กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลง ผลงาน 90 วัน ภายใต้การบริหารงานของ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เน้นขับเคลื่อน การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก ปลุกเศรษฐกิจไทย ผ่านมาตรการต่างๆ ดังนี้
เปิดประตูประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว
- ฟรีวีซ่า จีน รัสเชีย อินเดีย
- นักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 1 เดือน (1 พ.ย.- 7 ร.ค.) กว่า 100%
กระตุ้นการค้าชายแดน อำนวยความสะดวกสินค้าไทยสู่ตลาดสำคัญ
- เพิ่มมูลค่าการค้าสู่เป้า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (สปป.ลาว) 1.5 หมี่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (กัมพูชา) และ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (มาเลเซีย) ภายในปี 2568
ร่วมผลักดันข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
- ร่วมผลักตัน (1) FTA ไทย-EFTA (2) FTAไทย-ศรีลังกา และ (3) Comprehensive Economic Partnership Agreement (CEPA) ไทย-ยูเออี ในปี 2567
- เป้าหมาย FTA ไทย-อียู เจรจาแล้วเสร็จ ปี 2568
- เจรจา Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity (IPEF)
ส่งเสริมการลงทุน
พบกว่า 100 บริษัท จากประเทศยุทธศาสตร์ ดึงดูดการลงทุนมูลค่ารวมกว่า ล้านล้านบากจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นสู่ไทย
การประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก
- เอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ และฝ่ายการลงทุนจากสำนักงาน 94 แห่ง ทั่วโลก (จาก 65 ประเทศ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยจากไต้หวัน)
- ประชุมร่วมกับ BOI กระทรวงพาณิชย์ ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ เป็นครั้งแรก
ร่วมการประชุมล้านช้าง-แม่โขง (กับนายกรัฐมนตรี)
- เสนอแนวคิด 3 อนาคต ขับเคลื่อน-เชื่อมโยงอนุภูมิภาค
เปิดศักราช Comprehensive Strategic Partnership ไทย - เวียดนาม
เพิ่มบทบาทเอกอัครราชทูตในด้านเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ กต. ยังได้ดำเนิน นโยบายการทูตเพื่อประชาชน เน้นการ “สื่อสาร - ติดตาม – ช่วยเหลือ” บริหารวิกฤตช่วยเหลือพี่น้องคนไทยให้ปลอดภัย
วิกฤตอิสราเอล - กาซา
- เที่ยวบินอพยพเที่ยวบินแรก ออกเดินทาง 4 วันหลังเกิดเหตุ
- ภายใน 24 วันอพยพคนไทย 7,470 คน จัดเที่ยวบินอพยพแล้ว 35 เที่ยวบิน
- ตัวประกัน 23 คนได้รับการปล่อยตัว
สถานการณ์ในเมืองเล้าก์ก่าย
- อพยพคนไทยแล้ว 441 คน รวมถึงประสานการช่วยเหลือให้กับพลเมืองอาเซียน
- เร่งสำรวจ ติดตาม และช่วยเหลือคนไทยที่อาจหลงเหลือในพื้นที่โดยเร็ว
ช่วยเหลือคนไทยถูกหลอกในต่างประเทศ
- เร่งช่วยเหลือคนไทยกว่า 200 คน ที่ถูกกลุ่มคอลเซ็นเตอร์กักขังในกาสิโนฝั่งปอตเปต
- สถิติการให้ความช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ ปี 2566 โตรมาสที่ 4 ให้ความช่วยเหลือทั้งหมด 19,474 ราย
การทำงานเชิงรุก มองไปข้างหน้า ขยายวงและเข้าถึง
เยือนทวิภาคี : สปป. ลาว สิงคโปร์ มาเลเซีย กัมชา บรูไน เวียดนาม และซาอุดีอาระเบีย
หารือประเด็นทวิภาคี: ออสเตรเลีย แคนาดา รัสเชีย อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์
เข้าร่วมการประชุม: จีน (การประชุม BRF ครั้งที่3 และการประชุม MLC ครั้งที่8) ญี่ปุ่น (การประชุมสุดยอด ASEAN-Japan 50th Commemmorative Summit, Thailand-Japan Investment Forum 2023) สหรัฐอเมริกา (การประชุม UNGA78, APEC และ IPEF) ฮ่องกง (SCMP Forum: ASEAN-Hong Kong) และซาอุดีอาระเบีย (ASEAN-GCC Summit)
หารือประเด็นสถานการณ์ในตะวันออกกลาง: กาตาร์ อิสราเอล อียิปต์ และอิหร่าน
เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแนวชายแดน
กระตุ้นการค้าชายแดน และอำนวยความสะดวกสินค้าไทยสู่ตลาดสำคัญ
ขั้นเริ่มต้น:
- พัฒนาเส้นทางเดินเรือชายฝั่ง ไทย - กัมพูชา - เวียดนาม กับเวียดนามให้เป็นรูปธรรม
- เชื่อมต่อด่านศุลกากรแห่งใหม่ที่ สะเดา - บูกิต กายู ฮิตัม
- สำรวจโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่ กับด่านบูกิตกายูฮิตัมของมาเลเชีย
- ยกเลิกกรอกใบ ตม.6 ชั่วคราวสำหรับการเดินทางเข้าไทยของชาวต่างชาติ ณ ด่านสะเดา
- สะพานรถไฟ ข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ (หนองคาย - เวียงจันทน์) ภายในปี 2569
- สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ)
- สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี - สาละวัน)
- ปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 12 (R12)
