Thailand Medical Hub ฟื้นเศษฐกิจ ได้จริง?

23 ก.ค. 2565 | 14:45 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ค. 2565 | 21:46 น.

Healthcare Insight ธานี มณีนุตร์ [email protected]

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นกลไกหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี 2562 ก่อนวิกฤตโควิด-19 นั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดของการท่องเที่ยว (TTGDP) คิดเป็น 1 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย แต่เมื่อเจาะลึกเฉพาะมูลค่าการตลาดของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) ในปีเดียวกันนั้น มีมูลค่าเพียง 3% ของรายได้รวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งหมด

              

สาเหตุเพราะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ทวีความรุนแรง ประเทศไทยได้ออกมาตรการปิดประเทศและกำหนดข้อจำกัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ธุรกิจประสบภาวะชะลอตัว (จากรายงานของธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2562 ตลาด Medical Tourism มีนักท่องเที่ยวมาเยือนไทย 3.6 ล้านคน และสร้างรายได้การท่องเที่ยว 2.35 หมื่นล้านบาท กระทั่งโควิด-19 ระบาด ตลาดก็เริ่มชะลอตัวลง)โดยหากในสถานการณ์ปกติ ธุรกิจนี้จะมีอัตราเติบโตอยู่ที่ประมาณ 3 - 5% ต่อปี

Thailand Medical Hub ฟื้นเศษฐกิจ ได้จริง?               

อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าในปี 2565 นี้ ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จะฟื้นตัว โดยจะมีอัตราการเติบโตถึง 5% และหากพิจารณาข้อมูลประเทศที่ทำรายได้ด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ประเทศไทยของเราติดอันดับที่ 4 ของโลกเลยทีเดียว

 

อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จะกลับมาเติบโตได้ 5% ในปี 2565 นี้ และถ้าเปรียบเทียบระดับโลกไทยติดอันดับประเทศที่ทำรายได้ด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ เมื่อเทียบกับรายได้รวมสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีโรงพยาบาลที่ได้รับมาตราฐานสถานพยาบาล JCI  (joint commision international standard ) มากถึง 64 แห่ง ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆของโลก

              

ดังนั้น หากประเทศไทยของเรามีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็น Medical Hub ก็นับว่าเรามีความพร้อมทั้งในด้านบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพ รวมถึงมีวิทยาลัยด้านการแพทย์ชั้นนำและมีชื่อเสียงในการพัฒนาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ และมีโรงพยาบาลภาคเอกชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและการบริการที่ดีและมีคุณภาพ ซึ่งปัจจัยสำคัญเหล่านี้ เป็นพื้นฐานที่แข็งแรงที่ช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น Medical Hub

Thailand Medical Hub ฟื้นเศษฐกิจ ได้จริง?               

แต่หากพิจารณาด้านการรักษาโรคที่มีความยากและซับซ้อน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ขั้นสูง ก็พบว่ายังคงกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือในจังหวัดที่มีความเจริญหรือมีขนาดใหญ่ ดังนั้น ปัจจัยสำเร็จของ Medical Hub อีกประการหนึ่งก็คือ การกระจายตัวของสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลไปสู่จังหวัดที่มีศักยภาพ รวมถึงการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์มีโอกาสใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมด้านการแพทย์ และเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วยและการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

 

นอกจากนี้ เรายังคงต้องเดินหน้าพัฒนามาตรฐานด้านการแพทย์ให้ทัดเทียมในระดับนานาชาติ ซึ่งในมุมมองของผมนั้น ผมจะให้ความสำคัญกับ 3 Ware นั่นก็คือ Software, Hardware และ Peopleware ก็คือบุคลากรทางการแพทย์แบบสหวิชาชีพ ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักที่จะขาดไปไม่ได้

              

ปัจจัยสำเร็จประการสุดท้าย ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเราจะก้าวเข้าสู่ Thailand Medical Hub ได้หรือไม่ นั่นก็คือ การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย กติกาหรือข้อกำหนดต่างๆ ของแต่ละประเทศ จะต้องถูกออกแบบร่วมกัน เพื่อให้มีความสอดคล้องและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ค่อนข้างจำกัดสิทธิบุคลากรทางการแพทย์ หรือการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ (Medical devices) ที่ต่อยอดไปสู่การรักษาผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคล  (Personalized medicine)

              

หากทุกภาคส่วนให้ความสนับสนุนในการปรับโครงสร้างทางกฎหมายที่เอื้อประโยชน์หรืออำนวยความสะดวกต่อการวางรากฐานที่ดีให้กับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ รวมถึงผักดัน ในด้านการพัฒนานวัตกรรม ด้านการแพทย์ควบคู่ไปด้วย ผมมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถก้าวเข้าสู่การเป็น Thailand Medical Hub ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,802 วันที่ 21 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ว