thansettakij
เปิดรายงานปภ.ฉบับเต็ม ผลกระทบแผ่นดินไหว 8.2 ในประเทศไทย

เปิดรายงานปภ.ฉบับเต็ม ผลกระทบแผ่นดินไหว 8.2 ในประเทศไทย

31 มี.ค. 2568 | 18:29 น.

เปิดรายงาน "กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย" ฉบับเต็ม สรุปเหตุแผ่นดินไหวเมียนมาขนาด 8.2 วันที่ 28 มี.ค. 68 สร้างความเสียหายให้ประเทศไทยขนาดไหน กี่พื้นที่ กี่จังหวัด

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เผยแพร่รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมา และผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อเย็นวันที่ 31 มีนาคม 2568 โดยเนื้อหาระบุว่า 

 

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.20 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ความลึก 10 กม. บริเวณประเทศเมียนมา ที่ละติจูด 21.682 องศาเหนือ ลองจิจูด 96.121 องศาตะวันออก ห่างจากอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 326 กม.

ผลกระทบในประเทศไทย

 

  • มีการรับรู้แรงสั่นสะเทือนใน 63 จังหวัด
  • มีรายงานความเสียหายใน 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
  • พื้นที่ได้รับผลกระทบ: 103 อำเภอ 275 ตำบล 412 หมู่บ้าน

 

ความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้าง

  • บ้านเรือน 591 หลัง
  • วัด 66 แห่ง
  • โรงพยาบาล 92 แห่ง
  • อาคาร 9 แห่ง
  • โรงเรียน 58 แห่ง
  • สถานที่ราชการ 27 แห่ง
  • ผู้เสียชีวิต 18 ราย (กรุงเทพฯ)
  • ผู้บาดเจ็บ 34 ราย (กรุงเทพฯ 33 ราย, นนทบุรี 1 ราย)
  • ผู้สูญหาย 78 ราย (กรุงเทพฯ)

ความเสียหายแยกตามจังหวัด

 

1. จังหวัดเชียงราย

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 15 อำเภอ 55 ตำบล 119 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เชียงของ, ป่าแดด, เมืองฯ, เวียงป่าเป้า, เทิง, แม่จัน, เชียงแสน, แม่สาย, ขุนตาล, แม่ลาว, ดอยหลวง, แม่สรวย, พาน, เวียงเชียงรุ้ง, แม่ฟ้าหลวง
  • ความเสียหาย: บ้านเรือน 197 หลัง, วัด 8 แห่ง, โรงพยาบาล 16 แห่ง, โรงเรียน 29 แห่ง, สถานที่ราชการ 6 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

2. จังหวัดเชียงใหม่

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 22 อำเภอ 87 ตำบล 123 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ, ดอยเต่า, พร้าว, หางดง, แม่แจ่ม, สันกำแพง, สะเมิง, กัลยาณิวัฒนา, ฮอด, แม่อาย, เชียงดาว, สันป่าตอง, แม่ริม, จอมทอง, แม่วาง, สันทราย, แม่แตง, อมก๋อย, แม่ออน, ไชยปราการ, ดอยหล่อ, สารภี
  • ความเสียหาย: บ้านเรือน 225 หลัง, อาคารสูง 6 แห่ง, วัดและเจดีย์ 31 แห่ง, โรงเรียน 11 แห่ง, โรงพยาบาล 16 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

3. จังหวัดแม่ฮ่องสอน

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 7 อำเภอ 13 ตำบล 18 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ, สบเมย, ขุนยวม, ปางมะผ้า, ปาย, แม่ลาน้อย, แม่สะเรียง
  • ความเสียหาย: วัด 2 แห่ง, สถานที่ราชการ 3 แห่ง, โรงพยาบาล 8 แห่ง, โรงเรียน 6 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

