ญี่ปุ่น คือหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญกับภัยพิบัติบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว สึนามิ พายุไต้ฝุ่น หรือแม้กระทั่งภัยคุกคามทางทหาร เช่น การยิงขีปนาวุธ และสิ่งที่ทำให้คนญี่ปุ่นสามารถรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ ระบบเตือนภัย J-ALERT หรือ Japan's Emergency Warning System ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในระบบเตือนภัยที่ดีที่สุดในโลก
ในวันที่ไทยกำลังพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยใหม่อย่าง Cell Broadcast เพื่อยกระดับความปลอดภัยของประชาชน คำถามที่น่าสนใจคือ เราสามารถเรียนรู้อะไรจาก J-Alert ได้บ้าง
J-Alert (Japan’s Nationwide Warning System) คือระบบกระจายข่าวสารฉุกเฉินแห่งชาติของญี่ปุ่น เปิดใช้งานครั้งแรกในปี 2004 โดยสำนักงานดับเพลิงและการจัดการภัยพิบัติแห่งญี่ปุ่น (FDMA) มีเป้าหมายสำคัญคือ แจ้งเตือนภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินให้ประชาชนทราบอย่างรวดเร็วที่สุด
ระบบนี้สามารถส่งข้อมูลเตือนภัยจากรัฐบาลกลาง ตรงถึงประชาชน ผ่านช่องทางหลากหลายภายในไม่กี่วินาที
หากเกิดเหตุฉุกเฉิน สถานีโทรทัศน์ วิทยุ J-Alert จะถูกใช้เพื่อกระจายข้อมูลเตือนภัยให้กับประชาชน ระบบ J-Alert นี้จะส่งข้อความเตือนผ่านทางหลายช่องทาง เช่น ข้อความทางโทรศัพท์มือถือ (Cell Broadcast) กระทรวงการสื่อสารและข้อมูล (MIC) ได้รับผิดชอบในการดูแลและดำเนินการระบบ J-Alert
J-Alert ดำเนินการผ่าน 3 ขั้นตอนหลัก
FDMA รับข้อมูลภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เช่น แผ่นดินไหว การยิงขีปนาวุธ ภูเขาไฟระเบิด หรือพายุรุนแรง จากหน่วยงานต่าง ๆ
ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งผ่าน เครือข่ายดาวเทียม ไปยังสถานีภาคพื้นดินทั่วประเทศ
สถานีจะทำหน้าที่ กระจายเสียงเตือนภัย ผ่านลำโพง โทรทัศน์ วิทยุ และระบบแจ้งเตือนมือถือแบบอัตโนมัติในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง
ระดับการแจ้งเตือนในระบบ J-Alert แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
Cell Broadcast ส่งข้อความตรงถึงมือถือในพื้นที่เสี่ยง
เทคโนโลยีนี้ช่วยให้สามารถกระจายข้อความแจ้งเตือน เฉพาะพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ โดยไม่จำเป็นต้องส่งไปยังเครือข่ายมือถือทั้งหมดของประเทศเหมือน SMS ทั่วไป
FM Radio แจ้งเตือนผ่านคลื่นวิทยุท้องถิ่น
สถานีวิทยุระบบ FM ในญี่ปุ่นยังคงมีบทบาทสำคัญในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยสามารถรับข้อมูลจาก J-Alert แล้วกระจายเสียงเตือนออกสู่สาธารณะอย่างรวดเร็ว
เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำรองที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทหรือสถานที่ที่สัญญาณมือถืออาจไม่ครอบคลุม
Television Broadcast ปลุกเตือนผ่านหน้าจอโทรทัศน์
ระบบ J-Alert สามารถใช้สถานีโทรทัศน์ได้ทันทีเมื่อมีเหตุภัยพิบัติ เพื่อให้ข้อมูลแจ้งเตือนแสดงขึ้นพร้อมเสียงเตือนชัดเจน โดยครอบคลุมทั้งโทรทัศน์ภาคพื้นดินและระบบดิจิทัล
Digital Signage จอดิจิทัลตามพื้นที่สาธารณะ
ใช้จอภาพดิจิตัลหรือบอร์ดแสดงข้อมูลเพื่อส่งข้อมูลเตือนภัย
RMT (Remote Method Invocation) เทคโนโลยีควบคุมระยะไกล
อีกหนึ่งเบื้องหลังสำคัญของ J-Alert คือระบบ RMT ซึ่งช่วยให้สามารถส่งคำสั่งหรือข้อมูลแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณต่าง ๆ แบบระยะไกล
Disaster Prevention Administrative Radio วิทยุเตือนภัยระดับท้องถิ่น
ระบบวิทยุไร้สายสำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติ ใช้เพื่อกระจายเสียงแจ้งเตือนจากหน่วยงานท้องถิ่นไปยังชุมชน
ที่มา