- ขับเคลื่อนการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตามแนวชายแดนไทย - เมียนมา
ขั้นเร่งรัด:
- สะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา
- ลงนามบันทึกความเข้าใจอำนวยความสะดวกการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เชื่อมโยงพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย
- เดินรถไฟไทย - ลาว ไปถึงสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ภายในต้นปี 2567
- สะพานแห่งที่สองที่สุไหงโกลก - รับเตาปันยัน
- จัดตั้งพื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Common Control Area: CCA) เพื่อลดขั้นตอนและพิธีการศุลกากรในการขนส่งสินค้าข้ามแดน บริเวณสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) และปรับปรุงอีกเส้นทางสำคัญในการคมนาคมขนส่งระหว่างไทย - ลาว – เวียดนาม
เสริมสร้างและขยายมิตรภาพ ยกสถานะไทยในเวทีโลก
1) สง่างามบนเวทีระหว่างประเทศ
- ผลักดันการสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) ของไทย วาระปี 2568 - 2570
- สานสัมพันธ์กับนานาประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
2) สร้างผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านในประเด็นเขตแดนและพื้นที่ทับซ้อน
- เดินหน้าแก้ไขปัญหาเขตพื้นที่ทางทะเลที่ไทย มาเลเซีย และเวียดนามอ้างสิทธิทับซ้อนกัน (Tripartite Overlapping Claims Area: TOCA)
- สร้างความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการเปิดและยกระดับจุดผ่านแดน อาทิ ด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์ ช่องสายตะกู จ.บุรีรัมย์ และบ้านโนนหมากมุ่น จ.สระแก้ว
3) สานสัมพันธ์มิตรประเทศ ช่วยเหลือในยามประสบภัย
- บริจาคเงินช่วยเหลือแผ่นดินไหวโมร็อกโก
- ช่วยเหลือลิเบียจากเหตุอุทกภัย
4) เสริมสร้างความมั่นคงทางเทคโนโลยี
- ส่งเสริมความมั่นคงทางไซเบอร์ไทย - อียูผ่านโครงการ ESIWA (Enhancing Security Cooperation in and with Asia)
- ความร่วมมือไทย - เยอรมัน ศึกษาตลาดไฮโดรเจนสีเขียว ("International Hydrogen Ramp-Up" or H2Uppp programme)
- ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลไทย - สิงคโปร์
บริการประชาชนที่รวดเร็วและทั่วถึง
1) เพิ่มอำนาจหนังสือเดินทาง
- ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถขอรับการตรวจลงตราแบบ visa on arrival เพื่อเดินทางเข้าซาอุดีอาระเบีย
- ลงนามความตกลงกับฝรั่งเศส และซาอุดีอาระเบีย ยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ
- ผลักดันการจัดทำความตกลงยกเว้นวีซ่า Schengen
2) เร่งรัดการเก็บกู้ทุ่นระเบิดชายแดน
- หารือกัมพูชาเดินหน้าเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนสร้างความปลอดภัยให้ประชาชน
3) เปิดสำนักงานหนังสือเดินทาง สถานกงสุล และบัตรผ่านแดนชั่วคราว
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแนวชายแดน ผลักดันให้กัมพูชาอนุญาตใช้บัตรผ่านแดนชั่วคราว
- วางแผนเปิดสถานกงสุล ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา
- เปิดสำนักงานหนังสือเดินทางเพิ่มที่ จ.สระแก้ว
4) กลไกความร่วมมือในการรับมือกลุ่มคอลเซนเตอร์
- ผสานพลังประเทศเพื่อนบ้าน ปราบปรามกลุ่มคอลเซนเตอร์ พร้อมช่วยเหลือคนไทยที่ถูกหลอก
5) นำเทคโนโลยี Al มาให้บริการงานกงสุลแก่คนไทย
มองไปข้างหน้าปี 2567 การทูตไทยในเวทีโลก
- เจ้าภาพการประชุมกรอบความร่วมมือ BIMSTEC
- ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong
- Economic Cooperation Strategy: ACMECS)
- ขับเคลื่อน Asia Cooperation Dialogue (ACD) ให้เป็นแกนกลางของความร่วมมือในเอเชีย
- เจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของ Asian African Legal Consultative Organization (AALCO)
- การเยือนประเทศต่าง ๆ อย่างเป็นทางการของ รมว.กต.อาทิ สหรัฐฯ อินเดีย อินโดนีเซีย
- เตรียมการเยือนของประธานาธิบดีเยอรมันและผู้นำประเทศอื่น ๆ
- เดินหน้ารณรงค์หาเสียงคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC)
- ส่งเสริมบทบาทนำของไทยในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศและการประชุมสุดยอดอาเซียนในช่วงการเป็นประธานอาเซียนของ สปป.ลาว
- สมัครสมาชิก Organization for Economic Cooperation and Development (OECD)
- สร้างเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่ม BRICS
- เป็นประธาน ASEAN Digital Economy Framework Agreement (DEFA)
- เร่งรัดการเจรจา FTA
- เปิดประตูการค้าสู่แอฟริกา/ตะวันออกกลาง (ตลาดใหม่)