“สงครามฝ้าย”ซินเจียงลาม Skechers เห็นต่าง H&M- Nike

03 เม.ย. 2564 | 15:42 น.
2.4 k

Skechers แบรนด์รองเท้าชื่อดังสัญชาติมะกัน เห็นต่าง H&M- Nike ยันข้อมูลของบริษัทเองในจีนไม่พบหลักฐานบังคับใช้แรงงานเก็บฝ้ายในซินเจียง ทูตพาณิชย์ชี้ได้ใจผู้บริโภคแดนมังกรเพิ่ม

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต. /ทูตพาณิชย์) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลสื่อจีนว่า ในขณะที่บริษัทในธุรกิจค้าปลีกระดับนานาชาติ อย่างเช่น H&M และ Nike ต่างเลือกที่จะหยุดใช้ฝ้ายที่มีแหล่งผลิตจากเขตปกครองตนเองมณฑลซินเจียงอุยกูร์ จากความกังวลเรื่องการบังคับใช้แรงงานในพื้นที่ได้รับข้อมูลพื้นฐานจากข้อมูลที่บิดเบือน ทาง Skechers บริษัทรองเท้าสัญชาติอเมริกันจึงประกาศแถลงการณ์ถึงทางเลือกของบริษัท

แถลงการณ์ของทางบริษัท Skechers เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 รายงานว่า สถาบันนโยบายยุทธศาสตร์ออสเตรเลียฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2563 กล่าวหาว่าผู้ผลิตของบริษัท Skechers ในจีนได้กำลังแสวงหาผลประโยชน์ผลกำไรจากการบังคับใช้แรงงานของชาวอุยกูร์ ทาง Skechers ขอปฎิเสธข้อกล่าวหาของ ASPI กรณีการบังคับใช้แรงงาน พร้อมเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกหลังตรวจสอบภายใน ที่ครอบคลุมถึงข้อมูลแรงงานอุยกูร์ ได้รับเงื่อนไขการทำงานและค่าแรงเท่าเทียมกับเพื่อนร่วมงานคนเชื้อสายอื่น และสามารถลาออกจากงานได้ทุกเมื่อที่ต้องการ

“สงครามฝ้าย”ซินเจียงลาม Skechers เห็นต่าง H&M- Nike

เมื่อปี 2563 Skechers มีการตรวจสอบภายในหลายครั้งกับผู้ผลิตจีนในเขตตงกว่าน มณฑลกว่างตง ของทางบริษัท ทางบริษัทได้ประกาศแถลงการณ์ของทางบริษัทว่า “ไม่มีผลตรวจสอบใดที่รายงานการบังคับใช้ แรงงานชาวอูกุยร์หรือกลุ่มเชื้อชาติอื่นหรือศาสนาอื่น หรือหยิบยกข้อกังวลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการใช้ แรงงานเบื้องต้น”

ทางบริษัทฯ ยังยืนยันว่า ทางบริษัทฯ มีการตรวจสอบภายในเป็นกิจปกติกับผู้ผลิตในเขตตงกว่าน ลู่โจว หลายครั้งตลอดมาตั้งแต่ปี 2017 (2560) 2018 (2561) 2019 (2562) 2020 (2563) ทั้งที่มี การประกาศแถลงการณ์อย่างเป็นทางการและไม่มีการประกาศแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ไม่มีการตรวจสอบครั้งใดที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานหรือข้อความกังวลเกี่ยวกับการใช้แรงงาน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จีนกล่าวแสดงจุดยืนชัดเจนว่า จีนยืนหยัดต่อสู้กับกับการแทรกแซงในทุกกรณีทั้งในรูปแบบบุคคลหรือแบบหมู่คณะ ดังเช่นที่เกิดขึ้น แล้วภายใต้กลุ่มการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนในเขตปกครองพิเศษซินเจียง ของชาวอุยกูรย์ บริษัททั้งหลายที่เกี่ยวข้องควรหลีกเลี่ยงกรณีธุรกิจที่มีการเมืองเข้ามาเป็นตัวแปร

