“สุริยุปราคา" 21 มิถุนา ในวัน"ครีษมายัน"เกี่ยวข้องยังไงกับ "สโตนเฮนจ์"

21 มิ.ย. 2563 | 05:00 น.
อัปเดตล่าสุด :21 มิ.ย. 2563 | 15:27 น.
26.9 k

ในระยะเวลา 1 ปีที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์มากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือ วันครีษมายัน หรือ Summer Solstice ซึ่งโดยปกติจะตรงกับวันที่ 21 มิ.ย. ของทุกปี อาจจะมีคลาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อย และในปีนี้ก็เช่นกัน ความน่าตื่นตาตื่นใจเพิ่มมากขึ้นเมื่อวันครีษมายันปี 2563 ประเทศไทย สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ “สุริยุปราคา" ร่วมด้วย แต่ที่หลายคนยังไม่รู้คือ วันนี้มีความเกี่ยวข้อง สโตนเฮนจ์ (Stonehenge)

 

เรามาทำความรู้จัก ปรากฎการณ์ธรรมชาติเหล่านี้กันให้มากขึ้นก่อนชมสุริยุปราคาในวันที่ 21 มิถุนายน 2563 

 

ครีษมายัน (อ่านว่า ครีด-สะ-มา-ยัน) มาจากคำสันสกฤต คฺรีษฺม ที่แปลว่า จุดสุดทางเหนือ  + อายน ที่แปลว่า การโคจร หรือการมาถึง ดังนั้น คำว่า วันครีษมายัน จึงหมายถึง วันที่พระอาทิตย์โคจรจนไปถึงจุดหยุดคือจุดสุดทางเหนือ นั่นคือวันที่มีกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

“สุริยุปราคา\" 21 มิถุนา ในวัน\"ครีษมายัน\"เกี่ยวข้องยังไงกับ \"สโตนเฮนจ์\"

ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ทำให้ประเทศทางฝั่งขั้วโลกเหนือมีกลางวันยาวนานนานกว่ากลางคืน ซึ่งโดยปกติแล้วจะตรงกับวันที่ 21 มิถุนายนของทุกปี แต่อาจจะมีคลาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อย

อ่านเพิ่มเติม 

ชม "สุริยุปราคา" พรุ่งนี้ 21 มิ.ย. ในวัน “ครีษมายัน” กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

วันครีษมายันในปีที่ผ่านมา (2562) สำหรับประเทศไทย ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าเป็นเวลากว่า 12 ชั่วโมง 56 นาที ซึ่งทำให้คาดการณ์ว่า 21 มิ.ย. ปีนี้ เราจะได้เห็นดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้ายาวนานกว่า 12 ชั่วโมง 56 นาทีเช่นเดียวกัน โดยดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เวลาประมาณ 05:51 น. และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเวลาประมาณ 18:47 น.

 

ในวันดังกล่าวนี้ ประเทศทางซีกโลกเหนือจะมีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดและนับเป็นวันแรกที่เข้าสู่ฤดูร้อน ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ จะกลับกันคือ ช่วงเวลากลางวันจะสั้นที่สุด และนับเป็นวันแรกที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาวถ้านับตามปฏิทินดาราศาสตร์ แต่หากจะนับตามอุตุนิยมวิทยาแล้ว ก็จะอยู่ในช่วงกลางของฤดูหนาว

 

มีหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า “วันครีษมายัน” มีอิทธิพลต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ นั่นก็คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งถูกสร้างโดยฝีมือมนุษย์ตั้งแต่เมื่อ 3,000–2,000 ปีก่อนคริสตกาล มีข้อสันนิษฐานว่า มนุษย์สมัยโบราณสร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นเพื่อเป็นปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เพราะ การวางของหิน สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์  และมีบางทฤษฎีที่บอกว่า คนสร้างใช้ วันครีษมายัน หรือ Summer Solstice เป็นจุดเริ่มต้นของการนับวัน

“สุริยุปราคา\" 21 มิถุนา ในวัน\"ครีษมายัน\"เกี่ยวข้องยังไงกับ \"สโตนเฮนจ์\"

ในแต่ละปีจะมีการเฉลิมฉลองวันครีษมายันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะสำหรับซีกโลกเหนือนั้น วันครีษมายันนอกจากจะเป็นวันแรกของฤดูร้อนแล้ว วันนี้ยังมีความสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของการเพาะปลูกพืช การเก็บเกี่ยว และความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย ในประเทศอังกฤษ วันครีษมายัน จะมีผู้คนจำนวนมากนับหมื่นคนไปรวมตัวกันที่สโตนเฮนจ์ เพื่อชมแสงแรกของวันเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบฟ้า และร่วมเฉลิมฉลองต้อนรับวันแรกของฤดูร้อน เชื่อกันว่าพิธีกรรมฉลองวันครีษมายันที่สโตนเฮนจ์นี้ สืบทอดมายาวนานหลายพันปีแล้ว

“สุริยุปราคา\" 21 มิถุนา ในวัน\"ครีษมายัน\"เกี่ยวข้องยังไงกับ \"สโตนเฮนจ์\"

แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปีนี้และมาตรการห้ามจัดชุมนุมผู้คนจำนวนมากเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในประเทศอังกฤษ ดังนั้น ปีนี้จึงเป็นปีแรกที่จะมีการแพร่ภาพสดปรากฏการณ์วันครีษมายันที่สโตนเฮนจ์ทางออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดีย (ทางเพจเฟซบุ๊ก English Heritage ตั้งแต่ช่วงพระอาทิตย์ตกของวันเสาร์ที่ 20 มิ.ย. ไปจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นสาดแสงแรกในวันอาทิตย์ที่ 21 มิ.ย. เวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าเวลาในประเทศไทยประมาณ 6 ชั่วโมง) โดยสามารถเข้าไปชมที่ https://www.facebook.com/englishheritage/

ข้อมูลอ้างอิง

Stonehenge summer solstice 2020 live stream: how to watch the sunrise online – and other ways to mark the longest day of the year

ครีษมายัน วันที่กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี (Summer solstice)

Summer Solstice วิกิพีเดีย