4. จังหวัดพะเยา

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 7 อำเภอ 8 ตำบล 9 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ, ภูซาง, เชียงม่วน, ดอกคำใต้, เชียงคำ, แม่ใจ, ปง
  • ความเสียหาย: บ้านเรือน 40 หลัง, โรงเรียน 1 แห่ง, โรงพยาบาล 6 แห่ง, รพ.สต. 6 แห่ง, สถานที่ราชการ 4 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

5. จังหวัดลำปาง

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 12 อำเภอ 33 ตำบล 41 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ, สบปราบ, เกาะคา, แม่ทะ, แม่พริก, งาว, ห้างฉัตร, วังเหนือ, เถิน, เมืองปาน, แม่เมาะ, เสริมงาม
  • ความเสียหาย: บ้านเรือน 73 หลัง, วัด 5 แห่ง, โรงเรียน 1 แห่ง, โรงพยาบาล 5 แห่ง, สถานที่ราชการ 2 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

6. จังหวัดลำพูน

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 6 อำเภอ 13 ตำบล 25 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: ป่าซาง, ลี้, เมืองฯ, บ้านโฮ่ง, เวียงหนองล่อง, แม่ทา
  • ความเสียหาย: บ้านเรือน 33 หลัง, วัด 3 แห่ง, โรงพยาบาล 4 แห่ง, สถานที่ราชการ 2 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

7. จังหวัดน่าน

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 2 อำเภอ 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ, ภูเพียง
  • ความเสียหาย: วัด 2 แห่ง, โรงพยาบาล 1 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

8. จังหวัดแพร่

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 4 อำเภอ 13 ตำบล 24 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ, สอง, หนองม่วงไข่, สูงเม่น
  • ความเสียหาย: บ้านเรือน 20 หลัง, โรงเรียน 2 แห่ง, โรงพยาบาล 2 แห่ง, สถานที่ราชการ 8 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

9. จังหวัดสุโขทัย

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: ศรีสำโรง
  • ความเสียหาย: อาคารโรงยาสูบ 1 หลัง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

10. จังหวัดพิษณุโลก

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 2 อำเภอ 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: นครไทย, บางกระทุ่ม
  • ความเสียหาย: โรงพยาบาล 4 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

11. จังหวัดเพชรบูรณ์

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 6 อำเภอ 19 ตำบล 18 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ, วิเชียรบุรี, หล่มสัก, น้ำหนาว, เขาค้อ, บึงสามพัน
  • ความเสียหาย: บ้านเรือน 2 หลัง, โรงพยาบาล 18 แห่ง, โรงเรียน 1 แห่ง, สถานที่ราชการ 1 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

12. จังหวัดชัยนาท

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ
  • ความเสียหาย: วัด 1 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

13. จังหวัดอ่างทอง

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 3 อำเภอ 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: สามโก้, ป่าโมก, วิเศษชัยชาญ
  • ความเสียหาย: โรงเรียน 4 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

14. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 9 อำเภอ 14 ตำบล 15 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: ลาดบัวหลวง, พระนครศรีอยุธยา, บางบาล, เสนา, ภาชี, มหาราช, ผักไห่, วังน้อย, บางปะอิน
  • ความเสียหาย: วัด 11 แห่ง, โรงพยาบาล 2 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

15. จังหวัดปทุมธานี

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 2 อำเภอ 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: คลองหลวง, เมืองฯ
  • ความเสียหาย: รอยร้าวอาคาร 4 หลัง (อาคารโรงอาหารชั้นเดียว, อาคารสำนักงาน 2 ชั้น, อาคารเรียน 3 ชั้น, อาคารเรียน 2 ชั้น)
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

16. จังหวัดนนทบุรี

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 3 อำเภอ 5 ตำบล 5 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ, ปากเกร็ด, บางกรวย
  • ความเสียหาย: โรงพยาบาล 4 แห่ง, ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 1 แห่ง
  • มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต

 

17. จังหวัดสมุทรปราการ

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: พระประแดง
  • ความเสียหาย: วัด 1 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