ผลิตภัณฑ์จากบริษัท H&M ด้ถูกถอดออกจากแพลตฟอร์ม E-Commerce หลักของจีนทั้งหมด เช่น Taobao และ JD ในทำนองเดียวกัน Nike และ Uniqlo ที่มีการแถลงการณ์กรณีการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง ต่างก็ถูกคว่ำบาตรและยกเลิกสัญญาโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงจำนวนมากในจีน การตัดสินใจของบริษัท เหล่านี้ส่งผลให้ร้านค้าของทางบริษัทแบบออฟไลน์มีผู้คนเข้ามาจับจ่ายและเยี่ยมชมน้อยลง

“สงครามฝ้าย”ซินเจียงลาม Skechers เห็นต่าง H&M- Nike

สำนักข่าว China Daily Report  เปิดเผยรายงานเมื่อวันศุกร์ 26 มีนาคม 2564 บริษัทที่ประกาศแถลงการณ์ เกี่ยวกับการยุติใช้ฝ้ายจากซินเจียงชั่วคราว ล้วนเป็นสมาชิกขององค์กร Better Cotton Initiative (BCI) ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ทาง BCI ประกาศยุติความร่วมมือกับชาวนาที่ได้รับใบอนุญาตในซินเจียง ในช่วงการฤดูการเก็บเกี่ยวฝ้าย ของปี 2563-2564 เนื่องจากข้อกล่าวหาการบังคับใช้แรงงานในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม สำนักงาน BCI สาขาเซี่ยงไฮ้ประกาศแถลงการณ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับกรณีสถานการณ์ในพื้นที่ว่าไม่พบรายงานแม้แต่รายงานเดียวที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานในซินเจียง

สคต.เซี่ยงไฮ้ให้ความเห็นว่า กรณีความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศคู่ค้าชาติตะวันตกอาจไม่ได้เกิดขึ้นเพียงระหว่างจีน-สหรัฐฯ หรือเพียงแค่ความขัดแย้งทางการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่อาจส่งผลไม่สู่ปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาด้วย บริษัทข้ามชาติบางกลุ่มอาจเลือกที่จะคว่ำบาตรทางการค้ากับจีน ด้วยข้อมูลกรณีสิทธิมนุษยชนที่ทางบริษัทมี ในขณะที่บริษัทข้ามชาติบางรายอย่าง Skechers แม้จะเป็นบริษัทสัญชาติสหรัฐฯแต่เลือกที่จะเชื่อข้อมูลของทางบริษัทเองและดำเนินการทางธุรกิจกับจีนต่อไป เพราะไม่พบข้อมูลการบังคับใช้แรงงานใดๆ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง การคว่ำบาตรของกลุ่มบริษัทข้ามชาติก็ส่งผลให้ศิลปินที่มีชื่อเสียงชาวจีนและผู้บริโภคจีนจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะคว่ำบาตรกลุ่มบริษัทเหล่านั้นหรือกลุ่มบริษัท Better Cotton Initiative (BCI) เช่นกัน

อาจเป็นเรื่องที่ยากที่จะสรุปได้ชัดเจนว่าข้อมูลของฝ่ายใดเป็นข้อมูลจริงกรณีการเรียกร้องสิทธิ มนุษยชนของชาวซินเจียงในจีน แต่ที่แน่ชัดคือ การแข่งขันในตลาดค้าปลีกจีน กลุ่มบริษัท BCI ได้สูญเสียฐานกลุ่มลูกค้าไปแล้วจำนวนไม่น้อย ขณะที่บริษัทที่ยืนฝ่ายตรงข้ามอย่าง Skechers อาจไม่เพียงไม่เสียกลุ่ม ลูกค้า แต่อาจได้ใจผู้บริโภคชาวจีนเพิ่มมากขึ้น เหตุการณ์ในครั้งนี้อาจเปิดช่องว่างทางธุรกิจใหม่ให้กับ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจขยายตลาดการค้าในจีน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตามข่าวสาร เข้าใจตลาด และ หาช่องทางทางการค้าที่เหมาะสมกับบริษัทตนเองต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

‘ฝ้าย’ ซินเจียง    

“เมียนมา”ฟาดหาง H&M หยุดสั่งผลิตเสื้อผ้า 56 โรงงาน

"H&M" จ่อปิดสาขา 250 แห่งทั่วโลก เซ่นพิษโควิด-19