การประกาศกฎอัยการศึกในเกาหลีใต้โดยประธานาธิบดี ยุน ซอก ยอล ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปยังเวทีโลก ความเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดนี้ถูกมองว่าเป็นการเผชิญหน้าระหว่างอำนาจบริหารและรัฐสภาที่นำโดยฝ่ายค้าน ขณะเดียวกันก็ทำให้ประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ถูกตั้งคำถามอย่างหนัก
มุมมองความโล่งใจของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม การที่ประธานาธิบดียุน ยอมถอยและยกเลิกกฎอัยการศึกฉุกเฉินหลังจากรัฐสภาลงคะแนนเสียงไม่เห็นด้วย ถือเป็นสัญญาณบวกที่ทำให้พันธมิตรอย่างสหรัฐฯ “โล่งใจ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ประชาธิปไตยทั่วโลกกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากระบอบอำนาจนิยม
โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวว่าสหรัฐฯ รู้สึก "โล่งใจ" ที่มีการยกเลิกกฎอัยการศึกฉุกเฉินในเกาหลีใต้
ด้านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโซล ระบุว่า แม้มีการยกเลิกกฎอัยการศึกแต่สถานการณ์ยังคงไม่แน่นอน และสถานทูตจะยกเลิกนัดหมายด้านกงสุลของพลเมืองสหรัฐฯ และผู้ยื่นขอวีซ่าในวันพุธ (4 ธ.ค.) พร้อมแนะนำพลเมืองสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการชุมนุม
ฐานทัพสำคัญของสหรัฐฯ กระจายอยู่ทั่วเกาหลีใต้ การที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลหลังจากที่ยุนประกาศกฎอัยการศึก และแสดงความโล่งใจหลังจากที่เขายกเลิกคำสั่งดังกล่าว โดยกล่าวว่าประชาธิปไตยเป็นหัวใจสำคัญของพันธมิตรสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ เนื่องจากทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันมานานหลายสิบปี ซึ่งหมายความว่าทั้งสองประเทศจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันหากถูกโจมตี
ฐานทัพสำคัญของสหรัฐฯ กระจายอยู่ทั่วเกาหลีใต้ และมีทหารสหรัฐฯ ประจำการอยู่ในประเทศเกือบ 30,000 นาย
ค่ายฮัมฟรีส์ ของกองทัพบกสหรัฐเป็นฐานทัพทหารอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดนอกสหรัฐอเมริกา โดยมีประชากรมากกว่า 41,000 คน ทั้งทหารสหรัฐฯ คนงานพลเรือน ผู้รับเหมาช่วง และสมาชิกในครอบครัว
นอกเหนือจากญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ ซึ่งมีสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันกับสหรัฐฯ แล้ว เกาหลีใต้ยังเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรระดับภูมิภาค 3 อันดับแรก ที่ช่วยเสริมอำนาจของสหรัฐฯ ทั้งในเอเชียและแปซิฟิกมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ
ผู้สนับสนุนโต้แย้งว่าการมีทหารสหรัฐฯ จำนวนมากใน คาบสมุทรเกาหลี มีความสำคัญต่อการป้องกันการโจมตีใดๆ จากเกาหลีเหนือ ขณะที่ระบอบการปกครองของ คิม จอง อึน ยังคงสร้างคลังอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป และยังเป็นหนทางหนึ่งในการเสริมกำลังของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเพื่อต่อต้านการรุกรานของจีนอีกด้วย
เกาหลีเหนือ ยังได้กลายเป็นผู้เล่นสำคัญในการรุกรานยูเครนของรัสเซีย โดยส่งทหารไปช่วยสู้รบให้กับกองกำลังของมอสโก ทำให้มหาอำนาจแห่งเอเชียที่โดดเดี่ยวเข้าสู่ความขัดแย้งที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง
ความสำคัญของแคมป์ฮัมฟรีส์
มีเเนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่เกาหลีเหนือขยายภัยคุกคามทางทหารในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยสร้างโครงการขีปนาวุธนิวเคลียร์โดยไม่คำนึงถึงมติของสหประชาชาติที่ห้ามโครงการดังกล่าว และปล่อยถ้อยคำโจมตีเกาหลีใต้และพันธมิตรอเมริกัน อย่างต่อเนื่อง
เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ตกลงทำข้อตกลงสงบศึกเพื่อยุติการสู้รบในปี 1953 แต่ไม่เคยมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ ดังนั้นทางเทคนิคแล้วทั้งสองประเทศยังคงอยู่ในภาวะสงคราม ขณะเดียวกันเกาหลีใต้และสหรัฐ ก็มีสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันมาหลายสิบปี ซึ่งหมายความว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันหากถูกโจมตี
เนื่องจากความตึงเครียดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเขตปลอดทหารในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ค่ายฮัมฟรีส์จึงเติบโตขึ้นตามไปด้วย