18. จังหวัดสมุทรสาคร

  • พื้นที่ได้รับความเสียหาย: 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน
  • อำเภอที่ได้รับผลกระทบ: เมืองฯ
  • ความเสียหาย: โรงพยาบาล 1 แห่ง
  • ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

19. กรุงเทพมหานคร

  • ความเสียหาย: เกิดความเสียหายหลายจุด
  • ยอดผู้เสียชีวิต: 18 ราย แบ่งเป็น
    • เขตจตุจักร 11 ราย
    • เขตบางซื่อ 1 ราย
    • เขตคันนายาว 1 ราย
    • เขตบางกะปิ 1 ราย
    • เขตวัฒนา 1 ราย
    • เขตราชเทวี 1 ราย
    • เขตปทุมวัน 1 ราย
    • เขตห้วยขวาง 1 ราย

 

ยอดผู้บาดเจ็บ: 33 ราย แบ่งเป็น

  • เขตจตุจักร 18 ราย
  • เขตบางซื่อ 4 ราย
  • เขตบางรัก 3 ราย
  • เขตพญาไท 2 ราย
  • เขตดินแดง 4 ราย
  • เขตวัฒนา 1 ราย
  • เขตบางนา 1 ราย

ยอดผู้สูญหาย: 78 ราย

 

การให้ความช่วยเหลือ

 

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. หน่วยทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าให้ความช่วยเหลือผู้ติดค้างใต้ซากอาคาร โดยมีการดำเนินการดังนี้

 

  • นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ บกปภ.ช. เฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกอย่างใกล้ชิด
  • ศูนย์ ปภ.เขต 1-18 จัดเตรียมเครื่องจักรกลสาธารณภัยสนับสนุนจังหวัดและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน
  • กรมป้องกันฯ ได้ระดมทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR) รวม 77 นาย พร้อมเครื่องมือและเครื่องจักรกลกว่า 14 รายการ จากศูนย์ ปภ.เขต 1 ปทุมธานี เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจีนบุรี และศูนย์ ปภ.เขต 16 ชัยนาท
  • ร่วมกับ กสทช. ส่ง SMS แจ้งเตือนประชาชน 4 ครั้ง
  • ศูนย์ ปภ.เขตทั่วประเทศเตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัยกว่า 355 รายการ

 

การปรับระดับการจัดการสาธารณภัย

 

บกปภ.ช. ได้ประเมินสถานการณ์แล้วพบว่า สถานการณ์ได้คลี่คลาย ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและเส้นทางคมนาคมได้รับการแก้ไข ความเป็นอยู่ของประชาชนกลับสู่ภาวะปกติ จึงมีการปรับลดระดับการจัดการสาธารณภัยจากขนาดใหญ่ (ระดับ 3) เป็นการจัดการสาธารณภัยขนาดกลาง (ระดับ 2) ตามแผน ปภ.ชาติ พ.ศ. 2564-2570 โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้อำนวยการ กทม. เป็นผู้สั่งการ ควบคุม และบัญชาการในพื้นที่

 

ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี

 

ในการประชุมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เพื่อติดตามสถานการณ์ นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการดังนี้

  • ให้ บกปภ.ช. เป็นศูนย์กลางในการอำนวยการและประสานงานระหว่างหน่วยงาน โดยให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์บัญชาการหลักใน กทม. มีผู้ว่าฯ กทม. เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ณ จุดเกิดเหตุ
  • จัดเตรียมระบบ CELL BROADCAST เพื่อส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือประชาชนโดยตรง
  • ให้เตรียมความพร้อมรองรับการปิดเส้นทางคมนาคม พร้อมแจ้งให้ประชาชนทราบถึงเส้นทางที่ปิดและทางเลี่ยง
  • จัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานเพื่อตรวจสอบอาคารที่ได้รับผลกระทบและยืนยันความปลอดภัยของอาคาร
  • ให้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงช่องทางติดต่อขอความช่วยเหลือ
  • เร่งกำหนดมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโดยเร็ว

 

อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

ที่มา - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย