จาก“ชะลอม”ในตลาด สู่สัญลักษณ์ APEC 2022

18 พ.ย. 2565 | 11:12 น.
อัปเดตล่าสุด :18 พ.ย. 2565 | 18:28 น.

การประชุมเอเปค 2022 ระหว่าง 18-19 พ.ย.2565 นี้ ที่ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิก และแขกพิเศษของเจ้าภาพอีก 3 ชาติ มากสุดหลังโควิด-19 มานั่งโต๊ะพบปะกันที่กรุงเทพฯ ที่ทัพนักข่าวกว่า 2 พันคนมาปักหลักรายงานไปทั่วโลก

“ชะลอม” ตราสัญลักษณ์เอเปค 2022 ก็ได้ออกสู่สายตาคนทั่วโลกควบคู่กันด้วย

 

ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จาก“ชะลอม”ในตลาด  สู่สัญลักษณ์ APEC 2022

จาก“ชะลอม”ในตลาด  สู่สัญลักษณ์ APEC 2022

คือผู้ชนะเลิศการประกวดตราสัญลักษณ์เอเปค 2022 จากทั้งหมด 598 ผลงาน

 

ชวนนท์เล่าว่า เห็นข้อมูลการประกวดจากเว็บไซต์ จึงสนใจอยากสร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อพัฒนาตนเอง จากโจทย์ ออกแบบตราสัญลักษณ์การประชุม ที่สะท้อนความเป็นไทย แสดงถึงความเป็นเอเปค ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การฟื้นฟู ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ในรูปแบบทันสมัย สะท้อนความเป็นผู้นำ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

จาก“ชะลอม”ในตลาด  สู่สัญลักษณ์ APEC 2022

ได้แรงบันดาลใจจาก“ชะลอม” ใช้บรรจุสิ่งของ เป็นสัญลักษณ์การค้าขายของไทยมายาวนาน

 

เส้นตอกของไม้ไผ่ที่มาเชื่อมต่อสานกัน บ่งบอกถึงความแข็งแรงและยืดหยุ่น จำนวน 21 ช่อง เปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ที่ถักทอร่วมแรงร่วมใจมาเป็นเอเปค เป็นวัสดุจากไม้ไผ่จักสานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้งานคงทนหมายถึงความร่วมมืออย่างยั่งยืน

 

กระทั่งสีก็มีความหมาย น้ำเงินแทน 0pen การเปิดกว้างการค้าของสมาชิกเอเปค ชมพู สื่อถึง Connect หรือการเชื่อมโยง และสีเขียว Balance ความสมดุลทางสิ่งแวดล้อม

 

การประกวดประกาศผลไปตั้งแต่พ.ย.2563 ขณะ“ชวนนท์”เป็นนิสิตปี 2 จึงเป็นอีกหนึ่งผลงานคนรุ่นใหม่ ที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของประเทศ ในฐานะเจ้าภาพจัดประชุมเวทีระดับโลกนี้

 

และวันนี้ผลงานออกแบบชิ้นนี้ ถูกกล่าวถึงในสื่อต่างประเทศ

 

ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง

นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

คอลัมน์สปอตไลต์ หน้า 4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,836 วันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565