วิธีกาบัตรเลือกตั้ง 2566 สีเขียว สีม่วง สิ่งที่ห้ามทำเสี่ยงติดคุกหัวโต

11 พ.ค. 2566 | 06:55 น.
639

วิธีกาบัตรเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 สีเขียว สีม่วง สำหรับผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง พร้อมรายละเอียดสิ่งที่ต้องทำกับการกาบัตรดี ป้องกันบัตรเสีย และสิ่งที่ห้ามทำเสี่ยงติดคุกหัวโต

เลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 เดิมพันอนาคตประเทศไทย ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งเตรียมตัวออกไปเลือกคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ โดยที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดรายละเอียดของการไปลงคะแนน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ “บัตรเลือกตั้ง” สีม่วง สีเขียว พร้อมระบุสิ่งที่ห้ามทำเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นประโยชน์ก่อนเข้าคูหา

ฐานเศรษฐกิจ ได้รวบรวมข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับบัตรเลือกตั้ง รวมทั้งข้อกำหนด และวิธีการเลือกตั้งเอาไว้อย่างชัดเจน แบบเข้าใจง่ายที่สุด สรุปได้ดังนี้

บัตรเลือกตั้ง เป็นยังไง

การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566  สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้ผู้ลงคะแนนได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ นั่นคือ 

  • บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (บัตรสีม่วง) 
  • บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (บัตรเขียว) 
     

บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (บัตรสีม่วง) 

 

บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (บัตรเขียว) 

ขั้นตอนการรับบัตรเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบแล้ว ต้องลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้ว หัวแม่มือขวา บนต้นขั้วบัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท โดยกรรมการประจำที่เลือกตั้งลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง ก่อนที่จะเข้าคูหาเพื่อไปทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้ง แต่ละประเภท

7 ข้อห้ามทำอะไรกับบัตรเลือกตั้ง

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดข้อห้ามรวม 7 ข้อที่ผู้มีสิทธิห้ามทำกับบัตรเลือกตั้งโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายเลือกตั้งได้ แยกเป็นกรณีต่าง ๆ ดังนี้

  1. ห้ามใช้บัตรอื่น ที่ไม่ได้รับจากเจ้าพนักงาน
  2. ห้ามนำบัตรใส่ในหีบโดยมิชอบ หรือทำให้มีบัตรเพิ่มจากความจริง
  3. ห้ามนำบัตรออก จากหน่วยเลือกตั้ง
  4. ห้ามทำเครื่องหมายอื่น หรือสัญลักษณ์ในบัตรเลือกตั้ง
  5. ห้ามถ่ายภาพบัตร ที่ลงคะแนนแล้ว
  6. ห้ามโชว์บัตรที่ลงคะแนนแล้วต่อผู้อื่น
  7. ห้ามทำบัตรให้ชำรุด หรือทำบัตรเสียให้เป็นบัตรที่ใช้ได้

 

7 ข้อห้ามทำอะไรกับบัตรเลือกตั้ง

บทลงโทษตามข้อห้ามบัตรเลือกตั้ง

1.ใช้บัตรอื่น ที่ไม่ได้รับจากเจ้าพนักงาน มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000 – 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี

2.นำบัตรใส่ในหีบโดยมิชอบ หรือทำให้มีบัตรเพิ่มจากความจริง, นำบัตรออก จากหน่วยเลือกตั้ง และทำเครื่องหมายอื่น หรือสัญลักษณ์ในบัตรเลือกตั้ง มีโทษจำคุก 1-5 ปี ปรับ 20,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี

3.ถ่ายภาพบัตร ที่ลงคะแนนแล้ว และโชว์บัตรที่ลงคะแนนแล้วต่อผู้อื่น มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.ทำบัตรให้ชำรุด หรือทำบัตรเสียให้เป็นบัตรที่ใช้ได้ มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี

วิธีกาบัตรเลือกตั้ง ที่ถูกต้อง

สำหรับวิธีกาบัตรเลือกตั้งที่ถูกต้องนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะต้องทำเครื่องหมายกาบาท หรือทำเครื่องหมาย X ลงในบัตรเลือกตั้ง ทั้ง 2 ประเภท คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ในช่องที่ระบุไว้ โดยมีรูปแบบการกาบัตรเลือกตั้งที่เป็นบัตรดี และบัตรเสีย ดังนี้

 

รูปแบบการกาบัตรเลือกตั้งที่เป็นบัตรดี และบัตรเสีย มีวิธีการกาอย่างไร