงวิกฤตค่าครองชีพในปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนองค์กรกลายเป็นวาระอันดับต้นๆในหลายบริษัท ซึ่งโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการขายและการปฏิบัติงานที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งนี้มีธุรกิจเพียงไม่ถึงครึ่งที่เปลี่ยนแผนการสืบทอดกิจการ โดยคนรุ่นอาวุโสอาจชะลอแผนการเกษียณหรือย้อนกลับสู่ธุรกิจอีกครั้ง

เนื่องด้วยอาจจะกลัวว่าการจัดการสืบทอดตำแหน่งผู้นำซึ่งซับซ้อนกว่าความเสี่ยงอื่น ๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปในคราวเดียว อย่างไรก็ตามมีผู้นำ 1 ใน 3 ที่เปลี่ยนแผนการสืบทอดกิจการโดยออกจากธุรกิจเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจโดยมีเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญอาจไม่ใช่ความถนัดของพวกเขา

 

ดังนั้นจึงหลีกทางให้คนรุ่นใหม่เข้ามานำบริษัทไปสู่อนาคตที่ต้องมีเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดย 1 ใน 7 ของธุรกิจเหล่านี้มองหาผู้นำคนใหม่ที่มีทักษะที่จำเป็นจากภายนอกบริษัท ที่น่าสนใจคือ นอกเหนือจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้นำของบริษัทแล้ว ยังพบว่า 4 ใน 10 ของบริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังการระบาดของโรคโควิด-19 นั้น

คนรุ่นใหม่ จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ของธุรกิจครอบครัว

คนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้รับตำแหน่งผู้นำก็ตาม โดยสมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อยก้าวเข้ามาในธุรกิจและเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากทักษะของพวกเขามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จและความอยู่รอดของธุรกิจ และเมื่อมองไปในอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากการเกษียณที่ถูกเลื่อนออกไปในระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 ได้แต่หวังว่าคนรุ่นใหม่จะขึ้นมากุมบังเหียนธุรกิจอีกครั้งหลังการวางมือของผู้นำรุ่นปัจจุบัน

การปรับเปลี่ยนองค์กร ธุรกิจครอบครัว 1 ใน 3 คาดว่าสินค้าที่พัฒนาขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาจะขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคตได้ ซึ่งถือเป็นการปรับเปลี่ยนที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 และจากรายงาน Mastering a Comeback ประจำปีค.ศ 2021 ของ KPMG ยังพบว่าธุรกิจครอบครัวมีแนวโน้มที่จะใช้กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนองค์กร (transformation) มากกว่าธุรกิจทั่วไปที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัวถึง 42% และคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก

 

โดยเกือบ 1 ใน 5 ของผู้นำรุ่นปัจจุบันของธุรกิจครอบครัวคาดหวังว่าบริษัทของตนจะเป็นองค์กรที่สร้างความแตกต่างได้ในระยะยาว โดยมุ่งเน้นไปที่สินค้าหรือตลาดใหม่ๆพัฒนาผู้นำธุรกิจครอบครัว โลกที่ผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่สืบทอดมานั้นย่อมแตกต่างจากเมื่อ 3 ปีที่แล้วซึ่งผู้นำคนก่อนดูแลอยู่

ดังนั้นจึงมีการถ่ายทอดบทเรียนจากที่ผู้นำคนก่อนส่งต่อมาด้วยข้อมูลเชิงลึกจากที่ปรึกษาและเพื่อนร่วมงาน เพื่อช่วยให้คนรุ่นใหม่ที่มีบทบาทในปัจจุบันและรุ่นต่อไปสามารถดำเนินธุรกิจครอบครัวได้สำเร็จ กลายเป็นเจ้าของและผู้บริหารธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่น มีทักษะความเป็นผู้นำ ผู้รักษาผลประโยชน์ และมีทักษะทางการค้าเต็มเปี่ยม

โดยผู้นำธุรกิจครอบครัวเกือบ 4 ใน 10 คนระบุว่าพวกเขาหันไปขอคำแนะนำและการช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน รวมถึงหากเป็นไปได้ควรออกไปหาความรู้เพิ่มเติมจากสถาบันต่างๆซึ่งนอกจากได้ความรู้ใหม่ๆแล้ว ยังจะสามารถสร้างสายสัมพันธ์กับเพื่อนผู้นำรุ่นใหม่ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ในวงการธุรกิจต่อไปได้ในอนาคตอีกด้วย

ที่มา: ESSEX, M. 8 December, 2022. FAMILY BUSINESSES LOOK TO NEXT GENERATION TO DRIVE CHANGE. Available:https://www.campdenfb.com/article/family-businesses-look-next-generation-drive-change

 

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,852 วันที่ 12 - 14 มกราคม พ.ศ. 2566