เส้นทางเลิกผลิตไฟฟ้าถ่านหินเยอรมนี สู่การประท้วงของ“เกรตา ทุนเบิร์ก”

19 ม.ค. 2566 | 05:55 น.

ชวนสำรวจเส้นทางการยกเลิกผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเยอรมนี สู่การประท้วงของ“เกรตา ทุนเบิร์ก” สาวน้อยนักเคลื่อนไหวชาวสวีเดน

“เกรตา ทุนเบิร์ก”  (Greta Thunberg) นักเคลื่อนไหวชาวสวีเดน ถูกจับกุมระหว่างประท้วงที่เหมืองถ่านหิน การ์ซไฟเลอร์ ทู (Garzweiler 2) เพื่อต่อต้านการรื้อถอนหมู่บ้าน ลูทเซรัท (Luetzerath) รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน ประเทศเยอรมนี เหตุขยายเหมือง แต่ล่าสุด 18 มกราคม ที่ผ่านมา เธอและนักเคลื่อนไหวคนอื่นๆ ได้รับอิสระและไม่ได้ถูกตั้งข้อหาอะไร

 

“เกรตา ทุนเบิร์ก”  (Greta Thunberg)

เส้นทางเลิกผลิตไฟฟ้าถ่านหินเยอรมนี สู่การประท้วงของ“เกรตา ทุนเบิร์ก”

 

หากย้อนกลับไป เมื่อปี 2020 รัฐบาลเยอรมนีประกาศเดินหน้าผลักดักเลิกใช้ถ่านหินใน “รัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลิน” ภายในปี 2030 เพื่อรับกับเป้าหมายที่จะเลิกใช้ถ่านหินระดับชาติภายในปี 2038  ตามรายงานสำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า แผนยุติโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดให้ได้ภายในปี 2038 รัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้เกี่ยวข้องและลงทุนสร้างสาธารณูปโภคทดแทนจำนวน 4 หมื่นล้านยูโร (ราว 1.35 ล้านล้านบาท)

 

ตามข้อตกลงปารีสที่รัฐบาลประเทศเยอรมนีได้ลงนามร่วมกับประเทศอื่น โดยมีเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกประมาณ 1.5 องศาเซลเซียสต่อปี จำกัดประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ของมนุษย์ ประเทศเยอรมนีจำเป็นต้องลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 70% ในช่วงก่อนสิ้นทศวรรษนี้

 

เยอรมันนีถือว่าเป็นเจ้าตลาดที่รับผิดชอบราว 1 ใน 3 ของการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้า กว่าครึ่งหนึ่งใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งเยอรมนีเป็นประเทศผู้ผลิตแร่ลิกไนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่กระแสไฟฟ้าราวครึ่งหนึ่งของสหภาพยุโรปผลิตจากถ่านหินลิกไนต์ที่ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงอย่างยิ่ง

 

 ปี 2017 เยอรมนีเป็นประเทศที่ใช้แร่ลิกไนต์เป็นสัดส่วน 44% ของทั้งสหภาพยุโรป รองลงมาคือโปแลนด์ 16% สาธารณรัฐเชคและกรีซ ประเทศละ 10% บัลแกเรีย 9% และโรมาเนีย 7% โดยในปีดังกล่าวมีการขนส่งลิกไนต์ จำนวน 359 ล้านตัน และถ่านหินแข็งอีก 150 ล้านตัน ไปยังโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ทั่วอียู เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าและทำความร้อน

 

ปี 2019 เยอรมันนีประกาศจะปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน 84 แห่งภายในประเทศ เยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศที่อุปโภคถ่านหินมากที่สุดในโลก แต่จะผันตัวไปอิงจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าที่ปิดตัวลง 

 

การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่เยอรมันเผชิญความท้าทายที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ถ่านหินคิดเป็นเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 40 ในประเทศเยอรมันนี  อ้างจากรายงานโดย Los Angeles Times

 

นอกจากนี้เยอรมันนียังให้คำมั่นว่าจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 19 แห่งตั้งแต่เหตุวิกฤตการณ์ฟุกุชิมาเมื่อ พ.ศ. 2554 พลังงานหมุนเวียนจะผลิตไฟฟ้าราวร้อยละ 65 ถึง 80 ภายใน พ.ศ. 2583 บริษัทที่ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมากที่สุดอย่าง RWE AG 

 

ข้อมูล : BBC livekindly ,CNN